นักวิชาการชี้เคส “บิลลี่ พอละจี-ชัยภูมิ ป่าแส” บ่งชี้ จนท.ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มชาติพันธุ์

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 9 เมษายน ที่หอศิลป์กรุงเทพมหานคร มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สโมสรพื้นที่นี้ดีจัง และกลุ่มดินสอสี จะจัดเวที “จาก บิลลี่ แห่ง บางกลอยบน ถึง ชัยภูมิ แห่ง กองผักปิ้ง” เพื่อเรียกร้องให้ความเป็นธรรมกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ(บิลลี่)ตั้งแต่เมื่อวันที่17เมษายน2557และกรณีของ นายชัยภูมิ ป่าแส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตรกรรม เมื่อวันที่17มีนาคม2560เพื่อให้สังคมไทยก้าวข้ามอคติด้านชาติพันธุ์ และเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยจะมีการเสวนา “ก้าวข้ามความรุนแรงและกำแพงอคติ สู่สันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม” โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

นางนงภรณ์ กล่าวว่า วันนี้จะมาพูดให้เข้าใจในเรื่องของกรมคุ้มครองสิทธิ์ จะนำมาเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว กรมคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่รู้ว่าจากอะไรแบะการเข้าถึงสิทธิทางการยุติธรรมเข้าถึงได้ยากเนื่องจากมีการเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง ดังนั้นกรมคุ้มครองสิทธิ์จึงเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และเป็นการปฏิรูประบบราชการในปี 2545 ก็เลยมีการจัดตั้งกรมคุ้มครองสิทธิ์ ขึ้น สำหรับภาระกิจของกรมคุ้มครองสิทธิ์มี 4 ด้าน ด้านที่ 1.ป้องกันโดยส่งเสริมให้รู้สิทธิ์และเสรีภาพ ไม่ให้ละเมิดสิทธิของกันและกัน โดยเจาะไปที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการรู้กฎหมายเบื้องต้นโดยมีการให้บรรจุลงให้หลักสูตรการสอนชั้นประถมปีที่ 4 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงศึกษาและกระทรวงยุติธรรมในการบรูณาการหลักสูตรดังกล่าว ด้านที่ 2. คือสร้างระบบทางเลือกในระบบยุติธรรม เป็นเรื่องของการไกล่เกลี่ย จะเน้นในเรื่องของภาคประชาชน ทางกรมคุ้มครองสิทธิ์มีศูนย์ไกล่เกลี่ยอยู่ทั่วประเทศ เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ อีกทั้งมีกองทุน ในการสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวก ด้านที่ 3.การคุ้มครองสิทธิ์ จะเน้นในเรื่องของกฎหมาย คือผู้ต้องหาต้องมีทนายร่วมในการสอบสวน โดยจะให้ทนายพบกับผู้ต้องหาก่อนการสอบสวนเพื่อปรึกษาหารือกัน ก่อนจะมีการสอบสวนกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังรวมไปถึงการช่วยเหลือในกรณีต่าง ๆ อาทิการคุ้มครองพยานในคดีนั้น ๆ ซึ่งหากพยานรู้สึกไม่ปลอดภัยสร้างร้องขอให้คุ้มครองได้ มีที่อยู่ที่ปลอดภัยให้ด้วย ด้านที่ 4.การสร้างหลักสิทธิมนุษยชน ต้องมีอนุมัติให้มีกฎหมายมารองรับ ต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ถึงสิทธิและเสรี

ดร.เบญจรัตน์ กล่าวว่า จากกรณีที่ตนเองเคยศึกษามาซึ่งมีความคล้ายกับกรณีของบิลลี่ นั้นคือคนที่เคยอยู่ในป่าแล้วต้องโยกย้าย เหตุที่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นมาคุยเพื่อศึกษาว่าจะมองประเด็นเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างไรบ้างในปัจจุบันและมันสะท้อนให้เหตุถึงความรุนแรงทั้งในเชิงวัฒนธรรมและเชิงโครงสร้างทางการเมืองแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย มักจะถูกให้ออกห่างจากวัฒธรรมไทย ทั้งโดนล้อเลียน ความรุนแรงที่ประเชิญถูกกระทำโดยรัฐและคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่าตัวเองเป็นตัวแทนของคนไทยและชาติไทย เราคงเคยได้ยินการขับไล่คนออกจากป่ามามาก

