ตัวแทน กลุ่มแรงงานอิสระรุดขอบคุณ หม่อมเต่าหนุนแก้กฎหมายขยายอายุ ม.40 จาก 60 – 65 ปี

ตัวแทน กลุ่มแรงงานอิสระรุดขอบคุณ หม่อมเต่าหนุนแก้กฎหมายขยายอายุ ม.40 จาก 60 – 65 ปี

​เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) ได้มอบหมาย น.ส.ไพลิน จินดามณีพร ผู้ตรวจราชการกรม สปส.นำกลุ่มตัวแทน และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 โดยมีนายภัทรพงษ์ กิตติวิริยะพันธ์ พร้อมด้วยคณะเครือข่ายประกันสังคม และตัวแทนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ภาคกลาง จำนวน 6 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดสุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร อ่างทอง ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา จำนวน 26 คน ซึ่งเป็นตัวแทนแรงงานอิสระ กลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน กลุ่มทอผ้ากลุ่มแรงงานภาคเกษตร และกลุ่มรับจ้างทั่วไป ได้เข้าพบและกล่าวขอบคุณ หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อขยายอายุผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ให้แก่แรงงานภาคอิสระที่มีอายุ 60 – 65 ปีบริบูรณ์ ให้สามารถเข้าสู่ระบบความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา 40 ได้

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

Advertisement

 

 

​ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญในการผลักดันตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้แก่คนทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม และเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เร่งดำเนินการทั้งในด้านความคุ้มครองทางสังคม โดยการขยายความคุ้มครองประกันสังคมเพื่อเป็นหลักประกันชีวิตที่มั่นคงและเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่งการขยายอายุให้แก่บุคคลซึ่งอาจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 – 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการขยายฐานความคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมประชาชนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

Advertisement

​สำหรับการผลักดันการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายอายุผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นั้น ขณะนี้กระบวนการแก้ไขกฎหมายการขยายอายุอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา ต่อคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการจัดส่งร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้กระทรวงตรวจพิจารณายืนยัน ก่อนนำส่งร่างพระราชกฤษฎีกา คืนให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามลำดับต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2563 นี้

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image