อธิบดีกรมควบคุมโรคยัน! โควิด-19 มีสิทธิขึ้นหลักหมื่นต่อวัน

อธิบดีกรมควบคุมโรคยัน! โควิด-19 มีสิทธิขึ้นหลักหมื่นต่อวัน ล้่นมิ.ย. ฉีดวัคซีนล็อตใหญ่ อย่างต่ำ 26 ล้านคน ที่ผ่านมาไม่ถือว่าช้า!!

รายการโหนกระแสวันที่ 15 เมษายน  “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ  ยังเกาะติดสถานการณ์โควิด-19 โดยสัมภาษณ์ “นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์” อธิบดีกรมควบคุมโรค กับกรณี 1 เดือนข้างหน้า ถ้าอยู่แบบนี้ต่อไป ต่อวันจะพบผู้ติดเชื้อหลักหมื่น

วันนี้ข่าวออกมาเยอะมาก ที่ท่านบอกว่าถ้าอยู่อย่างนี้ต่อไป ตัวเลขจะขึ้นหลักหมื่นต่อวัน?

“การระบาดระลอกเม.ย. 64 วันเดียวขึ้นไป 400-500 ไป 800-900 อยู่ 2-3 วัน แล้วขึ้นหลัก 1,300 1,500 เราเอาข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณ โดยแบบจำลองระบาดวิทยา และโมเดลต่างๆ พบว่าถ้าไม่มีมาตรการอะไรเลย ภายใน 1 เดือน ผู้ติดเชื้อต่อวัน ย้ำอีกทีว่าต่อวันจะขึ้นไปหลักสองหมื่นแน่นอน จากการคำนวณระบาดวิทยาและโมเดล ทั้งนี้ทั้งนั้น การระบาดล่าสุดไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา ล่าสุดที่เราเจอที่สมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว โรงงานเขาเคลื่อนย้ายไม่ค่อยเยอะ แต่การระบาดเม.ย. 64 ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว อายุเฉลี่ย 20-29 มากที่สุด วัยแอ็กทีฟ วัยทำงาน เดินทางทั่วประเทศ การกระจายจะค่อนข้างเร็วจากจุดสถานบันเทิงไม่กี่แห่ง ตอนนี้กระจายเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย สองสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดไม่มากนัก แต่คราวนี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษที่เรียกว่สา B117 ความสามารถของมันคือกระจายเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ข้อดีคือความรุนแรงไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น เราค่อยสบายใจในส่วนนี้ ความสามารถวัคซีนในการป้องกันก็ไม่มีปัญหา ฉะนั้นถ้าดูตามแบบจำลองคณิตศาสตร์และความสามารถของเชื้อ ผมเชื่อว่าตัวเลข 2 หมื่นกว่าต่อวันเป็นไปได้ ถ้าเราไม่ร่วมมือกันในตอนนี้”

Advertisement

พูดง่ายๆ คือถ้าอยู่กันแบบนี้ ไม่มีการป้องกัน?

“ใช่ครับ สถานบันเทิงก็ยังเปิด ยังมีชนเหล้าอย่างที่เห็นในจอเมื่อกี้ อันนี้เกิดแน่ ถ้าทั่วประเทศเป็นแบบนี้”

Advertisement

เราช้าไปมั้ย ทำไมไม่มีมาตรการล็อกก่อนหน้านี้ อย่างช่วงสงกรานต์ ทำไมไม่ทำเหมือนปีที่แล้ว?

