ส.ก.ลาดกระบัง บอกดู ‘ท่อ-คลอง’ ก่อน ไม่ต้องมองถึงกรมชลฯ ชูตั้ง ‘ฝ่ายระบายน้ำ’ งานเยอะไม่ไหว แค่ 46 คน

ส.ก.ลาดกระบัง บอก ดูท่อ-คลองก่อน ยังไม่ต้องมองถึงกรมชลฯ แนะเปลี่ยนกลุ่มงานระบายน้ำ เป็น ‘ฝ่าย’ ชี้ ภาระงานไม่ไหว 50 เขตแค่ 46 คน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 กันยายน ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา กทม.2 ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 2) ประจำปีพุทธศักราช 2565

โดยเนื้อหาการประชุมวันนี้ มี 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังสำนักงานเขตเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในกรุงเทพมหานครเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.ญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องทุนส่งเสริมการวิจัย และ 3.ญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การให้เงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. …

อ่านข่าว : ลูกจ้างกทม.เฮ สภาฯฉลุย ‘ให้โบนัสประจำปี’ เฮียล้านปลื้ม เติมกำลังใจคนทำงานหนัก 4-5 ปีไม่เคยได้รางวัล

ส.ก.ผงะท่อ ‘ดินทั้งนั้น’ โอด ‘ดอนเมืองอ่วม’ ฝากชัชชาติสร้างเขื่อน-รองปธ.สภา ลั่น ชาติเดียวในโลกน้ำท่วมเครื่องบิน

Advertisement

บรรยากาศเวลา 11.05 น. มีการพิจารณาวาระที่ 7 เรื่องเสนอใหม่ ซึ่ง นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา หรือ ดร.จอห์น สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง เสนอญัตติเรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังสำนักงานเขต เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในกรุงเทพมหานครเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ นายสุรจิตต์ ขอให้พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างจากกลุ่มระบายน้ำในฝ่ายโยธา เป็น ฝ่ายระบายน้ำ เนื่องจากข้อจำกัดด้านบุคลากรและงบประมาณ

Advertisement

นายสุรจิตต์ เนื่องจาก กทม. ได้จัดโครงการการบริหารราชการ โดยกำหนดให้สำนักงานเขต แบ่งส่วนราชการภายใน เป็น 10 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายโยธา ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขภาบาล ฝ่ายรายได้ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการคลัง ฝ่ายเทศกิจ และฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ซึ่งแต่ละฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงาน ทำงานร่วมกัน

จากการติดตามการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ตะวันออก ของ กทม.พบว่า การแก้ไขปัญหาไม่สามาถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากงานระบายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของ ฝ่ายโยธา ซึ่งมีกำลังคนและงบประมาณไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ ฝ่ายโยธา มีภารกิจหลากลายและมีประมาณงานจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำใน กทม. เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงขอให้ กทม. ปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังสำนักงานเขตให้มีความเหมาะสม เพียงพอ โดยแบ่งส่วนราชการภายใน จากกลุ่มงานระบายน้ำ ฝ่ายโยธา เป็นฝ่ายระบายน้ำ

 

จากนั้น นายสุรจิตต์ ชี้แจ้งเหตุผลและรายละเอียดว่า กรุงเทพตะวันออก หลักๆ ประกอบด้วย เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คันนายาว สะพานสูง บึงกุ่ม ประเวศ และคลองสามวา ซึ่งเป็นพื้นที่ชายขอบ ของ กทม. ตามมาด้วยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม คลองก็เยอะที่สุด เฉพาะลาดกระบังมี 60 กว่าคลอง ตามาด้วยถนนลูกรัง 10 ปีอย่างไรก็อย่างนั้น เข้าใจว่างบไม่เพียงพอ ต้องขอบคุณผู้ว่าฯ กทม.ที่มีแนวคิดและนโยบาย จะเอางบประมาณต่างๆ ลงสำนักงานเขตเพิ่มเติม ซึ่งแก้ตรงจุด คือเส้นเลือดฝอย

