สพฉ.จัดประชุมระดับชาติ สืบสานพระราชปณิธานการแพทย์ฉุกเฉินไทย

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดประชุมวิชาการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2560 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2560ภายใต้หัวข้อ สืบสานพระราชปณิธาน รวมใจเพื่อคุณภาพการแพทย์ฉุกเฉินไทยสู่เวทีโลก

โดยนายสุรชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 และประธานบูรณาการแระสานงานกรณีกู้ชีพฉุกเฉิน ในฐานะประธานเปิดการประชุม กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปนมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข และพระองค์ยังทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของ สมเด็จพระมหินตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนไทยได้มีสุขภาะพลามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งในเรืองการแพทย์ฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ จึงได้มีการก่อตั้ง สพฉ.ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2551 เกือบ 10 ปีเพื่อดูแลประชาชนในภาวะฉุกเฉิน

“นอกจากนี้ล่าสุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ยังได้มีการแก้กฎหมายลูกเรื่อง สถานพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชนจะต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงโดยไม่เก็บค่ารักษาจากผู้ป่วย ให้มาเก็บกับกองทุนแทน ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาจะพบปัญหาสถานพยาบาลปฏิเสธผู้ป่วย คาดว่าต่อไปนี้จะไม่มีแล้วเพราะมีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายควบคุมการบูรณาการร่วมกัน อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในมาตรา 55 หมวดหน้าที่ของรัฐ ว่าด้วย ระบบฉุกเฉินเป็น 1 ในระบบสาะรณสุขที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นหากรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ประชาชนสามารถเร่งรัดได้แต่หากยังไม่เป็นผลประชาชนก็สามารถฟ้องร้องได้ พร้อมกันนี้จะได้มีการพัฒนารถฉุกเฉินของไทยทั้งในส่วนแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่กู้ภัย เพื่อให้ครบขีดความสามารถพร้อมช่วยเหลือในการส่งต่อผู้ป่วยผมเชื่อว่าจะเป็นกลไกลผลักดันระบบกู้ชีพฉุกเฉินของไทยพร้อมสร้างศรัทธาแก่พี่น้องประชาชน ทั้งนี้เชื่อว่าระบบจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ หากได้รับความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”นายสุรชัย กล่าว.

ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่าระบบสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศร่วมกับเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ใน 1 ปี พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษาผ่านหมายเลข 1669 ปีละ ประมาณ 1ล้านคน และผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติปีละ 4แสนคน และจากข้อมูลจากเขตสุขภาพ 13 เขต ที่คสบคุมโดย สธ.12 และเขตปกครอวพิเศษควบคุมโดย กทม. 1 เขต พบว่าใน 4 ปีย้อนหลัง ประชาชนภาวะฉุกเฉินสีเหลืองได้รับการบริการผ่านหมายเลข 1669 เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ฉุกเฉินสีแดงได้รับการให้บริการเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 10-20 และการให้บริการจากสายด่วนพบว่าจากการรวบรวมข้อมูลชุด “ช่องว่างการแพทย์ฉุกเฉินไทย” พบว่า ในภาคอิสานนั้นมีระบบการให้บริการที่ดีมากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้นการดำเนินการจึงยังไม่ถึงเป้า ขณะนี้ตนต้องการผลักดันให้เกิดการรายงานในทุก 1 เดือน เพื่อให้เกิดควาเข้าใจกันในการให้บริการ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนจะทำต่อไปคือการนำระบบไปสู่ความเป็นสากล โดยนำกรอบแนวคิดของสหรัฐอเมริกามาใช้ เพื่อเป็นวงจรให้เกิดการพัฒนา โดยเมื่อเกิดเหตุ ต้องมีการรับรู้และส่งต่ออย่างมีคุณภาพ ซึ่งในการขับเคลื่อนต่อไปในอนาคนท้องถิ่นควรเป็นหน่วยแรกที่รับเรื่อง

Advertisement

“ปัญหาของ 1669 คือ การรอ ทำให้ขาดโอกาสในการรอดชีวิต ดังนั้นในระบบส่งต่อในอนาคตต้องมีการพัฒนาลงไปสู่ชุมชน สอนการช่วยเหลือ เช่น การทำ CPR และการให้เครื่องมือ AED ลงไปสู่ชุมชน เครื่องAED ต้องมีศักดิ์เหมือนยาสามัญประจำบ้านในภาวะฉุกเฉิน พร้อมจะต้องมีการพัฒนารถฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยในการลำเลียงผู้ป่วย และในการเรื่องฉุกเฉินทางน้ำ ทางอากาศ มีการพัฒนากำลังคน แต่ยังไม่มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการ อีกทั้งในเรื่องการโทรออกคาดว่าจะทำไม่ได้ ดังนั้นต้องมีการคิดวิธีการอื่นเพื่อพัฒนาต่อไป อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าระบบของเอกชนล้ำกว่ารัฐมาก ดังนั้นต้องมีการขับเคลื่อนให้มากขึ้น ซึ่งก็มีแนวคิดว่าอยากให้เกิดความร่วมมือกันจากทั้งรัฐและเอกชนในอนาคต ทั้งนี้ก็เห็นชัดจากนโยบาย ฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิ์ทุกที่ รพ.ทั้งรัฐและเอกชนต้องรับผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยเก็บเงินจากรัฐ เป็นสิ่งที่บูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดการดูแลทั่วถึงและเท่าเทียม

ทั้งนี้สธ.เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องการจัดการภัยพิบัติต่างๆ สพฉ.มีฐานะเป็นตัวกลาง เสนอข้อมูลกับส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดการอนุมัติและจะเสริมในเรพัฒนาระบบฉุกเฉินให้ดีขึ้น และพร้อมจะบูรณาการร่วมกับ สธ.กทม. และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง”ด้าน เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ ในการพัฒนาระบบฉุกเฉินนอกจากเป้นการสานต่อพระราลปณ์ธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลแล้ว เมื่อครั้งเป้นเด็กตนเคยได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ดังนั้นในการที่ได้เป้นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนในครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำงานรับใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image