“ผมว่าคนไทยทนมาปีนึงแล้ว ต้องทนต่อไป การผ่อนคลายแค่ไหนเหมาะสมผมคิดว่าตัดสินใจได้ยาก ล็อกเยอะเกินไปคนก็เดือดร้อน ผ่อนคลายเกินไปมันก็ระบาด ตรงนี้อยู่ที่สมดุล ที่ผ่านมาเราพยายามจับสัญญาณการระบาดให้ได้เร็ว รอบนี้ก็ถือว่าเร็วพอสมควร ทำให้เราบอกได้ว่าปัญหาเกิดจากจุดไหน สองต้องยอมรับว่าสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษ มันแพร่กระจายได้ไวจริงๆ ถ้าเทียบกับที่ผ่านมา เพราะไม่มีอาการเลย สามารถเดินไปไหนต่อไหน ทำให้การระบาดรวดเร็ว ที่สำคัญถ้าสังเกตดูจะเป็นเมืองใหญ่ๆ นอกจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล ก็จะเป็นเชียงใหม่ เชียงใหม่ก็จะเป็นนักศึกษา ปิดเทอม และมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ประกอบกับเชื้อที่มันระบาด มันเลยทำให้เชียงใหม่ระบาดเยอะ ผมสอบถามไปหลายมหาวิทยาลัย ว่าทำไมมหาวิทยาลัยอื่นไม่ค่อยเกิด เขาบอกส่วนใหญ่ตอนนั้นยังไม่ปิดเทอม ยังเรึยนหนังสืออยู่ ไม่ได้มีกิจกรรมมากนัก อย่างนี้่เป็นต้น แต่ข้อดีของเที่ยวนี้ เรารู้ว่าที่เป็นจุดเสี่ยงชัดๆ เกิดจากจุดไหน ถ้าเราคุมจากจุดนั้นได้ ตอนนี้มันกระจายไป แต่ผมเชื่อว่าโดยระบบที่เราวาง ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแต่ละจังหวัดเขามีมาตรการในการควบคุมเฉพาะตัวของเขา นอกจากคำสั่งของส่วนกลาง หลักๆ ของส่วนกลาง ก็จะมีควบคุมสถานบันเทิง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดกิจกรรมบาอย่าง โดยเฉพาะเราทราบว่าจุดเสี่ยงมี 2 อย่าง หนึ่งคือสถานที่ ตรงไหนแออัด ตรงไหนอากาศถ่ายเทไม่สะดวก สองคือพฤติกรรม การไม่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่ร่วมกันอย่างแออัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

มีโอกาสล็อกดาวน์จังหวัดพื้นที่สีแดงมั้ย?

“ไม่เรียกว่าล็อกทั้งจังหวัด อาจล็อกเป็นบางจุด เช่น อำเภอ ตำบล หรือบางจุดที่เป็นปัญหาจริงๆ อย่างกรุงเทพฯ ถ้าดูตามสถานการณ์ ถ้าเรายังสามารถคุมได้ และทุกคนร่วมมือกันจริงๆ ผมว่าไม่ถึงขั้นนั้น แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนเร็ว เชื้อโรคก็ปรับตัว เราต้องปรับตัวให้ทันเชื้อโรคด้วย”

ช้าไปมั้ยกับการตัดสินใจ?

“ถ้าถามผมไม่ช้า การตัดสินใจแต่ละอัน ต้องมีจุดที่ตัดสินใจ ทุกการตัดสินใจมีข้อดีข้อเสียประกอบกัน”

หลังสงกรานต์ ในมุมท่านมองยังไง การกระจายตัวจะเพิ่มมากขึ้นกี่เท่า?

“ผมว่าตอนนี้คนตื่นตัว กสางคืนค่อนข้างเงียบ ขอสองอย่าง ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ลดการอยู่ชุมชนเยอะ เพราะจุดที่แพร่กระจาย จุดเล็กๆ เราจับได้ คุมได้ แต่ถ้าจุดใหญ่ๆ เกินไปเยอะๆ มันจะเกินสถานการณ์ที่เราจะตรวจจับและคุมได้ สองขอให้ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นลง เช่นช่วงจะกลับมาจากสงกรานต์ ถ้าเป็นไปได้ขอให้เวิร์กฟรอมโฮม หน่วยราชการเวิร์กฟรอมโฮมเต็มรูปแบบ เอกชนก็ร่วมได้ หลายที่คนกลับมาเขาจัดสถานที่ให้เลย คุณมาจากจังหวัดเสี่ยง กักตัวก่อน 14 วัน ส่งข้าวส่งน้ำ ทำงานตรงนั้นไป ก็ช่วยได้จุดนึง”

บางที่ไม่ได้เกรงกลัว รำเถิดเทิง?

“ที่สกลนคร ต้องไปจัดการ ดำเนินการ ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เชื่อว่าเขามีคำสั่งในเรื่องกิจกรรม คงต้องไปดำเนินการ ทั้งเชิงกฎหมายและเชิงป้องปรามควบคู่กันไป ถ้ามีคำสั่งคณะกรรมการจังหวัดเขาสั่งห้ามชุมนุม ห้ามสาดน้ำ อันนี้ผิดครับ ในฐานะเจ้าพนักงน มีทั้งโทษจำและปรับ ขอให้ต้นเรื่องไปดูรายละเอียดอีกครั้ง เพราะนอกจากไม่ปลอดภัยต่อตัวเองแล้ว ยังไม่ปลอดภัยต่อชุมชน ต่อจังหวัด และต่อประเทศด้วย”

คนกลับเข้ามาที่กรุงเทพฯ ต้องปฏิบัติตัวยังไง?

