รมว.สุชาติ ลุยกระบี่ มอบนโยบายยกระดับแรงงานป้อนธุรกิจ เปิดประตูท่องเที่ยวอันดามัน

รมว.สุชาติ ลุยกระบี่ มอบนโยบายยกระดับแรงงานป้อนธุรกิจ เปิดประตูท่องเที่ยวอันดามัน

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เข้าร่วม ทั้งนี้ ก่อนการประชุมมีแกนนำอาสาสมัครแรงงานระดับตำบล จ.กระบี่ ร่วมเข้ามอบของที่ระลึกด้วย

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการจ้างงาน โดยเฉพาะ จ.กระบี่ และจังหวัดฝั่งอันดามัน ขณะนี้ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ร้านค้า ร้านอาหารและที่พักเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ภายหลังรัฐบาลมีนโยบายเปิดประเทศ

Advertisement

“ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานมีโครงการสำคัญๆ หลายโครงการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ อาทิ การส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้ การพัฒนาศักยภาพแรงงานทั้ง Up skill และ Re skill เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยและวิกฤตเศรษฐกิจ ให้มีงานทำ มีรายได้ รองรับการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นต้น” นายสุชาติ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวถือเป็นแป้นพิมพ์เงินหลักสำคัญของประเทศ ในขณะนี้กระทรวงแรงงานมีโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจการท่องเที่ยวและประเทศไทย

Advertisement

“จากข้อมูลพบว่า อัตราการจ้างงาน 6 จังหวัด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์โควิด-19 ถึง 115,075 ราย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีนายจ้างเข้าร่วมโครงการ 5,711 ราย เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 900 กว่าล้านบาท แต่ยังมีนายจ้างอีกบางส่วนที่ยังไม่เข้าโครงการ จึงขอให้เร่งรัดการดำเนินการ สร้างความเข้าใจ และบูรณาการกับหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน ระยะต่อไปอาจจะมีการขยายกำหนดระยะเวลา และพิจารณาคุณสมบัติของสถานประกอบการเพิ่มเติม ส่วนแป้นพิมพ์เงินด้านการส่งออกในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้มีนโยบายสำคัญที่รองรับ เช่น โครงการแฟคทอรี่ แซนด์บ็อกซ์ (Factory sandbox) ซึ่งได้รับความชื่นชมจากนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เห็นชอบแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบเอ็มโอยูให้ทุกฝ่ายเตรียมความพร้อม ปัญหาการค้ามนุษย์ เร่งรัดการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจแรงงานในการวิเคราะห์การทำงานประกอบนโยบายของรัฐบาล โดยต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกกรม (big data)” นายสุชาติ กล่าว

สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงาน จ.กระบี่ มีกำลังแรงงาน 215,501 คน เป็นผู้มีงานทำ 207,222 คน ผู้ว่างงาน 8,279 คน สถานประกอบการ 3,816 แห่ง แรงงานในสถานประกอบการ 43,223 คน แรงงานนอกระบบ 119,205 คน แรงงานต่างด้าว 13,465 คน มีสถานประกอบการในระบบประกันสังคม 2,735 แห่ง ผู้ประกันตน 78,993 คน อาสาสมัครแรงงาน 53 คน ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีสถานประกอบการเลิกจ้าง ปิดกิจการ 20 แห่ง ลูกจ้าง 447 คน สถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 จำนวน 8 แห่ง ลูกจ้าง 998 คน สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี 554 แห่ง ลูกจ้าง 8,120 คน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image