นอกจากนี้ กทม.ตะวันออก ยังเป็นพื้นที่รับน้ำ ประชาชนในพื้นที่ทราบ น้ำท่วมซ้ำซาก ตกทีไรท่วมทุกที น้ำไม่รู้จะระบายไปไหน ไม่พูดถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างฝน หรือน้ำเหนือ  แต่มีปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดน้ำท่วมคือ

ปัจจัยที่ 1.ภูมิศาสตร์ และผังเมือง ที่ตะวันอกกเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ แหลงกระทะ ให้หลักวิทยศาสตร์ ที่น้ำไหลจากสูงลงต่ำไม่ได้ ต้องใช้การสูบระบายน้ำ มองไปทางขวาก็ติด จ.ฉะเชิงเทรา น้ำสูงกว่าเรา มองไปทางซ้ายก็ กทม.ชั้นใน น้ำท่วมไม่ได้ ทนกันเเป็นเดือนเป็นปี บางพื้นที่ 2-3 เดือนกว่าจะระบายน้ำได้ เกิดจากผังเมืองกำหนดไว้ชัดเจน เป็นพื้นที่รับน้ำ ซึ่ง กทม.ตะวันออกมี 3 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ คลองสามวา เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบัง

ปัจจัยที่ 2. ฝนตกและดินทรุด เนื่องจากเป็นแอ่งกระทะ ประกอบกัหมู่บ้านเกิดขึ้นมาก
ปัจจัยที่ 3.เมืองขยายต้นไม้ลด 3 ข้อนี้ผูกพันกันหมดต้องของคุณ ท่านชัชชาติที่มีโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียว

ปัจจัยที่ 4. ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1.มนุษย์ทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำ วันดีคืนดีเจอตุ๊กตาหมีโผล่มาตามคลอง 2.เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 3.ขาดการบำรุงรักษา และลอกคูคลองอย่างเป็นระบบ
นายสุรจิตต์กล่าวต่อว่า หน้าที่หลักของฝ่ายโยธา ที่ดูแลทั้ง 50 เขต ซึ่งบำรุงรักษา ลอกคูคลอง มีอยู่ฝ่ายเดียว บังเอิญฝ่ายนั้นงานเยอะมาก แต่ละอย่างเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ขาดการสำรวจตรวจสอบ คือ 5 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก

 

เพราะฝ่ายโยธา มี 5 ภารกิจหลัก คือ 1.งานธุรการ 3. งานควบคุมอาคาร 3. งานรักษาที่สาธารณะ 4. งานโครงการก่อสร้างและบูรณะ 5. งานระบายน้ำ

“ในเขตกระบัง คลองของ กทม. มีเกือบ 50 คลอง ลูกจ้างประจำ มี 38 นาย ลูกจ้างชั่วคราว มี 8 นาย รวมกันเป็น 46 นาย 1 คน 1 คลองก็ยังดูแลไม่ได้ ปัญหาบุคลากรสำคัญมาก มองจากฝ่ายโยธา ซึ่งเป็นหัวใจแก้ไขปัญหา ทั้ง 50 เขต มองเป็นงานจับฉ่าย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร ฉบับ พ.ศ .2528 หมวดที่ 16 สำนักงานเขต จะ 40 ปีแล้ว เราใช้ พ.ร.บ.ตัวเดิม ซึ่งในบรรทัดที่ 6 ระบุว่า การบำรุงดูแลรักษาคูคลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แค่นี้ไม่เพียงพอตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน

เราใช้ฉบับเมื่อ 40 ปีที่แล้ว กำหนดขอบเขตหน้าที่ของฝ่ายโยธา แค่นี้ ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงใส่ส่วนสำคัญเข้าไป ไม่เปลี่ยนแปลง ควรจะมีอะไร ผมคิดได้ 6-7 ข้อ เช่น ควรมีการวางแผน การแจ้งเตือน การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การพยากรณ์อากาศและระดับน้ำ ให้ความรู้ประชาชน การปฏิบัติตนเมื่อน้ำท่วม

