ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานฯตรัง รุกตรวจทรายจากชายหาด หลังพบไมโคพลาสติกในปลาทู (ชมคลิป)

วันที่ 12 กันยายน 2562 หลังจากที่หลังจากที่ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง ตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่องไมโครพลาสติกในปลาทู ด้วยการเก็บตัวอย่างปลาทูจากแพปลาประมงพื้นบ้าน ที่จับมาจากเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และพบว่า ไมโครพลาสติกในกระเพาะในปลาทูมีเฉลี่ย 78 ชิ้นต่อ 1 ตัว แยกเป็นพลาสติกลักษณะต่างๆ เช่น เส้นใย ชิ้น แท่ง และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุด คือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96

ล่าสุด นางสาวเสาวลักษณ์ ขาวแสง อายุ 30 ปี ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยการค้นพบไมโคพลาสติกในปลาทูนั้น ทางศูนย์ฯได้มีการดำเนินการศึกษาวิจัยต่อด้วยการที่คณะวิจัยยังได้มีการนำทรายบริเวณชายหาดมาคัดแยกขยะต่างออกมาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก แต่ที่เจอทั้งนี้ที่หน้าหาดเราได้ทำการทดลองโดยการเอาทรายในพื้นที่ มาคัดแยกแล้วก็แยกเป็นขนาด ออกมาว่าที่เราเจอที่มีการปะปนบนหน้าผิว มันมีลักษณะเป็นยังไง ลักษณะสีหรือเป็นขนาดไซส์ที่เป็นยังไง ซึ่งเป็นช่วงของการทดลอง การทดลองทรายนี้เป็นครั้งแรก โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการสุ่มนำทราย ที่บริเวณชายหาดเจ้าไหม จำนวน 5 แปลง ซึ่งในแต่ละแปลงมีพื้นที่ 25 ตารางเมตร หรือในพื้นที่ 5X5 เมตร

ตอนนี้ยังเป็นวิธีแบบ Manual เรายังคงต้องจัดหาวิธีที่ให้มันเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งในตอนนี้เป็นการทดลองที่ใช้คนคัดแยกออกจาก ตัวพวกเศษไม้เพราะว่าบริเวณ หน้าหาดไม่ได้มีเฉพาะพลาสติก จะมีพวกเศษไม้ เศษผลไม้ต่างๆที่ไม่สามารถทราบได้ว่าต้นทางมาจากไหน จากต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ และกว่าจะถูกซัดลอยมาเกยตื้นริมชายหาด ขยะไมโครพลาสติกที่ปลาทูกินเข้าไป ถือว่าเป็นวิกฤติทะเลโดยทั่วไป ชาวประมงพื้นที่ที่อาศัยอยู่ริมชายหาดซึ่งอาศัยทะเลหน้าบ้านจะต้องช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ช่วยกับเก็บกวาดขยะ โดยเฉพาะโซนชายหาดปากเมง จะมีบรรดาร้านค้าจะมีการเก็บกวาดขยะบริเวณหน้าร้านเพื่อให้เป็นชายหาดที่สะอาด แต่ในบางพื้นที่โซนที่ไม่มีใครอาศัย จะมีการซัดพาเศษขยะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ๆทีอยู่ 30 คนจะตระเวนเก็บขยะหน้าหาดระยะทางยางถึง 300-400 เมตรคงจะไม่ทั่วจึงต้องอาศัยชาวบ้าน นักท่องเที่ยว ทุกคนต้องช่วยเก็บขยะจึงจะสามารถบรรเทาปริมาณขยะให้ลดน้อยลง แม้ว่าจะไม่หมดก็ตาม

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image