“หนึ่งถ้าไม่จำเป็นขอให้เวิร์กฟรอมโฮม สองถ้าไปที่สาธารณะ ขอให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงคนเยอะๆ ต้องย้ำเพราะหลายงานที่เราเห็น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เวลาดื่มเหล้าจะขาดสติ ถ้าถามทำไมเที่ยวนี้ระบาดที่ผับบาร์เยอะ หนึ่งสถานที่แออัด สองมีการใช้เสียง ตัวใกล้ชิดกัน สามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พอสามอย่างมาประกอบกัน การระบาดก็เป็นไปได้กว้างขวาง ขยายไปเกือบครึ่งประเทศ จะเห็นว่าแค่เหตุการณ์เดียว สามารถทำให้การแพร่กระจายเป็นไปได้รวดเร็ว”

โรงเรียนหยุดมั้ย?

“ข้อดีของโรงเรียน ตอนนี้ปิดเทอม จะเหลือแค่สถานกวดวิชา และโรงเรียนอินเตอร์บางแห่ง ซึ่งไม่มากนัก สถาบันกวดวิชาเราต้องการปิด เพราะส่วนใหญ่ห้องแออัด แต่ตอนนี้ปรับระบบดีขึ้น หลังๆ เรียนออนไลน์ก็ช่วยได้ส่วนหนึ่ง ฉะนั้นเป็นช่วงปิดเทอมพอดี ปัญหาไม่มากนัก แต่อยากให้เรียนแบบออนไๆลน์หรือผสมผสาน ส่วนมัธยมเป็นช่วงปิดเทอม ก็ขอให้งดกิจกรรมออกค่าย หรือทำกิจกรรมคนไปรวมกัน เราเห็นตัวอย่าง มหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ ไปทำกิจกรรมที่จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน ก็เอาเชื้อไปติดตรงนั้นด้วย ช่วงนี้สาคัญยึดหลักคือหนึ่ง ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น สองลดการเดินทาง เวิร์กฟรอมโฮม ใส่หน้ากากอนามัยให้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่ที่ติด หนึ่ง จากสถานบันเทิง สองไปติดครอบครัว สามติดที่ทำงาน สี่ติดชุมชน ถ้าเราตัดวงจรการติดไปได้จะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะที่ทำงาน เสี่ยงอยู่สองอย่าง หนึ่งเพื่อนร่วมงานไม่ใส่หน้ากากอนามัย เพราะคนคุ้นเคย แต่ปัจจุบันเราบอกไม่ได้หรอกคนคุ้นเคยติดหรือไม่ติด สองเวลากินข้าว แน่นอนต้องถอดหน้ากาก การปิดที่ทำงานทั้งหมดไม่ได้ช่วยอะไร ขอให้เน้นแค่สองจุดนี้”

โควิดอยู่กับเรามาปีกว่าๆ ภาครัฐ สาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมรับมือ เพราะรู้อยู่แล้วมันไม่ไปไหน เราเตรียมการก่อนหน้านี้มั้ย เหมือนทุกครั้งต้องมาแก้ที่ปลายเหตุ?

“บางประเทศระบาดเยอะยังไม่จบเลยทุกวันนี้ มาตรการที่ได้ผลที่สุด คือโตโต้ล็อกดาวน์ 3 ปี ถ้าอยากให้ผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์เลย ทุกคนอยู่กับบ้าน มีคนส่งข้าวส่งน้ำทุกวัน 3 ปี ถามว่าทำได้มั้ย ทำได้ แต่ใช้ทรัพยากรมหาศาล และแทบไม่มีประเทศไหนทำอีกแล้ว”

ทุกอย่างเหมือนหย่อนยานไปหมด และมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ?

