ปชช.90% เห็นว่าหน่วยงานรัฐจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นศรัทธา หลังเหตุตึกถล่มจากแผ่นดินไหว
เมื่อวันที่ 6 เมษายน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ถอดบทเรียนตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวในใจประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น 1,125 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 – 5 เมษายน 2568 พบว่า
จากการศึกษาผลสำรวจในตารางที่ 1 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกสะเทือนใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหว โดยร้อยละ 86.9 ระบุว่า “ร่วมเสียใจต่อการสูญเสียของผู้ประสบภัย” ความรู้สึกนี้ไม่ได้สะท้อนเพียงอารมณ์ร่วม แต่ยังเป็นฐานของพลังสังคมที่พร้อมสนับสนุนการเยียวยาอย่างจริงจัง
ในเชิงพฤติกรรม ร้อยละ 84.6 ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแจกเงินเยียวยาโดยไม่ล่าช้า ซึ่งสะท้อน ถึงความคาดหวังต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ร้อยละ 82.3 ต้องการให้หน่วยงานรัฐออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน โดยไม่หลีกเลี่ยงความจริง และร้อยละ 80.3 เรียกร้องให้ มีแพทย์สนามประจำดูแลเจ้าหน้าที่กู้ภัย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนไม่เพียงห่วงใยผู้ประสบภัย แต่ยังห่วงใยเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังพบว่าร้อยละ 78.5 เรียกร้องให้รัฐเร่งตรวจสอบมาตรฐานอาคารและการจัดซื้อจัดจ้างอย่าง ครอบคลุมทั่วประเทศ และร้อยละ 75.4 ต้องการให้รัฐบาลพัฒนาระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างทันสถานการณ์
ที่น่าสนใจ คือ ผลสำรวจในตารางที่ 2 นำเสนอเสียงสะท้อนจากประชาชนต่อแนวทางปฏิบัติของรัฐในเชิง โครงสร้างและเชิงระบบ โดยร้อยละ 91.8 ของตัวอย่างเรียกร้องให้ “เปิดเผยรายละเอียดงบประมาณและ ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารตึกถล่ม” ซึ่งเป็นสัญญาณสะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ขณะที่ ร้อยละ 89.2 เห็นว่า หน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนควรออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ
อีกประเด็นที่ได้รับความสนใจคือ ร้อยละ 88.6 เสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการอิสระและเป็นกลาง” เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และร้อยละ 87.5 เรียกร้องให้จัดตั้งหน่วยกู้ภัยเฉพาะทางสำหรับอาคาร ถล่มโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ร้อยละ 85.9 เห็นว่าควรจัดทำ “ระบบเตือนภัยและแผนรับมือภัยพิบัติ” ในอาคารสูง และร้อยละ 83.7 ต้องการให้ปรับปรุงระบบสื่อสารของหน่วยงานรัฐให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และตรงกับ สถานการณ์ ขณะที่ร้อยละ 80.4 สนับสนุนให้ยกระดับมาตรการตรวจรับงานก่อสร้าง และร้อยละ 78.6 เรียกร้องให้เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ
ที่น่าพิจารณาคือ จากตารางที่ 3 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90.5 เห็นว่าหน่วยงานรัฐจำเป็นต้อง “เร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นและศรัทธา” ซึ่งเป็นข้อค้นพบที่มีนัยสำคัญทางสังคม เนื่องจากศรัทธาต่อสถาบันรัฐคือเสา หลักของการดำรงอยู่ของรัฐประชาธิปไตย หากปราศจากความเชื่อมั่นแล้ว การสื่อสารนโยบาย การอพยพ การช่วยเหลือ และการบริจาคในอนาคตก็จะเผชิญความท้าทายอย่างยิ่ง
ร้อยละ 5.9 เห็นว่าอยู ่ในระดับปานกลาง ขณะที ่มีเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นที่ระบุว่า “น้อยถึงไม่เลย” สะท้อนว่านี่คือเวลาสำคัญของรัฐในการกู้วิกฤตศรัทธาด้วยความโปร่งใส จริงใจ และพร้อมรับฟัง
ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มิใช่เพียงโศกนาฏกรรมเชิงกายภาพ หากแต่เป็น จุดสะท้อนของ “แรงสั่นสะเทือนในใจประชาชน” ที่มีต่อระบบราชการไทย เสียงจากผลสำรวจเปรียบเสมือน แผ่นดินไหวอีกลูกหนึ่ง ที่เขย่าโครงสร้างทางสังคม ความเชื่อมั่น และระบบคุณธรรมของรัฐอย่างรุนแรง
ประชาชนไม่ได้ต้องการเพียงความช่วยเหลือเฉพาะหน้า หากแต่โหยหาความโปร่งใส ความยุติธรรม และ ความจริงใจจากภาครัฐ พวกเขาต้องการเห็นการฟื้นฟูที่เป็นทั้ง “รูปธรรม” และ “นามธรรม” ทั้งในด้านโครงสร้าง อาคารและโครงสร้างศรัทธา
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า เหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มิใช่เพียงโศกนาฏกรรมเชิงกายภาพ หากแต่เป็นจุดสะท้อนของ “แรงสั่นสะเทือนในใจประชาชน” ที่มีต่อความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบราชการไทย เสียง จากผลสำรวจเปรียบเสมือนแผ่นดินไหวอีกลูกหนึ่ง ที่เขย่าโครงสร้างทางสังคม ความเชื่อมั่น และระบบคุณธรรม ของรัฐอย่างรุนแรง ประชาชนไม่ได้ต้องการเพียงความช่วยเหลือเฉพาะหน้า หากแต่โหยหาความโปร่งใส ความยุติธรรม และความจริงใจจากภาครัฐ พวกเขาต้องการเห็นการฟื้นฟูที่เป็นทั้ง “รูปธรรม” และ “นามธรรม” ทั้งใน ด้านโครงสร้างอาคารและโครงสร้าง “ศรัทธาของประชาชน” หากรัฐสามารถเปลี่ยน “วิกฤตความเชื่อมั่น” ให้ กลายเป็น “โอกาสแห่งการฟื้นฟู” อย่างมีระบบและมีหัวใจของผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดีย่อมจะสามารถเยียวยาไม่เพียงผู้คนใต้ซากตึกแต่ยังรวมถึงความศรัทธาที่พังทลายไปในหัวใจของประชาชนทั้งประเทศด้วย