น้ำท่วมแต่ละครั้ง ผู้คนล้มตาย เนื่องจากไฟฟ้าช็อต เนื่องจากลื่น และอีกหลายสาเหตุ ต้องติดตามและมีแผนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย รวมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น ด้วยการร่วมมือกับสำนักการระบายน้ำ ซึ่งฉบับปี 2528 ไม่มีระบุไว้ เราเอา พ.ร.บ.เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มาใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน” นายสุรจิตต์ชี้

จากนั้น นายสุรจิตต์กล่าวถึงภาระงานของงานระบายน้ำ ฝ่ายโยธา ได้แก่ เก็บขยะและวัชพืชต่างๆ จากคู คลอง 2.บำรุงรักษาคูคลอง 3.ลอกทำความสะอาดท่อระบายน้ำ บำรุงรักษา ท่อระบายน้ำ ซ่อมแซมบำรุงรักษาถนน ตรอก ซอก ซอย แก้ไขและซ่อมแซมบ่อพัก

“ดูครับ ลูกจ้าง 46 นาย ทำไมเราไม่มีความคิดใหม่ๆ ทำโมเดลขึ้นมา อาจจะเริ่มจากฝั่งตะวันออก หรือพื้นที่รับน้ำ (ฟลัดเวย์) กลุ่มงานระบายน้ำ สมควรที่จะเป็นฝ่าย อย่างยิ่ง” นายสุรจิตต์ระบุ

นายสุรจิตต์ ยกตัวอย่าง 4 ปัญหาหลัก ของฝ่ายระบายน้ำ ฝ่ายโยธาว่า

1.บุลคากรมีไม่เพียงพอ เจ้าหนาที่ 46 นาย วนกันไปวนกันมา

2.แก้ไขปัญหาไม่ทันทวงที น้ำท่วม ยังไม่ทันแก้ ถนนพัง ก็ต้องไปซ่อมถนนก่อน ซ่อมยังไม่เสร็จ ฝาท่อบ่อพักชำรุดแจ้งมาในทราฟฟี่ฟองดูว์ ต้องรีบไปทำคะแนน มีคนแจ้งท้ำท่วมจุดใหม่แล้ว จุดแรกยังไม่ได้ทำ บุคลากรไม่พอ ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที สุดท้ายประชาชนทุกข์ วนมาอีหรอบเดิม

3.งบประมาณจัดสรรไม่เพียงพอ

4.ครุภัณฑ์เสื่อมสภาพ ขาดการดูแลและตรวจเช็ก

หากงานระบายน้ำ กลายเป็นฝ่ายจะเกิดอะไรขึ้น ?

นายสุรจิตต์กล่าวว่า 1.เจ้าหน้าที่จะมีกรอบทำงานที่ชัดเจน ไม่โยนกันไปมา 2.การบริการจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีฝ่ายจัดการน้ำโดยเฉพาะ 3.สามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 4.ติดตามและตรวจสอบผลได้ชัดเจน

นายสุรจิตต์ย้ำด้วยว่า ปัญหาหลัก คือคลอง และท่อ

“ท่อระบายน้ำและคลอง คือหัวใจสำคัญในการแก้ไขน้ำท่วมและเส้นเลือดฝอย ที่ กทม. ต้องให้ความสำคัญ” นายสุรจิตต์ชี้

แก้ที่ท่อและคลอง ไม่ต้องไปมองถึงกรมชลฯ มองแค่จุดนี้ ทุกวันนี้ท่อระบายน้ำยังตัน ผ่านไปจุดไหนขอรถดูดเลนหน่อย ประสานไปที่เขต รถดูดเลนพัง คนจะมาลอกท่อให้ก็จำนวนไม่พอ ต้องไปซ่อมถนน ซ่อมบ่อพัก สรุป ขอให้พิจารณา ปรับปรุงโครงสร้าง จากกลุ่มระบายน้ำฝ่ายโยธา เป็นฝ่ายระบายน้ำ” นายสุรจิตต์

กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image