“ผมว่าอยู่ที่ความร่วมมือของคนในประเทศนั้นๆ อันนี้สำคัญมาก ถ้ามีมาตรการออกไป ยังไงก็ตามแล้วคนต่อต้าน เหมือนครั้งนี้เริ่มมีคนต่อต้านเพราะมาตรการเข้มเกินไป ปฏิบัติไม่ได้ มันก็ไม่เกิดผล สองการติดตาม ต้องปฏิบัติไปควบคู่กัน”

ตกลงโรงเรียนกำลังจะออกแถลงหรืออย่างไร?

“คงมีการประชุมศบค.พรุ่งนี้ และออกมาตรการมาโดยเฉพาะ สถานศึกษาอยู่กันอย่างแออัด ให้เรียนผสมผสาน หรือเรียนแบบออนไลน์ เป็นต้น เรื่องรัฐซัปพอร์ตก็คงเหมือนคราวที่แล้ว”

เมื่อไหร่คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนเต็มเม็ดเต็มหน่วย?

“เป้าหมายที่เรากำหนดคือเดือนมิ.ย. ตอนนี้สั่งมาแล้ว 61 ล้านโดส ของแอสตร้าเซนเนก้า ตอนนี้สถานการณ์วัคซีนทั่วโลก แย่งกันซื้อ ของมีน้อย ความต้องการเยอะ สองวัคซีนไม่ใช่สินค้าที่หาซื้อได้ในท้องตลาด หลายประเทศไม่ให้ส่งออกแล้ว ตอนนี้วิจัยยังไม่เสร็จด้วยซ้ำ แต่ต้องเอามาใช้ก่อน จุดเป็นปัญหาเรื่องวัคซีนเป็นจุดไหน บ้านเราสังเกตดู จุฬาฯ มหิดล วิจัยวัคซีนได้ แต่สิ่งที่ขาดคือโรงงาน”

รัฐไม่ออกทุนให้หน่อยเหรอ?

