สสส.-จุฬา-ทส. เดินหน้าสร้าง ‘แฮปปี้ เวิร์กเพลส’ คาดเพิ่มนักสร้างสุขกว่า 1 พันคน ในปี’64

เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่สโมสรทหารบก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดตัว “โครงการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมองค์กรแห่งความสุข” โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัด ทส. กล่าวว่า ทส.ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำโครงการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรมาขยายผลการดำเนินกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่องในระดับกระทรวง โดยจะ 10 กรม 3 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และ 2 องค์การมหาชน ข้าราชการและบุคลากรทั้งสิ้น 41,414 คน โดยวางแผนระยะเวลาในการดำเนินการโครงการฯ 2 ปี (พ.ศ.2562-2564) และคาดว่าจะสามารถสร้างนักสร้างสุของค์กรตัวคูณได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,000 คน เพื่อเป็นผู้นำในการเสริมทัพขับเคลื่อนแนวคิดการเสริมสร้างองค์กรสุขภาวะเสริมสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้บุคลากรในหน่วยงาน

Advertisement

นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส. กล่าวว่า โครงการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรภาครัฐ ระหว่าง ทส.ในครั้งนี้ เป็นการขยายผลความสำเร็จต่อเนื่องหลังจากได้ดำเนินการครั้งแรกในปี 2556 และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ จากการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่าง สสส.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และ สำนักงานปลัด ทส. โดยมีเป้าหมายให้เกิดการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรในระดับกระทรวง ครอบคลุมทุกหน่วยงานในสังกัด ทส.

นายประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส.สนับสนุนเครื่องมือองค์ความรู้ happy workplace โดยร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมสำรวจปัจจัยด้านที่มีผลต่อการสร้างสุขภาวะองค์กร ผ่านดัชนีชี้วัดการประเมินสุขภาวะองค์กร HOA. (Healthy Organization Assessment) ตัวมาตรวัดคุณภาพชีวิตและการทำงานของบุคลากร เกิดเป็นโมเดลสร้างสุขภาวะองค์กรภายใต้สูตร ‘5-4-3 ความสุของค์กรเสริมด้วยเรา’ เพื่อเป็นต้นแบบอันดีในการสร้างสุขภาวะองค์กรในระดับกระทรวง ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่จะต่อยอดไปยังแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี

“โมเดลสร้างสุขภาวะองค์กรภายใต้สูตร 5-4-3ความสุของค์กรเสริมด้วยเรา ประกอบด้วย 5 ส. 1.สถานการณ์ 2.สร้างแกนนำขับเคลื่อนต้องมีเครือข่ายและบุคลากร 3.สนับสนุนพื้นที่คิด เครื่องมือ 4.ส่งเสริมสู่การปฏิบัติภายในให้เกิดนโยบาย และ 5.สื่อสาร 4 ต. 1.การติดตั้งความรู้การใช้เครื่องมือ 2.การติดตามเพื่อบ่มเพาะ 3. การเติมเต็มสิ่งที่ยังขาดด้วยวิธีการโค้ช และ 4.การต่อยอด โดยเป้าหมายสุดท้ายที่เป็นความสำเร็จ 3 ส่วน คือ 1.สู่องค์กรสุขภาวะอย่างถาวร 2.สู่การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐกับหน่วยงานกำกับนโยบาย และ 3.สู่นโยบายระดับชาติ” นายประกาศิต กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image