แพทย์แนะสังเกตอาการมิสซี หลังเด็กติดโควิด เจอปุ๊บ! รีบส่ง รพ.

แพทย์แนะสังเกตอาการมิสซี หลังเด็กติดโควิด เจอปุ๊บ! รีบส่ง รพ.

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ กรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีเด็กเสียชีวิตหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผู้ปกครองได้โพสต์ข้อความระบุว่า ได้รับแจ้งจากแพทย์ว่าจะเป็นภาวะลองโควิด (Long Covid) ว่า จากการการติดตามที่มีการรายงานผ่านสื่อต่างๆ พบว่าอาการที่เกิดขึ้นเข้าได้กับภาวะมิสซี (MIS-C) ไข้สูง อาเจียน อุจจาระ

“ส่วนที่ระบุว่าไม่เคยติดเชื้อมาก่อนนั้น ผมไม่ทราบ สมมติเคยติดเชื้อมาก่อนไม่มีอาการหรือไม่ ซึ่ง MIS-C สามารถเกิดได้ปลายสัปดาห์แรกๆ หลังติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ไม่ได้พบมาก จากข้อมูลพบอัตราการเกิดอยู่ 1 ใน 10,000 รายของประชากรที่ติดเชื้อ” นพ.สมศักดิ์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถสังเกตลูกหลานหากมีอาการร่วม 2 อย่างขึ้นไป ไข้สูง ใจสั่น/เต้นเร็ว หน้าแดงมีผื่น ท้องเสียอาเจียน ซึม ไม่รู้ตัว ให้รีบพาไปพบแพทย์ การรักษาสามารถรักษาได้ โดยการให้ภูมิคุ้มกันจากน้ำเหลือง และเลือด ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ ยาแอสไพริน เป็นต้น ซึ่งอาการหนัก หลักๆ อาจจะหายได้ แต่อาจจะมีบางอาการที่หลงเหลืออยู่ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย หรือมีโรคร่วมอื่นๆ หรือไม่ แต่ไม่กระทบกับการใช้ชีวิต ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อเนื่อง เพราะเพิ่งอยู่กับโควิด-19 มาเพียง 2 ปีเศษ

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การติดเชื้อในเด็กนั้น ถ้าไม่มีอาการยังสามารถดูแลที่บ้าน หรือ HI ได้ ซึ่งจริงๆ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ที่เพิ่งออกมานั้นสามารถให้เป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ดังนั้น ขณะนี้จึงอยู่หว่างการหารือร่วมกันระหว่างกรมการแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ในการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในระบบผู้ป่วยนอกต่อไป ตรวจที่ รพ.แล้วกลับไปอยู่บ้าน โดยมีแพทย์ดูแล หรือไปติดตามอาการต่อที่ รพ. หากมีอาการเปลี่ยนแปลงรุนแรงก็สามารถโทรมาได้

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ การอยู่บ้านไม่เข้มงวดเหมือน HI อย่างเคยบอกว่าให้แยกตัวไม่พบคนในครอบครัว ก็จะมีการให้พบกันได้แบบเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย แยกเครื่องใช้เป็นต้น ห้องน้ำสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยให้คนที่ติดเชื้อใช้เป็นคนสุดท้าย ใช้แล้วก็ทำความสะอาด เป็นต้น

Advertisement

“การเปลี่ยนแปลงวิธีการใดๆ เราต้องยืนอยู่บนมาตรฐานทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ โดยต้องดูธรรมชาติของเชื้อไวรัสด้วย ซึ่งถ้าเป็นเชื้อเดลต้า เราก็คงไม่ให้รักษาแบบโอพีดี หรือ ผู้ป่วยนอก เพราะทำให้มีคนที่มีอาการหนักพอสมควร แต่วันนี้รรมชาติของเชื้อโอมิครอนค่อนข้างเอื้ออำนวย ร้อยละ 80-90 ไม่ต้องแอดมิต สามารถดูแลแบบผู้ป่วยนอกได้ ประกอบกับ สธ. กรมควบคุมโรค กำลังจะเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นต้องเตรียมปรับวิธีทำงาน เรื่องนี้อยู่ระหว่างหารือรวมถึงผลต่อการเคลมประกันด้วย” นพ.สมศักดิ์ กล่าวและว่า ขณะนี้ ถ้านำผู้ติดเชื้อเข้า รพ.ทั้งหมดก็ไม่พอ อย่างก่อนหน้านี้กรมการแพทย์ ต้องออกประกาศให้ รพ.ราชวิถี ต้องลดการให้บริการผู้ป่วยอื่นๆ ลง ร้อยละ 20 เพื่อขยายมาดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 แทน

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image