“มีองค์การเภสัชกรรม ที่ไม่มีปัญหาคืออเมริกากับยุโรป เพราะเขามีโรงงานเยอะ มีการวิจัย มีการลงทุนพื้นฐานเยอะ แต่บ้านเราปัญหาคือโรงงานวัคซีน เรามีน้อยมาก ทำให้การวิจัยต่อยอดเป็นไปอย่างยากลำบาก ฉะนั้นในการจัดการครั้งนี้ หาวัคซีนที่มีปริมาณเพียงพอกับคนไทย ส่งมอบให้เราครบกำหนด ไม่ตกหล่น สามเป็นราคาที่ยอมรับได้ ไม่แพงจนเกินไป สังเกตดูตลาดออกแรกๆ ตั้งราคาเกินพัน แถมบอกว่าวางเงินแล้วไม่ได้ก็เจ๊ากันไป โจทย์นี้มาก็เลยต้องมองหา หนึ่งทำยังไงให้เรามีโรงงานผลิตเองในประเทศไทย ให้มีความมั่นคงต่อไปในอนาคต วัคซีนหายากกว่าหน้ากากมาก ทำยังไงให้โรงงานอยู่ในประเทศไทย โชคดีแอสตร้สาเซนเนก้าตั้งฐานผลิตที่ไทย ทำให้เราสั่งซื้อวัคซีนได้ 150 บาท ถูกที่สุดในโลก สองโรงงานอยู่ในประเทศไทย เราจะไม่มีปัญหาว่าผลิตแล้วคนไทยไม่ได้ ได้แน่ๆ รัฐบาลก็หาวัคซีนให้คนไทยทุกคนโดยไม่คิดมูลค่า กำลังผลิตที่เราประมาณไว้เบื้องต้น 61 ล้านโดส แผนการผลิตเราจริงๆ ที่จะกระจายเดือนกว่า ถ้าเราวางเป้าไว้ที่ปลายพ.ค.หรือ ต้นมิ.ย. ก็เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะมีวัคซีนให้คนไทยได้อย่างเพียงพอ สองช่วงที่ระบาดที่สมุทรสาคร ตอนนั้นเราต้องการวัคซีนมาก เราเลยต้องเจรจาหามาเพิ่มเติม ซึ่งเจรจาไม่รู้กี่บริษัท แต่ไม่มีของ ถ้ามีก็แพงมาก พันกว่า เป็นต้น จนเราได้ซิโนแวค ราคาไม่ได้แพงมาก ยอมรับได้ และให้เราในช่วงนั้นได้ ส่วนเจ้าอื่นถ้าจะได้ก็ช่วงเดือนก.ย ซึ่งเราต้องการเดือนก.พ. ความต้องการไม่ตรงกัน เพราะก.ย. เราจะมีวัคซีนล็อตใหญ่ในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องเอาตรงนั้นแล้ว แต่เดือนก.พ. มี.ค. เรามีการระบาดที่สมุทรสาคร ที่บางแค เราต้องการวัคซีนอย่างเร่งด่วน ซึ่งเราสามารถหาซื้อได้ 2 ล้านโดส ขณะนี้เข้ามา 1 ล้านโดสแล้ว 1 ล้านโดสนี้ คนนึงฉีด 2 เข็ม แสดงว่าเราต้องฉีดให้คน 5 แสนคน ภายในเวลาเดือนเดียว ฉีดครบถ้วน 5 แสนคน คนหาว่าฉีดช้า ไม่ช้านะครับ ภูเก็ตวันเดียวฉีดได้ 1.4 หมื่น คูณ 70 เข้าไป ปัญหาคือไม่มีวัคซีนให้ฉีด ถ้ามีวัคซีนเราก็ฉีดต่อได้ คนถามว่ามีเอกชนนำเข้ามั้ย นโยบายภาครัฐไม่มีการกีดกันเอกชน ถ้าวัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ผ่านอย. เอกชนรายไหนก็สามารถสั่งวัคซีนมาใช้ กระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ฉีดตามข้อบังคับ ถ้าหาได้ก็เอามาได้เลย หนึ่งวัคซีนต้องมาขึ้นทะเบียนที่ประเทศไทย แต่บริษัทส่วนใหญ่ไม่ยอมขึ้นทะเบียน เพราะเขาไม่ได้ตั้งใจมาขายเรา ตอนนี้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วมี 3 เจ้า ที่เหลือพูดเฉยๆ ไม่ยอมขึ้นทะเบียน มีแต่บอกว่าต้องสั่ง 10 ล้านเหรียญ หรือ 10 ล้านโดส ถึงยอมมาขายเรา นี่คือข้อเท็จจริง ปกติเวลาขึ้นทะเบียนวัคซีนใช้เวลาเกือบปี แต่อันนี้เหลือเดือนเดียว วันอังคารจะมีการคุยกันเรื่องนี้ ขอย้ำอีกครั้งรัฐบาลพยายามอำนวยความสะดวก แต่ถ้าภาคเอกชนนำเข้ามา ต้องออกสตังค์ด้วย รัฐบาลดีลให้ เอกชนออกสตางค์มา อย่างนี้เป็นต้น แต่ข้อมูลต้องมาเชื่อมโยงกันเป็นต้น ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าถูกที่สุดในโลก คนได้ประโยชน์คือคนไทย องค์การอนามัยโลกยอมรับผลประสิทธิภาพ ไม่ต่างจากวัคซีนอื่น ถ้าไปดูตลาดตอนนี้ ไม่มีทางที่ใครจะมาขายให้ประเทศอื่น 50-60 ล้านโดสในเวลาสั้นๆ เพราะประเทศเขายังไม่พอฉีดเลย”

วัคซีนจุฬาฯ ต่างๆ นานา บางที่ต้องระดมทุนเอง?

“รัฐบาลมีทุนให้ แต่เรื่องระดมทุนผมเข้าใจว่าเป็นไปในความร่วมมือร่วมใจของประชาชนมากกว่า แต่ติดปัญหาสุดท้ายอย่างเดียว คือโรงงานผลิต คิดวัคซีนไม่ยาก แต่ผลิควัคซีน 30-50 ล้านโดสในตลาดอุตสาหกรรมต้องใช้ความรู้ เทคโนโลยีอีกแบบนึง ที่เมืองไทยไม่มี จุดอ่อนของเราคือไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เราต้องไปรอ การที่เรามีดีลกับแอสตร้าเซนเนก้าแล้วเรามีโรงงานของคนไทยเอง ประเทศไทยถือว่าได้เปรียบเรื่องป้องกันโรคต่อไปในอนาคต”

เรื่องเตียง ตอนนี้วันละพันกว่า ความเพียงพอ พอมั้ย?