Advertisement

ดร.เบญจรัตน์ ยังกล่าวว่า กรณีบิลลี่ก็เป็นกรณีที่ตกเป็นเหยื่อนโยบายการอนุรักษ์ป่าไม้ และส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เราเรียกกันว่าชาวเขา ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในป่าใกล้ชิดทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งคนเหล้านั้นถูกกล่าวหาว่าทำลายทรัพยากร แต่ถ้าเราย้อนกลับไปว่าใครละที่เป็นคนบอกเราว่าชาวเขาเป็นคนทำลายป่า มีนักวิชาการชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการขับไล่คนออกจาป่าพบว่าตั้งปี 2529-2548 มีประชาชนอย่างน้อย 50,000 คน ถูกขับไล่โดยนโยบายการอนุรักษ์ป่า ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อก่อนเท่าไหร่ คนกลุ่มชาติพันธุ์ก็ถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อป่าจึงโดนขับย้าย และเมื่อเค้าออกลุกออกมาสู้เพื่อสิทธิของตนเองก็ถูกกลับมองว่าไม่ใช่คนไทย เช่นกรณีของบิลลี่และกรณีของชัยภูมิ

ด้าน ดร.สุวิชาน เปิดเผยว่า จะพูดถึงความรุนแรงทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมนำไปสู่ความรุนแรงโดยตรงถึงชีวิตอย่างไรบ้าง ตนเป็นชาวเขาจริง ๆ ตนเห็นพี่น้องส่วนหนึ่งไปอยู่ในเมืองก็ถูกเรียกว่าเป็นชาวเขา และพี่น้องคนในเมืองมาอยู่ที่บ้านของตนแต่กลับไม่ถูกเรียกว่าชาวเขา จึงไม่เข้าใจว่าเรียกชาวเขาเพราะชาติกำเนิด หรือเพราะถิ่นฐานที่เกิด สำหรับเคสที่เกิดขึ้น 2 กรณี จากบิลลี่ถึงชัยภูมิ ตนมองว่านี้เป็นแค่ผลผลิตของความรุนแรงทางโครงสร้างเพื่อให้เรารับรู้แค่นั้นเอง กรณีนี้เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐทำความรุนแรงต่อชาวเขา แต่ไม่ว่ากับใครก็แล้วแต่ความรุนแรงเล่านี้ยังอยู่ทุกกับชาวเขา เพียงแต่ทุกคนยังมองไม่เห็น ด้วยเนื้อหาสาระ ตำราต่าง ๆ ถูกสร้างความเชื่อความคิดให้ชาวเขาถูกมองว่าเป็นบุคคลทำร้ายป่า หรือเป็นคนที่ทำไร่ฝิ่น เราจะทำอย่างไรให้ความเชื่อหรืออคติเหล่านั้นเปลี่ยน คือหนึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลการนำเสนอให้เห็นถึงความเป็นจริง

ดร.สุวิชาน กล่าวอีกว่า การที่รัฐออกนโยบายดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อวิถีของชาวเขา กระทบต่อคนดั้งเดิมไม่ว่าจะภาคไหน การออกนโยบายที่ไม่เป็นธรรมส่งผลให้เกิดความรุนแรงและตราบใดที่นโยบายเหล่านี้ยังอยู่ก็มีโอกาสที่จะมีบิลลี่ 2 ชัยภูมิ 2 นโยบายที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้เป็นการสร้างเงื่อนไขที่สร้างความชอบธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้นโยบายที่ไม่เป็นธรรมแบบนี้ การสร้างความรุนแรงแบบนี้คือการสร้างสันติภาพความรุนแรงดังนั้นเราจึงต้องป้องกันตัว เมื่อนโยบายที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นคนที่ไม่ได้รับความเป็นก็ไม่ยอมแพ้จึงต้องเกิดการจัดการส่งผลให้เกิดความรุนแรง และนี้คือจุดเริ่มต้นของความรุนแรงที่เกิดขึ้น

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image