สธ.แจงวิธีผสมไฟเซอร์กับน้ำเกลือ แนะ ปชช.อย่าลังเลรับวัคซีน ทุกยี่ห้อปลอดภัย

(FILES) In this file photo taken on November 17, 2020 An illustration picture shows vials with Covid-19 Vaccine stickers attached and syringes with the logo of US pharmaceutical company Pfizer, on November 17, 2020. - Britain on December 2, 2020 became the first country to approve Pfizer-BioNTech's Covid-19 vaccine for general use and said it would be introduced next week. (Photo by JUSTIN TALLIS / AFP)

สธ.แจงวิธีผสมไฟเซอร์กับน้ำเกลือ แนะ ปชช.อย่าลังเลรับวัคซีน ทุกยี่ห้อปลอดภัย

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เฉวตสรร นามวาท อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงหลักเกณฑ์การจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไฟเซอร์ ล็อตได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา ว่า ดูจากฐานข้อมูลการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนเท่าไร และให้แต่ละจังหวัดสำรวจความประสงค์ที่รับวัคซีนไฟเซอร์ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าว่ามีจำนวนเท่าไร มาประกอบกัน หากแจ้งมาต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของฐานข้อมูลการฉีดวัคซีน เราจะจัดสรรให้เต็มร้อยละ 50 เนื่องจากอาจมีผู้ต้องการรับวัคซีนเพิ่มเติมและเข้าเกณฑ์ฉีดได้ หากจำนวนสำรวจอยู่ในร้อยละ 50-75 ของฐานข้อมูล จะส่งให้ตรงตามเปอร์เซ็นต์ที่ขอมา แต่หากจำนวนเกินร้อยละ 75 ของฐานข้อมูล จะส่งให้เบื้องต้นก่อน 75% ซึ่งจังหวัดที่ออกมาบอกว่าขาด เป็นกรณีที่มีการส่งรายชื่อเข้ามามากกว่า 75% เมื่อเทียบกับฐานข้อมูล อย่างไรก็ตาม จะมีการส่งวัคซีนไปเพิ่มเติม หากจุดใดที่ยังไม่ได้รับ บางส่วนที่ตกหล่น หรือมีความต้องการเพิ่มเติมให้แจ้งหน่วยงานเพื่อรวบรวมเข้าไปยัง สธ โดย รพ.ในจังหวัดต่างๆ ให้ติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)

นพ.เฉวตสรร กล่าวถึงแนวทางการผสมวัคซีนไฟเซอร์ว่า เป็นไปตามสูตรที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด ทำเหมือนกันทุกประเทศ เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ด้วย mRNA วัคซีนที่ต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำมาก ดังนั้น วัคซีนมีความเข้มข้น ต้องผสมกับน้ำเกลือ (Normal Saline) ซึ่งในโรงพยาบาลก็มีการใช้น้ำเกลือที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นการผสมน้ำอย่างแน่นอน “สัดส่วนการผสมวัคซีนแต่ละขวด ต้องเอาน้ำเกลือ 1.8 ซีซี แทงเข็มเข้าไปในขวดวัคซีน หลังจากนั้นกลับขวดไปมา 10 รอบช้าๆ ไม่ใช่การเขย่าจนเกิดฟองอากาศ ทั้งหมดนี้เป็นข้อแนะนำของผู้ผลิต ซึ่ง สธ.ได้ทำคลิปวิดีโอสาธิต อบรมทุกหน่วยฉีดให้เกิดความมั่นใจ เมื่อจะนำวัคซีนออกจากตู้เก็บความเย็น มาที่อุณหภูมิห้องที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก เมื่อผสมแล้วต้องมีการฉีดให้หมดภายใน 6 ชั่วโมง ฉะนั้น สำคัญมากในการบริหารการฉีดในจำนวนที่สามารถที่ฉีดได้หมด ไม่เช่นนั้นก็จะเสียวัคซีน ต้องทิ้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่อายุเท่าไร รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่ นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับทุกครอบครัวและทุกการเสียชีวิต แต่ข้อมูลยังยืนยันองค์ความรู้เดิมที่ว่าผู้เสียชีวิตกลุ่มสำคัญ คือ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และพบหญิงตั้งครรภ์ และยังไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้น จึต้องเร่งฉีดในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จึงขอว่าบางส่วนที่อาจลังเลหรือยังเข้าไม่ถึง ขอให้เข้าสู่การลงทะเบียนระบบการฉีดวัคซีน อย่าลังเล ทุกยี่ห้อมีตัวอย่างการฉีดหลายประเทศทั่วโลกจำนวนมหาศาล เฉพาะประเทศไทยก็ 21 ล้านโดส ยืนยันมีความปอดภัยสูง เทียบประโยชน์วัคซีนป้องกันเสียชีวิต ป่วยหนักนอนโรงพยาบาล (รพ.) และ ไอซียู

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image