“ถ้าดูจุดอื่นของประเทศแทบไม่มีปัญหา เชียงใหม่เคสไม่ได้น้อยไปกว่ากรุงเทพฯ แต่การสั่งการอะไรของเขาค่อนข้างง่าย ส่วนใหญ่โรงพยาบาลใหญ่ๆ ของเชียงใหม่ จะเป็นของมหาวิทยาลัยกับกระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าฯ ช่วยจัดการอย่างดี เขาไม่ค่อยมีปัญหา แต่จุดมีปัญหาคือกรุงเทพฯ ที่ปัญหาทับซ้อนมาก รพ.เขามีตั้งแต่มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน รพ.กระทรวงสาธารณสุขจริงๆ ในกรุงเทพฯ แทบไม่มีเลย ฉะนั้นรพ.กระจัดกระจาย ห้องปฏิบัติการก็กระจัดกระจาย ทำให้เวลาไปพบผู้ติดเชื้อ ไม่สามารถหารพ.ได้ ทั้งที่รพ. มีเพียงพอ ศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยหมื่นคนในกรุงเทพฯ เป็นไปได้ แต่ตอนนี้เนื่องจากหลายหน่วยงาน ขาดการบูรณาการ การจัดการ ขณะนี้กำลังปรับระบบ ตอนนี้ผู้ติดเชื้อตกค้างอยู่แรกๆ เรามีระบบติดตามตัว เอาเข้ามาอยู่รพ. สถานกสารณ์ก็ค่อยๆ คลี่คลายลงไป”

คนหาเตียงไม่ได้ ภาคเอกชนก็เต็ม?

“เต็มเฉพาะบางโรง ตอนนี้เอกชนก็พูดคุยกัน ถ้ามีปัญหากรุณาโทรไปที่ 1330 1668 1669 จะมีคนคอยประสานงานให้ แต่บางครั้งก็มีปัญหา เพราะคนอยากอยู่เอกชน อยากอยู่ห้องเดี่ยว ก็ขออนุญาตว่าถ้าช่วงนี้ไม่สะดวกสักหน่อย เจ้าหน้าที่ให้ไปอยู่ตรงไหนก็ให้ไปอยู่ตรงนั้น เพื่อให้เราค่อยๆ เคลียร์ ปัญหาจะได้หมด”

รพ.ปฏิเสธการตรวจหาเชื้อ บอกว่าน้ำยาหมด?

“คงเป็นอย่างนั้นจริงๆน้ำยาตรวจมีเยอะ บางรพ.ไม่อยากให้คนไข้โควิดอยู่รพ.เขา กลัวเจ้าหน้าที่เจ็บตัว แต่จริงๆ ไม่ใช่ ที่ผ่านมาก็อย่าโทษไปมา อาทิตย์นี้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ก็ขออภัยที่เกิดความไม่สะดวก ก็คิดว่าจะค่อยๆ ดีขึ้น อาจไม่สะดวกแต่ขอความกรุณาให้ขยับขยายไปก่อน เราไม่อยากให้มีนโยบายคนติดเชื้ออยู่ที่บ้าน”

ชัดเจนว่าคนติดเชื้อยังไงก็ต้องไปรพ. ไม่มีสิทธิ์นอนกักตัวอยู่บ้าน?

“ไม่มีครับ หนึ่งโรคนี้ยังไงก็เป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมาย ช่วงนี้ดีหน่อยคนเจ็บป่วยเป็นคนหนุ่มสาว ไม่ออกอาการ แต่เราบอกไม่ได้หรอก วันนี้อาจสบายดี พรุ่งนี้อาจปอดบวม อีกวันอาจใส่เครื่องช่วยหายใจ อีกวันอาจเสียชีวิตได้ ถ้าท่านอยู่บ้านใครจะช่วยดูแล นี่คือประการที่หนึ่ง อยู่รพ. ไม่ว่าระดับไหนจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ถ้าหนักก็ส่งไปรักษาได้อย่างถูกต้อง สองเป็นโรคอันตราย คนหนุ่มสาวบอกไม่ได้หรอก วันสองวันอาจกักตัวไหว แต่วันที่สี่ อาจขอไปตรงโน้นตรงนี้หน่อย กักไม่จริงหรอกครับ ที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์ นี่โรคติดต่ออันตราย ที่สำคัญคนไทยไม่อยู่บ้านคนเดียว อยู่กับพ่อแม่ เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ให้อยู่บ้านไม่ได้ ถ้าไม่ทำตามก็จะมีข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งไม่อยากทำ ก็ขอความร่วมมือ”

เมื่อสองวัน มีกรณีผู้ป่วยขึ้นเครื่องกลับนครศรีธรรมราช ตรวจกับสถานที่หนึ่ง แล้วปล่อยกลับไปได้ยังไง?

