สธ.มั่นใจระบบ “สาธารณสุข-เทคโนโลยี” ดี คุม “โควิด-19” อยู่หมัด

สธ.มั่นใจระบบ “สาธารณสุข-เทคโนโลยี” ดี คุม “โควิด-19” อยู่หมัด

โควิด-19 วันที่ 20 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.บัญชา ค้าของ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า สถานการณ์ช่วงก่อนหน้านี้เคยพบโรคไข้หวัดใหญ่สเปนระบาด มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 40 ล้านคน ขณะนี้เป็นช่วงของการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในยุคใหม่ที่เป็นยุคดิจิทัล มีความเชื่อมั่นว่าความพร้อมด้านเทคโนโลยี ของประเทศไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่น และเราก็ไม่อยากเห็นหน้าเสียชีวิตของทั้งโลกในช่วงโควิด-19 ในหลัก 40 ล้านคน เหมือนไข้หวัดใหญ่สเปน

“วันนี้อะไรที่ต้องเร็ว อะไรที่ต้องเยอะ จะต้องจัดการยังไงให้อยู่หมัดอยู่มือภายใต้เทคโนโลยีที่สูง โดยจะต้องใช้แพลตฟอร์ม หรือแอพพลิเคชั่นมารองรับในการควบคุมจัดการดูแลรักษาโรค ไปจนถึงมาตรการผ่อนปรนของผู้ประกอบการ ดังนั้นแอพพ์ฯ ต่างๆจะมีมาเป็นระยะ” นพ.บัญชา กล่าว

ด้าน นพ.เฉวตสรร นามวาท กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แอพพ์ฯ “หมอชนะ ” โดยประสานงานกับแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพทย์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) เป็นแอพพ์ฯ ที่เกิดจากหลายภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม ด้านความปลอดภัยทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาดูแลกำกับ ในส่วนระบบการระบุตัวตนจะถูกเก็บรักษาเพื่อใช้ในการสอบสวนโรคในประวัติการเดินทาง

Advertisement

นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า การใช้แอพพ์ฯ หมอชนะ จะช่วยในการบันทึกการเดินทางและในวันนึงอาจจะมีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาว่า “เมื่อ 5 วันก่อน มีผู้ป่วยยืนยันที่เดินทางทับเส้นทางกันหรือใกล้กันในระยะที่แอพพ์ฯ บันทึกไว้” แต่จะไม่มีการระบุตัวตนของผู้ป่วย หลังจากนั้นจะมีคำเตือนขึ้นมา เช่น การแนะนำให้กักกันตัวเองที่บ้าน การเข้าตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) พร้อมทั้งมีการประเมินความเสี่ยงของตนเอง เพื่อลดการซักประวัติคัดกรองภายในโรงพยาบาล ลดการใช้เวลาในการซักถามข้อมูล รองรับมาตรการผ่อนคลายในระยะต่างๆ ที่จะมีผู้คนเดินทางมากขึ้น

นพ.อนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร สธ. กล่าวว่า เป็นศูนย์บูรณาการข้อมูลที่มุ่งเน้นข้อมูลในสถานพยาบาล ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้ 1.การควบคุมโรค 2.การตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันผู้ป่วย 3.การรักษาผู้ป่วยยัน และ 4.หลับสนุนทรัพยากรให้กับภารกิจทุกด้าน ดังนั้นทั้ง 4 ภารกิจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน

Advertisement

“โครงสร้างแพลตฟอร์มหลักระบบสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health Care Platform) ช่วยในการตอบโต้สถานการณ์ช่วงโควิด-19 โดยช่วงแรกของการระบาด คือ ทำด้วยมือหรือกระดาษ และภายหลังจึงได้ใช้ระบบดิจิทัลในการใช้งานจึงสามารถระบุได้ว่าทรัพยากรต่างๆ มีเหลือเท่าไหร่ และสถานการณ์ของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ไปงานจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศอย่างแม่นยำ รวมถึงการรายงานการใช้ห้อง เตียง เครื่องช่วยหายใจ รักษาผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไร” นพ.อนันต์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image