กรุงเทพโพลล์เผย แรงงานไทยส่วนใหญ่ ชีวิตยังเหมือนเดิม ไม่ต่างจากช่วงโควิด และต้องทำงานหนักขึ้น

ภาพโดย alcangel144 จาก Pixabay

กรุงเทพโพลล์เผย แรงงานไทยส่วนใหญ่ ชีวิตยังเหมือนเดิม ไม่ต่างจากช่วงโควิด และต้องทำงานหนักขึ้น

เมื่อวันที่ 29 เมษายน กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เผยผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทยในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจํากกลุ่มตัวอย่างแรงงานพบว่า

เมื่อถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถาการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า
กลุ่มตัวอย่างแรงงานร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความ
เป็นอยู่แย่ลง ขณะที่ร้อยละ 27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทํางานหรือไม่ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจํานวนนี้ ร้อยละ 44.5 รํายได้ต่อวันลดลงจํากเดิม

Advertisement

รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทํางานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 24.0 ไม่มี OT เงินโบนัส ขณะที่ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ

เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” พบว่า แรงงานร้อยละ 45.7 มีรายรับ
พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 โดยในจํานวนนี้ร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตควํามเป็นอยู่แย่ลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบต่อการทํางาน

Advertisement

โดยในจํานวนนี้ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทํางานเยอะขึ้น

สิ่งที่อยากขอ ในวันแรงงํานแห่งชําติปีนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้กระทบค่าครองชีพ รองลงมํา อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คิดเป็นร้อยละ 72.2

ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยํากให้มีการพัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในกํารเรียนรู้สิ่งใหม่
เพื่อเพิ่มศักยภําพต่อกํารเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล

สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชําติปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาคือ อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นร้อยละ 72.2 และอยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7

สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้พัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ รองลงมาคือ ทักษะทางภาษา คิดเป็นร้อยละ 44.6 และทักษะในการสื่อสารทางการตลาด คิดเป็นร้อยละ 27.1

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image