แอมเนสตี้ฯเปิดรายงานสิทธิมนุษยชนทั่วโลก-ไทยน่ากังวล

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2558-2559

นายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยปรากฏในทั้งรายงานสิทธิมนุษยชนทั่วโลกและรายงานระดับเอเชียแปซิฟิกอย่างที่ไม่เคยเกิดในปีที่ผ่านๆมา โดยสถิติทั่วโลกในปีนี้ปรากฏว่าจากการรวมข้อมูลจาก 160 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่า 113 ประเทศทั่วโลกยังคงจำกัดสิทธิในการแสดงออกและคุกคามสื่อมวลชน มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลก มากกว่า 30 ประเทศบังคับให้ผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิต ไม่น้อยกว่า 36 ประเทศยังมีความรุนแรงจากกลุ่มติดอาวุธ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่น้อยกว่า 156 คน ถูกฆาตรกรรมและเสียชีวิตขณะถูกคุมขัง มากกว่า 61 ประเทศจับนักโทษทางความคิดขังเพียงเพราะใช้เสรีภาพการแสดงออก มากกว่า 122 ประเทศมีการทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณต่อพลเรือน ไม่น้อยกว่า 19 ประเทศทั่วโลกเกิดอาชญากรรมสงครามหรือละเมิดกฎหมายสงคราม ปัจจุบันมีอย่างน้อย 20 ประเทศทั่วโลกผ่านกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ และไม่น้อยกว่า 55เปอร์เซ็นต์ของประเทศทั่วโลกมีการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม

“ส่วนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เรื่องการขัดแย้งกันด้วยอาวุธในประเทศ มีการใช้อาวุธอย่างต่อเนื่องในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ พลเรือนเป็นหนึ่งในเป้าการโจมตี โดยเชื่อว่าน่าจะเป็นปฏิบัติการของกลุ่มติดอาวุธ ในเดือนมกราคม ศาลยกฟ้องทหารพรานสองนายที่ถูกตั้งข้อหากรณี สังหารเด็กชายสามคนที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2557 ส่งผลให้ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงมีชัยชนะและ ไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย ส่วนเรื่องการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อเอาผิดการทรมานและการบังคับ บุคคลให้สูญหายเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติ แต่จนถึงสิ้นปี 2558 ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆยังคงมีรายงานข้อมูลการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายของเจ้าหน้าที่ ตำรวจและทหารอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยบุคคลที่ถูกทหารควบคุมตัวแบบไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอก ในสถานที่ควบคุมตัวที่ไม่เป็น ทางการ และไม่มีหลักประกันคุ้มครอง ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

“ในเดือนกันยายน มีการเปิดสถานควบคุมตัวชั่วคราวของทหารสำาหรับใช้ควบคุมตัวพลเรือนโดยเฉพาะ ต่อมาในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนมีผู้ถูกควบคุมตัวเสียชีวิตที่สถานควบคุมตัวชั่วคราวนี้สองคน ต่อไป ในเดือนมีนาคม เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ปฏิเสธไม่ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้า ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของนายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเขาเล่าว่าถูกทรมานระหว่างที่ทหารควบคุมตัวซึ่งรวมถึงการทุบตีและมีการช็อตด้วยไฟฟ้า มากกว่า 40 ครั้ง การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ มีคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คนของคสช. มีการตั้งข้อหาตามกฎหมายอาญามาตรา116 มีการตั้งข้อหาขบวนการประชาธิปไตยใหม่และพลเมืองโต้กลับ

Advertisement

“ทางการให้ความสำคัญอย่างมากกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และยังคง กำหนดให้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นความผิดด้านความมั่นคง ขั้นตอนปฏิบัติในคดีเหล่านี้มักกระทำเป็นความลับ ใช้การพิจารณาลับ และไม่ให้สิทธิในการประกันตัว การตัดสินจำคุกโดยศาลทหารเกิดถี่ขึ้น และโทษจำคุกมีระยะเวลานานขึ้นในปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงโทษจำคุกนานถึง 60 ปี ศาลทหารยังเพิ่มโทษจำคุกในความผิดฐาน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการกำหนดให้นับโทษจากความผิดอื่นต่อเนื่องไปด้วย ส่วนสถานการณ์โทษประหารชีวิตศาลยังคงมีการพิพากษามาเรื่อยๆแม้จะไม่มีการลงโทษจริงตั้งแต่ปี 2552” นายชำนาญกล่าว

201602241714208-20110627141736

นายชำนาญ กล่าวว่า แอมเนสตี้ฯมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยแต่ละด้านดังนี้
ด้านการขัดแย้งกันด้วยอาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
-ให้ดําเนินการสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ลําเอียงต่อการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในทุกกรณี โดยเฉพาะในส่วนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งให้นําตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรมที่ได้มาตรฐานสากล และไม่มีการใช้โทษประหารชีวิต
-ให้รับรองว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆ และค่ายทหารสามารถเข้าถึงทนายความ ญาติพี่ น้อง และได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม ตลอดจนอนุญาตให้หน่วยงานด้าน สิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระเข้าเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวทุกแห่งได้
-ดําเนินการสืบหาและเปิดเผยที่อยู่ของทนายสมชาย นีลไพจิตร ตลอดจนบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ ให้สูญหาย เพื่อรับรองว่าผู้ที่รับผิดชอบต่อการบังคับให้สูญหายจะถูกลงโทษ

