‘ดร.สุเมธ’ เผยหลักคิดในหลวง ร.9 ‘ฐาปน’ เชื่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างผลลัพธ์ยั่งยืนระยะยาว

‘ดร.สุเมธ’ เผยหลักคิดในหลวง ร.9 ‘ฐาปน’ เชื่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างผลลัพธ์ยั่งยืนระยะยาว

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่เอสเอ็กซ์ แกรนด์ เพนนารี่ ฮอลล์ ชั้นจี ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 5 องค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของไทย ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดงาน Sustainability Expo 2022 (SX 2022) ซึ่งเป็นงานเอ็กซ์โปเกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

โดยจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปีนี้จัดภายใต้แนวคิดพอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก (Sufficiency for Sustainability) อันเป็นการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไปมาเผยแพร่และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและองค์กรต่างๆ ร่วมกันสานต่อพระราชดำริให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป  นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศไว้ โดยจัดระหว่างวันที่ 26 กันยายนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2565

น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงสร้างความยั่งยืนระยะยาว

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานอำนวยการ Sustainability Expo 2022 กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่าคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้เราจะผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตการณ์โควิด-19 แล้ว แต่ในวันนี้โลกของเราก็ยังเผชิญกับความท้าทายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกว่าสภาวะโลกร้อน ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพที่ถดถอยลง และที่สำคัญคือเรื่องของการเรียกร้อง สิทธิจากคนกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้เราได้เห็นความร่วมมือและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก นับเป็นความพยายามที่จะเข้ามาแก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้มากมาย รวมถึงการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร การนําเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้าไปใช้ในภาคสาธารณสุขเพื่อให้บริการทางการแพทย์กับชุมชนที่อยู่ห่างไกลเป็นต้น ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เราเห็นชัดเจนว่า ทุกครั้งที่เราร่วมมือกันทํางานและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง มนุษยชาติสามารถตอบรับความท้าทายและปรับตัวเข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอและนี่คือที่มาของการจัดงาน Sustainability Expo 2022 ในสัปดาห์นี้

นอกเหนือไปจากการลงมือทําแล้ว ทัศนคติ หรือ mindset เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการสร้างผลลัพธ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว ผมมีความเชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ให้แก่ปวงชนชาวไทย โดยทรงเน้นถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยตั้งอยู่บนรากฐานของความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรมนั้น เป็นปรัชญาที่มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่งนายฐาปนกล่าว

Advertisement

ดร.สุเมธ เผยหลักคิด 3 ประการ ในหลวง .9

จากนั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษ ความตอนหนึ่งว่า เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่งมาพูดถึงเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เพราะมนุษย์สนองความต้องการตัวเองไม่รู้จบ ลืมไปว่าจำนวนประชากรหรือคนในโลกนี้มากมายและไม่อยู่นิ่ง ตอนผมอายุ 15 ปี ตอนนั้นประชากรไทยมี 15 ล้านคน ตอนนี้ผมอายุ 83 ปี ประชากรไทยมี 73 ล้านคน ในบ้านหลังเดิม เช่นเดียวกับประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

วันนี้ทรัพยากรหายไปเฉลี่ย 1 ใน 3 มีการแย่งชิงทรัพยากรมาหลายทศวรรษ และอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีสงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำ ตอนนี้เริ่มมีร่องรอยของสงครามเกิดขึ้นแล้ว จริงๆ ในหลวง .9 ทรงรักษาดิน น้ำ ลม ไฟ ทรงใช้เวลา 8 เดือนทุกปี เสด็จฯ ไปทรงงานและประทับ ภาคเหนือ อีสาน ใต้ และหัวหินแห่งละ 2 เดือน ทรงทำสิ่งที่ง่ายและจำเป็นที่สุด เพื่อรักษาสภาพพอเพียงให้เกิดขึ้น ให้มีน้ำ อาหาร ปัจจัยแห่งชีวิตให้เพียงพอ เป็นเวลา 70 ปี ตระเวนไปทั่วจนปัจจุบันมี 4 พันกว่าโครงการในพระราชทานดำริ ก็น่าเสียดายที่เราปลาบปลื้มที่ได้เห็น แต่ไม่ค่อยมีใครปฏิบัติตาม

