คพ.โต้ดราม่า ฉีดน้ำใกล้เครื่องวัด ยัน น้ำฝนไม่ช่วยลด พีเอ็ม 2.5

คพ.ยันฉีดน้ำไม่ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 เพราะโมเลกุลฝุ่นเล็กกว่าโมเลกุลน้ำ โต้ดราม่าฉีดน้ำใกล้เครื่องตรวจวัด จึงไม่ทำให้ค่าฝุ่นPM2.5ลดลง แต่ช่วยลดฝุ่นขนาดใหญ่ เพิ่มความชื้น ล้างพื้นถนน

กรณีแบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (สสนก.) #กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (วท.) ระบุว่า การทำฝนเทียม ไม่มีผลให้ฝุ่น PM2.5 ลดลง แต่กระบวนการทำฝนเทียมมีขั้นตอนการก่อกวนก้อนเมฆ ส่งผลให้มีลมพัดช่วยทำให้ปริมาณฝุ่นทุกขนาดปลิวกระจัดกระจาย ไม่มีการกระจุกตัวหนาแน่ นั้น

เมื่อวันที่ 16 มกราคม นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (ค.พ.) กล่าวว่า หากพูดตามหลักวิทยาศาสตร์ก็เป็นจริงตามที่วาฟ-รอมระบุ เพราะโมเลกุลน้ำมีขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลฝุ่น ฝุ่นจึงไม่สามารถจับตัวกับน้ำได้ ทำให้ปริมาณฝุ่นPM2.5ไม่ได้ลดลง แต่ทุกพื้นที่ไม่ได้มีแค่ฝุ่นPM2.5 แต่มีฝุ่นขนาดอื่น เช่น PM10 ดังนั้นการทำฝนเทียมหรือการฉีดน้ำจึงช่วยลดปริมาณฝุ่นชนิดอื่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชื้นและเป็นการล้างถนนไม่ให้มีการสะสมของฝุ่นให้มากขึ้น ซึ่งทางหน่วยงานรัฐอย่างกทม. และปภ. ก็พยายามแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณฝุ่นขนาดใหญ่ได้

“ส่วนที่มีประเด็นดราม่าว่าไปฉีดน้ำบริเวณเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อให้ปริมาณฝุ่น PM2.5ลดลง จึงไม่มีผลทำให้ค่าฝุ่นลดลงแต่อย่างใด” รองอธิบดีคพ. กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image