โลมา อัจฉริยะนอนน้อย แต่นอนนะ

โลมา อัจฉริยะนอนน้อย แต่นอนนะ

วันที่ 25 กันยายน เฟชบุ๊ก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand ได้โพสต์บทความ เรื่องธรรมชาติของโลมา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ที่ได้ขึ้นชื่อว่า สัตว์น้ำอัจฉริยะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นโลมาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา แต่ใครจะรู้ไหมว่า โลมาก็มีเวลาที่จะต้องนอนพักผ่อนเหมือนกัน

ในเฟชบุ๊ก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า อธิบายการนอนพักผ่อนของโลมา ดังบทความต่อไปนี้

 

Advertisement

“ โลมา ” อัจฉริยะก็ต้องนอน
ไม่ว่าใครก็ต้องพักผ่อน แล้วโลมานอนอย่างไร
.
.
โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถือได้ว่ามีความเฉลียวฉลาดมากชนิดหนึ่ง แถมด้วยความน่ารักและขี้เล่นของมันยังเป็นขวัญใจของเด็ก ๆ หรือแม้แต่วัยผู้ใหญ่อย่างเราๆ โลมาเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมช่วยเหลือมนุษย์ เคยมีเรื่องเล่าว่าโลมาเคยช่วยชีวิตมนุษย์ตอนมีเหตุการณ์เรือแตก หรือคลิปที่เป็นไวรัลในเอ็นเตอร์เน็ตขณะที่โลมาช่วยเก็บโทรศัพท์ที่ตกน้ำขึ้นมาให้มนุษย์ และอีกหลากหลายความสามารถที่ไม่ได้กล่าวมา
.
นอกจากนี้ “โลมา” ยังเป็นนักคิดค้นเครื่องมือในการหาอาหาร เพราะด้วยการมีสมองอันชาญฉลาดของมัน ยกตัวอย่างเช่น โลมาปากขวดบางตัว พวกมันจะใช้ฟองน้ำเพื่อปกป้องจะงอยปากของพวกมันในขณะที่หาอาหารบนพื้นทะเล ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียนรู้จากแม่ของพวกมัน โดยมันจะใช้ฟองน้ำในการคุ้ยเขี่ยปลาออกจากทราย นักชีววิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า พฤติกรรมนี้อาจเป็นธรรมเนียมทางสังคมที่ส่งต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ต้องเรียนรู้
.
ต่อให้คุณจะฉลาดแค่ไหนคุณก็ยังต้องได้รับการพักผ่อน โลมาก็เช่นกัน โดยขณะที่โลมาหลับมันจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก จะเคลื่อนไหวเฉพาะเวลาที่ต้องขึ้นมาหายใจ โลมาหลายชนิดจะนอนโดยที่ครีบข้างแนบกับลำตัวและนอนงีบเพียงช่วงเวลาสั้นๆ โดยสมองด้านซ้ายและด้านขวาจะผลัดกันพักทีละข้าง ในขณะที่หลับจะลืมตาข้างหนึ่งอยู่ จะมีสมองซีกที่ไม่หลับคอยระวังภัยหรือผู้ล่าในขณะที่จะขึ้นมาหายใจ และสมองยังต้องคอยสั่งการเรื่องการขึ้นมาหายใจอีกด้วย
.
มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าโลมาแรกเกิดสามารถอดนอนได้ตลอดเดือนแรกหลังคลอด การอดนอนนี้อาจช่วยให้พวกมันหลบหนีจากนักล่าในท้องทะเลตัวอื่นได้ดีกว่าหากตื่นตัว นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวอีกว่าการอดนอนยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองได้อย่างรวดเร็ว
.
แต่อย่างไรก็ตามการได้พักผ่อนก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ดีไม่ว่าจะเป็นสัตว์ หรือ มนุษย์ เพราะการนอนมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง หรือแม้กระทั่งจิตใจ
.
นอนน้อย… แต่นอนนะ… (zzz)
.
.
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : ระบบฐานข้อมูลกลางและมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , ScienceNews https://www.sciencenews.org/…/dolphins-wield-tools-sea… , livescience.com https://www.livescience.com/3885-insomnia-mania-newborn…

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image