“ปัญหากรุงเทพฯ เนื่องจากระบบทับซ้อนมาก ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นเอกเทศ ไม่มีรพ.รองรับ ซึ่งเราไม่อนุญาตให้ทำ ถ้าตรวจแล็บแล้วผลบวก ต้องบอกคนไข้และให้ไปรพ. แต่แล็บเอกชนบางแห่งเขาตรวจอย่างเดียว พอคนไข้รับเชื้อไม่ใช่หน้าที่เขา จะไปไหนก็ไป ซึ่งไม่ได้นะ ต่อไปคนติดเชื้อ แล็บตรงไหนตรวจ ต้องมีรพ.รองรับ และรพ.ต้องโทรไปหาคนตรวจแล็บ เอาเข้ารพ. ห้ามให้อยู่บ้าน”

คนติดเชื้อไม่อยากไปนอนรพ.สนาม ทำยังไง?

“เราจะต้องลดตัวเลขผู้ติดเชื้อให้ได้ คนติดเชื้่อต้องอยู่ในสถานที่ที่เราควบคุม ป้องกันเชื้อแพร่กระจาย สำคัญมาก อาจไม่มีความสะดวกสบาย ในรพ.สนาม แต่ขอความร่วมมือ อย่างน้อยยังมีความปลอดภัยในตัวท่าน และป้องกันการแพร่กระจาย เราพยายามปรับรพ.สนามให้เกิดความสะดวกสบายมากที่สุด ถ้าสังเกตดูคนอยู่รพ.สนาม ส่วนใหญ่อาการน้อย หรือไม่มีอาการ บางคนอยากอยู่ออสพิเทลเพราะเหมือนโรงแรม คงมีข้อดีข้อเสีย อยู่ออสพิเทลท่านอยู่คนเดียว 14 วันนะครับ แต่รพ.สนามยังเดินไปเดินมาได้ แต่เชื่อว่าขอความร่วมมือ อาจไม่สะะดวกช่วงนี้ แต่สถานการณ์จะค่อยๆ ดีขึ้น”

ถ้ามีเชื้อแล้วจะดีขึ้น จะทำยังไง ถ้าคนข้างๆ เป็นอยู่?

“เวลาเราติดเชื้อแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน คนติดเชื้อโดยหลักอยู่ด้วยกันไม่มีปัญหา เรามีเชื้อแล้ว สร้างภูมิคุ้มกัน ไม่เป็นไร ถูกหลักวิทยาศาสตร์หลักการแพทย์”

ท่านยืนยันเรื่องวัคซีน?

“เดือนมิ.ย. ฉีดแน่นอน ไม่ต้องห่วง ขอให้มิ.ย. มาฉีด คนถามว่าโควิดจะหมดเมื่อไหร่ ผมเชื่อว่า มิ.ย. ก.ค. ส.ค. สามเดือน เราจะเร่งระดมฉีดให้ได้อย่างต่ำ 26 ล้านคน รวมตอนต้นอีก 1 ล้านคน ตรงนั้นเราจะสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศได้ระดับหนึ่ง เราจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้คล้ายๆ ปกติในระดับหนึ่ง จุดหมายสาคัญอยู่ตรง ก.ย. 64 ตัวอื่นๆ จะเป็นวัคซีนทางเลือกหรือเสริมเข้าไป แต่วัคซีนตัวหลักคือวัคซีนที่ผลิตในประเทศเรา และมีคุณภาพที่ดี”

เรื่องลิ่มเลือด?

“ปัญหาลิ่มเลือดไม่ได้มีมาก ประโยชน์การฉีดวัคซีนมีมากกว่า อีกอย่างปัญหาลิ่มเลือดคนเอเชียเป็นปัญหาน้อยมาก เขายอมรับว่าเกิดจากเชื้อชาติ คนยุโรป ผิวขาว มีปัญหาลิ่มเลือดมากกว่าคนเอเชีย เป็นที่ฮอร์โมน ปัญหาคนเอเชียมีน้อยกว่าหลายเท่า ฉะนั้นวัคซีนถือว่ามีความปลอดภัย และมีประโยชน์ ฉีดฟรี ไม่คิดมูลค่า”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image