โฆษก ศบค. วอนสังคมอย่าให้เกิดระลอกป่วย “โควิด-19” ในไทย หวั่นเงินไม่พอรักษา

โฆษก ศบค. วอนสังคมอย่าให้เกิดระลอกป่วย “โควิด-19” ในไทย หวั่นเงินไม่พอรักษา

โควิด-19 เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) เปิดเผยในช่วงการแถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ป่วยยืนยันใหม่ 15 ราย สะสมอยู่ที่ 2,854 ราย ในจำนวนผู้ป่วยใหม่ 15 ราย พบในกรุงเทพมหานคร 4 ราย ภูเก็ต 4 ราย ยะละ 4 ราย ปทุมธานี 1 ราย สงขลา 1 รทย และสมุทรปราการ 1 ราย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ จำนวน 11 ราย
1.มีประวัติสัมผัส/เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 9 ราย
1.1 สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ในพื้นที่ของ กทม. 4 ราย ภูเก็ต 4 ราย และสงขลา 1 ราย รวมทั้งหมด 9 ราย

2.ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 2 ราย
2.1 คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 1 ราย
2.2 ไปสถานที่ชุมนุม เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว(ปทุมธานีไปตลาดบางปะอิน ประทุมธานี คลอง1) 1 ราย

Advertisement

3.อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 0 ราย

กลุ่มที่ 2 การค้นหาเชิงรุก (Ative case finding) พื้นที่ จ.ยะลา 4 ราย

กลุ่มที่ 3 ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้า ทำการแยกกักในสถานที่รัฐบาลจัดให้(State Quarantine) 0 ราย

Advertisement

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในประเทศไทย ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2,854 ราย พบใน 68 จังหวัด กรมควบคุมโรคได้จัดอันดับจังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย รวม 1,457 ราย นนทบุรี 152 ราย สมุทรปราการ 111 ราย ยะลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย รวม 99 ราย ชลบุรี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย รวม 86 ราย ปัตตานี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย รวม 79 ราย สงขลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 19 ราย รวม 44 ราย
เชียงใหม่ 40 ราย ปทุมธานี 37 ราย และอยู่ในระหว่างสอบสวนโรค 65 ราย

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อัตราการป่วยต่อประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดที่รับรักษา ในจำนวน 2,854 ราย 68 จังหวัด โดยไม่นับผู้ที่อยู่ในสถานที่กับการของรัฐบาลจัดให้ สามารถจำแนกได้ดังนี้ ภูเก็ต อัตราส่วน 48.38 (คนต่อแสนประชากร) กรุงเทพฯ มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย อัตราส่วน 25.69 ยะลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย อัตราส่วน 18.53 ปัตตานี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย อัตราส่วน 10.95 นนทบุรี อัตราส่วน 12.10 สมุทรปราการ อัตราส่วน 8.31 ชลบุรี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย อัตราส่วน 5.56 สตูล มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 18 ราย อัตราส่วน 5.58 (ในจำนวนนี้ไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่)
สงขลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 19 ราย อัตราส่วน 3.07 และ ชุมพร อัตราส่วน 4.11

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หากแบ่งจังหวัดตามสี 5 สีทั่วประเทศไทย พบว่า

1.พื้นที่สีแดง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 7 วันที่ผ่านมา มี 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ชลบุรี สมุทรปราการ(มาจากปทุมธานี) กระบี่ ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา

2.พื้นที่สีส้ม จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7-14 วัน มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ปราจีนบุรี ขอนแก่น นครปฐม เลย สตูล พัทลุง พังงา และนครศรีธรรมราช

3.พื้นที่สีเหลือง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14-28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 35 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ตรัง และสุราษฎร์ธานี

4.พื้นที่สีเขียวอ่อน จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด และอุดรธานี

5.พื้นที่สีเขียวเข้ม จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อน มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พิจิตร ระนอง สิงห์บุรี อ่างทอง และสตูล ไม่มีผู้ป่วยในจังหวัดแต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการกักกันในพื้นที่ที่รัฐบาลจัดไว้ให้(State quarantine)

“การจัดให้เห็นพื้นที่ แดงเหลืองเขียว จะพบว่าสีแดงยังไม่ดีเท่าไร อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ และเราต้องการให้จังหวัดของท่าน ตกลงมาในพื้นที่สีเขียวข้างหลังจะดีที่สุด แต่พบว่ากลุ่มก้อนใหญ่ๆ อยู่ในพื้นที่สีเหลือง และเขียวอ่อนข้างล่าง ส่วนในสมุทรปราการคือผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จ.ปทุมธานี แต่มาขอรับการรักษาที่ จ.สมุทปราการ จึงต้องลงทะเบียนในพื้ทที่ที่เข้ารับการรักษา และ จ.ฉะเชิงเทรา ตกลำดับลงมาจากสีแดงมาเป็นสีเหลือง เป็นการยืดระยะเวลาของจังหวัดไม่ให้มีการติดเชื้อยาวถึง 14-28 วัน ที่ไม่พบผู้ป่วยเลย จะต้องขอบคุณประชาชนทุกคนในพื้นที่ที่ทำให้จำนวนป่วยน้อยลง” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพฯ -นนทบุรี และต่างจังหวัด พบผู้ป่วยในจำนวนที่คงที่ แนวโน้มการกระจายตัวของผู้ป่วยตามพื้นที่เข้ารับการรักษา พบว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีแนวโน้มขึ้นและลงต่อเนื่อง เกิดเป็นระลอกของผู้ป่วย ระลอกที่ 1 อยู่วันที่ 22 มีนาคม ระลอกที่ 2 อยู่ในวันที่ 30 มีนาคม และระลอกที่ที่ 3 อยู่ในวันที่ 19 มีนาคม ไม่อยากให้เกิดระลอกผู้ป่วยที่ 4, 5 ต่อไป เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว จะต้องเอาเงินมาทุ่มเทกับการรับรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล (รพ.) คงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นทุกคนจะต้องรักมาตรการให้ดี

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้จัดทำข้อมูลจังหวัดที่มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค (PUI) ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากโรคอะไร ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้หลายโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดธรรมดา และเมื่อเข้ามารับบริการแล้วจึงทำการตรวจด้วยการนำสารคัดหลั่ง ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-pcr เพื่อหาผู้ติดเชื้อโควิด-19

“ในจำนวนนี้จะต้องนำมารายงานเพื่อให้ทราบว่ามีการตรวจหาผู้ป่วยที่เข้ามาในระบบการรักษามาก แต่ตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 เพียง 2,839 ราย จำนวนผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคจังหวัดที่สะสมมากกว่า 1,000 ราย 6 ลำดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ 11,655 ราย 2.ยะลา 4,448 ราย 3.นนทบุรี 3,630 ราย 4.ภูเก็ต 2,163 ราย 5.ชลบุรี 1,879 ราย และ 6.สมุทรปราการ 1,302 ราย” โฆษก ศบค.กล่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image