แจงแล้ว! ข้อเท็จจริงหลังญาติแชร์โซเชียลฯ จวก รพ.บางละมุงไม่รักษา ถามเลข 13 หลัก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีญาติผู้ป่วยได้มีการเผยแพร่ข้อความผ่านโซเซียลมีเดียว่า รพ.บางละมุงไม่ยอมรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งถูกทำร้ายร่างกายจมกองเลือดมาเพราะต้องรอบัตรประชาชน หรือเลข 13 หลัก ว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางรพ.บางละมุงพบว่าผู้ป่วยถูกทำร้ายร่างกายและมีการนำส่งรพ.บางละมุงเวลา 21.30 น. แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายวัคความดันโลหิตอยู่ที่ 201/105 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 76ครั้งต่อนาที หายใจ 20 ครั้งต่อนาทีออกซิเจนในเลือด 100 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าไม่ได้มีความผิดปกติมากนักดูแลรักษาเบื้องต้นแล้ว ทำแผล ทำความสะอาด ให้สารน้ำทางเส้นเลือด เสร็จประมาณ 22.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ญาติตามมา เจ้าหน้าที่จึงได้สอบถามถึงบัตรประชาชน เพราะเป็นข้อมูลที่จะบอกประวัติสุขภาพ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในการรักษาต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ป่วยมีอะไรที่ต้องระมัดระวังหรือไม่ อย่างไร อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้ทราบสิทธิของผู้ป่วยด้วย

นพ.วิทูรย์ กล่าวอีกว่า จากนั้นเวลา 22.15 น. ได้ส่งตัวผู้ป่วยไปทำซีทีสแกน และทำเสร็จในเวลา 22.50 น. ระหว่างรอผู้เชี่ยวชาญอ่านและประเมินผลการทำซีทีแสกน ก็ประเมินสัญญาณชีพตลอดเวลา ซึ่งต่อมาผู้ป่วยความดัน 175/405 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 82 ครั้งต่อนาที ออกซิเจนในเลือด 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พอผลซีทีสแกนออกเวลา 00.11 น. พบว่ามีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง และมีภาวะสมองบวม จึงประสานส่งต่อรพ.ชลบุรีถึงเวลา 00.55 น. ขอเรียนว่าที่ไม่ได้ส่งตัวตั้งแต่แรก เพราะตอนที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา อาการ ชีพจรต่างๆ ไม่มีปัญหา ไม่มีการแสดงออกทางกายว่าวิกฤตรุนแรง จึงต้องส่งทำซีทีแสกนเพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนประกอบการวินิจฉัยรักษา จากนั้นเพิ่งมามามีปัญหาหลังจากนั้น ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกรอบระยะเวลาของการรักษาผู้ป่วย แต่ยอมรับว่าระหว่างที่ทำการรักษาอาจจะไม่ได้มีการสื่อสาร อธิบายขั้นตอนกับญาติเลยทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน เพราะช่วงที่รักษาไม่ได้อนุญาตให้ญาติเข้าห้องฉุกเฉินด้วย

“การดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินนั้นทุกเคสที่เข้ามาแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าจะมีบัตรประชาชน หรือไม่มีบัตรประชาชน จะเป็นคนไทยหรือไม่เราก็ดูแลหมด ไม่ได้เลือก และไม่ได้รอว่าจะมีบัตรแสดงตัวหรือไม่ แต่ภายนอกห้องฉุกเฉินเองก็จะมีกระบวนการติดตามบัตร ทำทะเบียนประวัติ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาประกอบการรักษา การบันทึกข้อมูลการรักษาต่อไป รวมถึงการส่งต่อด้วย” นพ.วิทูรย์ กล่าว

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

Advertisement

สาวโพสต์ถามโรงพยาบาล1ชีวิตกับเลข13หลักอะไรสำคัญกว่า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image