สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเปิด 10 เรื่องท้องฟ้าต้องจับตา ปี 59

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) และนายศรันย์ โปษยจินดา รองผู้อำนวยการ สดร. แถลงข่าว 10 เรื่องดาราศาสตร์ ที่ไม่ควรพลาดปี 2559 ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์ ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดตัวหอดูดาวภูมิภาคที่สำคัญ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา สำหรับเฝ้าระวังวัตถุที่อาจจะเข้ามาคุกคามโลก นอกจากนี้ยังมีอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่จะเป็นศูนย์รวม วิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษา วิจัย ศูนย์ฝึกอบรม และจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ทุกประเภท

2.โครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ในต่างประเทศ จะมีการเปิดตัวกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติของคนไทย ที่ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา ผนึกกำลังกล้องเดิม ที่ประเทศชิลี 3.ศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติภายใต้ยูเนสโก โดยประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากยูเนสโก ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติ 4.การพัฒนากำลังคนด้านดาราศาสตร์ของประเทศไทย ที่จะมีความร่วมมือด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาค กับสถาบันเดซี 5.โครงการกระจายความรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด 100 โรงเรียนทั่วประเทศ

ยานจูโน
ยานจูโน

นายศรันย์ กล่าวว่า นอกจากโครงการต่างๆที่สดร.จะดำเนินการในปี 2559 แล้ว มีอีก 5 ปรากฏการณ์ท้องฟ้า สำคัญที่ คนไทยจะได้สัมผัสประกอบด้วย 1.ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 9 มีนาคม โดยประเทศไทยจะเห็นได้ทุกภูมิภาค ตั้งแต่เวลา 6.30 น.ถึง 8.40 น.ที่ จ.ยะลาจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดคือ 70% ส่วนที่ จ.เชียงรายจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังแค่ 23% โดยจะมองเห็นประมาณ 3 นาทีเศษ 2.ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลก วันที่ 31 พฤษภาคม เป็นการโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี ระยะห่างประมาณ 75.29 ล้านกิโลเมตร

ดาวเคราะห์ชุมนุม

Advertisement

3.ยานอวกาศจูโน เดินทางถึงดาวพฤหัสบดี วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 โดยยานอวกาศดังกล่าว ถูกองค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(นาซา) ส่งขึ้นไปศึกษาดาวพฤหัสบดี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 รวมระยะทางประมาณ 2,766.33 ล้านกิโลเมตร ในยานดังกล่าวมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 8 ตัว สำหรับเก็บข้อมูล เช่น องค์ประกอบ โครงสร้างบรรยากาศ แรงโน้มถ่วง และสนามแม่เหล็ก 4.ปรากฏการณ์ซุปเปอร์มูนในวันลอยกระทง 14 พฤศจิกายน โดยในเวลา 20.52 น.ของวันดังกล่าว ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี คือ 356,536 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องอีกคือ ดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี หรือ มินิมูน วันที่ 22 เมษายน เวลา 12.23 น. ที่ระยะทาง 406,352 กิโลเมตรสุริยุปราคา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image