การเคหะขับเคลื่อนแผนแม่บท 20 ปี ให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่ว-คุณภาพชีวิตดี 2579

การเคหะแห่งชาติบูรณาการการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี มุ่งบรรลุเป้าหมาย “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่ว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในปี 2579”

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ที่โรงแรมเคพี แกรนด์ จันทบุรี นายไมตรี อินทุสุต ประธานคณะกรรมการ การเคหะแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ของ“โครงการติดตาม/ประเมินผลสัมฤทธิ์และเสริมสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ” ภายใต้โครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ของการเคหะแห่งชาติปีงบประมาณ 2561 พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดชัยภูมิ) ซึ่งจัดโดยฝ่ายนโยบายและแผน การเคหะแห่งชาติ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้ความร่วมมือของคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายและแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับจังหวัดของจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม ที่โรงแรม เคพี แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ของการเคหะแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2561 ซึ่งดำเนินการใน 4 กลุ่มจังหวัด รวม 13 พื้นที่ การจัดกิจกรรมของกลุ่มจังหวัดภาคอิสานตอนบนในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ต่อเนื่องจากครั้งที่ 1 ที่จัด ณ จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม ที่ผ่านมาโดยมีผู้เข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายและแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับจังหวัดของจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบึงกาฬ ที่ต่อเนื่องจากการอบรมฯครั้งที่ 1 ประกอบด้วย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานจังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน ผู้แทนภาคประชาสังคม/ประชาชนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ จำนวนรวมประมาณ 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมฯ ดังกล่าว ณ จังหวัดจันทบุรี

การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย และแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการไว้ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมด้านการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน เมือง ให้แก่บุคคลากรของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง เพื่อการบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองของตน ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
– การอบรม ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการด้านการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง
– การศึกษาดูงานโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนาชุมชนและเมืองของจังหวัดจันทบุรีซึ่งมีโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นกรณีตัวอย่างที่ดี และเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทของพื้นที่ของตน เช่น การบริหารจัดการชุมชนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนบ้านมั่นคงเกาะขวาง การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวคลองภักดีร่าไพ และโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนทุ่งดอนแดง และถนนจันทคามวิถี เพื่อแก้ไขปัญหาน้่าท่วม และการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องเป็นให้พื้นที่นันทนาการของเมือง การฟื้นฟูชุมชนตลาดเก่าริมน้ำจันทบูรที่มีกระบวนการฟื้นฟูชุมชน โดยใช้การรวมตัวของ ชุมชน จัดตั้งบริษัทฯในรูปแบบ Social Enterprise เพื่อการพัฒนา และ พัฒนาบ้านพักหลวงราชไมตรี โดยใช้บริษัทฯชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อน และโครงการบ้านเอื้ออาทรวังหว้า จังหวัดระยอง ของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
– การฝึกปฏิบัติการการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง ของจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบึงกาฬ

ผลที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะทำผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนาชุมชนและเมือง ที่เชื่อมโยงสอดประสานกับแนวนโยบายของรัฐและทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของพื้นที่ของตนได้ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างจังหวัดกลุ่มเป้าหมายและจังหวัดที่ได้ศึกษาดูงาน อันจะนำไปสู่การร่วมบูรณาการการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย “ คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่ว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในปี 2579” ของแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และเท่าเทียมทางสังคม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามเจตนารมย์ของรัฐบาล

Advertisement

ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะจัดกิจกรรมเสริมสมรรถนะด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่กลุ่มจังหวัดภาคอิสานตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันพุธที่ 9 ถึงวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด

นายไมตรี อินทุสุต กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวใจสำคัญอยู่ที่ท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นเจริญ มีความเข้มแข็งจนถึงระดับล่างขึ้นมาจะทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง ประการที่สอง เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับต่างๆ ประการที่สาม เป็นการสนับสนุนคณะทำงานฯที่อยู่อาศัยระดับจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยเบื้องต้น โดยการใช้วิธีการ Comprehensive Integrated Approach ใน 2 มิติ มิติแรก เป็นมิติเชิงกายภาพในกลุ่มภูมิสถาปัตย์ การวางผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดรูปที่ดิน และมิติด้าน multidisciplinary คือศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข การท่องเที่ยว(เมืองรอง) พลังงาน วัฒนธรรม ฯลฯ เป็นสิ่งที่ทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนหรือเมืองได้ และในปัจจุบันที่โลกเป็น Urbanization นายไมตรี อินทุสุต กล่าวพิ่มเติมในการตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนเมือง สังคมเมือง ที่ต้องทำให้เป็นจุดเด่น ตระการตา สง่างาม ในลักษณะ Peachfully Community โดยการสร้าง 9 ส. ได้แก่ สุขสำราญ, สวยงาม, สะดวก, สะอาด, สงบ, สาธารณุปโภคสาธารณูปการ, สัญจร, สิ่งแวดล้อม และ สันทนาการ) โดยยึดโยงกับกติกาใน 3 ระดับ คือ กฏแห่งโลก (กติกาสากล SDGs, NUA), กฏแห่งรัฐ (นโนบาย กฏหมาย แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี), และกฏแห่งสังคม (ความต้องการของแต่ละพื้นที่)กล่าวโดยสรุป การอบรมครั้งนี้ฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน 1. สร้างบ้านแปลงเมือง 2. รังสรรค์ปั้นแต่งชุมชน 3. ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ตอบโจทย์สังคม โดยมีเครื่องมือในการจัดทำ ประกอบด้วย 6 การ ได้แก่ หลักการ, กระบวนการ, วิธีการ, วิชาการ, ปฏิบัติการ และที่สำคัญ คือ ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image