Advertisement

วันนี้โลกของเรากำลังแตกสลาย อย่างในปี ..2531 ในหลวง .9 รับสั่งให้ผมตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาทรงรับสั่งว่าสาเหตุที่ตั้งเพราะปัญหาที่ชาวโลกเผชิญอยู่ มันใหญ่โตขึ้นไปทุกที มันไม่ใช่ปัญหาแล้ว แต่เป็นสงคราม มนุษย์ทุกคนต้องลุกขึ้นต่อสู้ มันไม่ใช่สงครามฆ่ากัน แต่เป็นการเอาชนะปัญหา ทำให้นึกถึงประสบการณ์ 2 ปีที่ผ่านมา เราเผชิญทั้งโรคระบาดและสงคราม อย่างสงครามเป็นการทำลายล้างให้เกิดความขาดแคลน เกิดภาะราคาสินค้าแพงขึ้น กระทบคนเป็นล้านๆ คน เกิดเป็นสภาวะทุกข์ร้อนทั้งประเทศฉะนั้นวันนี้จะเข้าใจหรือยัง ที่ทรงรับสั่งคำง่ายๆ คือ พออยู่พอกินให้ได้

มนุษย์เริ่มรู้ตัว เราจะเจอประโยคง่ายๆ มากมาย อย่างคำว่า ขึ้นสู่สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ สิ่งแวดล้อมสีเขียว ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพราะมนุษย์พยายามแสวงหาทางออก เหลืออย่างเดียวคือการลงมือทำ ก็หวังว่าวันนี้จะเกิดผล จริงๆ ประเทศไทยไม่น้อยหน้า ในหลวง .9 ทรงเสนอเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การไปปลูกผักหญ้าอะไร แต่เป็นวิธีคิด ซึ่งมีคำจำกัดความพระราชทานไว้ 13 บรรทัด ตั้งแต่ปี ..2542 ทรงเตือนประหลาดอย่างยิ่ง ทรงเตือนถึง 3 ครั้ง คือ ความเปลี่ยนแปลง ทรงเตือนให้รู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ ต้องปรับตัวให้ทัน อย่างวันนี้เกิดดิสรัปชั่น ทำให้บางสิ่งเกิดความพ่ายแพ้ราบคาบเลย

พระองค์พระราชทานหลักความคิด 3 ประการไม่ว่าทำอะไร พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันหมายความว่า ขั้นแรกก่อนทำอะไร ให้ประเมินตัวเอง ประมาณแก่ตน เอาขนาดทุนของตัวเองเป็นที่ตั้งหรือทำอะไรอย่าให้เกินตัว คนไทยมีจุดอ่อนคือ รู้เขาแต่ไม่รู้เรา เมื่อรู้ทุน รู้ปัจจัยการผลิตแล้ว ทรงให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง หากไม่ใช่ ความโลภจะทำทางแทน ขณะที่เหตุผลมาด้วยสติและปัญญา และภูมิคุ้มกัน คือการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลา เพราะโลกนี้เปลี่ยนต้องเตรียมให้พร้อม ต้องรอบรู้รอบคอบระมัดระวัง ยุคข้อมูลข่าวสารต้องตามให้ทัน คนไหนตามความเปลี่ยนแปลงไม่ทันก็ถูกดิสรัปชั่นอีกทั้งมีเรื่องคุณธรรมสำคัญอย่างยิ่ง พระองค์รับสั่งว่าใครทุจริตเพียงนิดเดียวขอให้มีอันเป็นไป ทรงรับสั่งอย่างรู้พระองค์ แต่ทรงเหลือที่จะไม่รับสั่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนต้องยั่งยืนไปสู่คนรุ่นหน้า พระองค์พระราชทาน 3 เป้าหมาย สมดุล มั่นคงและยั่งยืน ที่จะต้องลงมือทำ ทำให้ทันการณ์ด้วย เพื่อรักษาแผ่นดินให้อยู่สืบไปดร.สุเมธกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image