Advertisement

ด้านการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย
-ดําเนินการสอบสวนอยางเป็นอิสระและรอบด้านต่อข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ ซึ่งกระทําโดยเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อนําตัวผู้กระทําผิดเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรม
-ผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคลให้สูญหาย พ.ศ. …. โดยที่เนื้อหาต้องสอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศ

ด้านการปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ
-ปฏิรูปหรือยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้องต่อพันธกรณีของประเทศ ไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายที่นําไปสู่การควบคุมตัว โดยพลการ ด้านกฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความเห็น การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ ตลอดจนเสรีภาพในการเดินทาง
-ยุติการจับกุมหรือการควบคุมตัวโดยพลการ พร้อมทั้งรับรองว่าผที่ถูกควบคุมตัวทุกคนจะเข้าสู่ กระบวนการไต่สวนจากคณะตุลาการที่เป็นอิสระโดยทันที ทั้งนี้ต้องเป็นองค์คณะที่มีคุณสมบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้านการพิจารณาคดีและควบคุมตัวบุคคล
-ยุติการใช้ศาลทหารเพื่อไต่สวนคดีของพลเรือนไม่ว่าในกรณีใดทั้งสิ้นเพราะการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดพันธกิจของไทยในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม
-ยกเลิกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558ซึ่งกําหนดบทลงโทษ เกี่ยวกับการมั่วสุมหรือชุมนุม ‘ทางการเมือง’ ที่มีจํานวนห้าคนหรือมากกว่า
-อนุญาตให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ และไม่ลงโทษผู้ที่ใช้สิทธิดังกล่าวอย่างชอบธรรม ซึ่งรวมถึงการกด ‘ไลค์’และการแชร์ข้อมูลออนไลน์ด้วย
-รับรองว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆสามารถเข้าถึงทนายความ ญาติพี่น้องได้รับการ รักษาพยาบาลอย่างเต็มที่และต้องขึ้นศาลพลเรือนที่เป็นอิสระ ตลอดจนมีมาตรการคุ้มครอง สิทธิตามกฎหมายในสถานที่ควบคุมตัวต่างๆ และปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเต็มที่
-ตระหนักถึงพันธกรณีของทางการไทยที่จะไม่ควบคุมตัว คุกคาม หรือลงโทษบุคคลเพียงเพราะการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหรือการชุมนุมอย่างสงบ

ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
-ยุติการโจมตีการทํางานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพราะถือเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพใน การแสดงออก
-ให้สัตยาบันรับรองต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ บังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)และมีการดําเนินการที่จําเป็นเพื่อบังคับใช้อนุสัญญาในประเทศ โดยทันทีหลังให้สัตยาบัน

ด้านผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
-เคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) และรับรองว่าจะไม่มีการขับไล่ ส่งกลับ หรือ บังคับให้เดินทางกลับไปยังประเทศหรือดินแดนต้นทาง ซึ่งผู้ลี้ภัยหรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานเสี่ยงต่อ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงหากเดินทางกลับ โดยเฉพาะในเมียนมาและลาว
-สอบสวนกรณีการบังคับชาวโรฮิงญาให้เดินทางกลับตลอดจนรับรองว่าจะมีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และมีการดําเนินการที่จําเป็นเพื่อไม่ให้เกิดการบังคับให้เดินทางกลับในอนาคต
-เคารพต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่อนุญาตให้ผู้แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึงกระบวนการ แสวงหาที่พักพิงและสามารถติดต่อ UNHCR ได้ และรับรองว่าผู้แสวงหาที่พักพิงจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
-ให้สัตยาบันรับรองอนุสญญาว่าดวยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี1951

ด้านโทษประหารชีวิต
-พักใช้การประหารชีวิตในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันทีเพื่อให้สอดคล้องกับแผน สิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 3 ซึ่งแสดงเจตจํานงในการออกกฎหมายยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคต
-เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจํานวนความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต
-ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (SecondOptionalProtocolto the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต

ด้านกฎหมายจํากัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น
-ฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบโดยทันที
-แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่าง ประเทศ โดยให้ยกเลิกข้อบัญญัติที่อนุญาตให้บุคคลใดๆ สามารถฟ้องร้องบุคคลอื่นในข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ตลอดจนกําหนดอัตราโทษให้ได้สัดส่วนต่อฐานความผิด โดยใน ระหว่างที่รอการแก้ไข ให้ชะลอการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
-ถอนข้อกล่าวหาบุคคลใดๆ ที่ถูกดําเนินคดีเพียงเพราะใช้เสรีภาพในการแสดงออกรวมทั้ง ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังภายใต้ข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image