กรมวิทย์ฯ มอบ 17 รางวัลผลงานวิชาการดีเด่น ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 31

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในระหว่างเป็นประธานปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31 และบรรยายพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์การแพทย์บนการพัฒนาระบบสุขภาพประเทศ พร้อมมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น จำนวน 17 ผลงาน จาก 213 ผลงาน ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 21- 23 มิ.ย.2566 ในหัวข้อเรื่อง “Smart Medical Sciences : Health for Wealth วิทยาศาสตร์การแพทย์ชาญฉลาด เพื่อสุขภาพที่ดีและเศรษฐกิจมั่งคั่ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ นำเสนอนวัตกรรม ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยและมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมทั้งในสถานที่และรับชม ผ่านการถ่ายทอดสดด้วยระบบออนไลน์ จำนวนกว่า 2,000 คน “โดยตลอด 3 วันที่ผ่านมา ผู้ร่วมงานได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่จากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ทั้งจากการบรรยาย การอภิปราย การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ตลอดจนการแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนางานในความรับผิดชอบ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันและ ประสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีคุณค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ด้าน ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ ประธานคณะกรรมการวิชาการ กล่าวว่า ในการจัดงานครั้งนี้ได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการทั่งแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ และมอบรางวัล ให้แก่ผู้วิจัยที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ โดยมีการนำเสนอผลงานวิชาการแบบการบรรยาย 38 เรื่อง และโปสเตอร์ 175 เรื่อง รวม 213 เรื่อง ผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัล มีดังนี้ สาขาที่ 1 : Current Research and Innovation on Diseases การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลชนะเลิศ การตรวจ NAT2 diplotyping ด้วยวิธี real-time PCR เสนอโดย ทิพย์รัตน์ โพธิพิทักษ์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลชนะเลิศ การศึกษาประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงไทยตั้งครรภ์ ด้วยวิธี NIPT เปรียบเทียบกับวิธี QT และประสิทธิภาพของวิธี NIPT ต่อการลดปริมาณหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องถูกวินิจฉัยโครโมโซมคู่ที่ 21 ด้วยวิธี Karyotyping เสนอโดย พรนภา คำพันธ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ และ รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาการตรวจหาแอนติบอดีที่ลบล้างฤทธิ์ไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี pseudovirus neutralizationtest เสนอโดย รุจิราพร พิทักษ์สาลี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาที่ 2 : Current Research and Innovation on Consumer Protection การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลชนะเลิศ การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารหนูอนินทรีย์ในสัตว์น้ำและสาหร่าย ด้วยเทคนิค HPLC-ICP-MS เสนอโดย กรรภิรมย์ เลิศบำรุงชัย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลรองชนะเลิศ การตรวจสอบเอกลักษณ์ของวัคซีนโควิด-19 โปรตีนซับยูนิตโดยวิธี Western blot เพื่อการ ขึ้นทะเบียนวัคซีน เสนอโดย พุธิตา โชคเหรียญสุขชัย สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลชนะเลิศ การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์และหาปริมาณกาแล็กโตซามีนและกลูโคซามีนในวัตถุดิบรังนก โดย GC-MS เสนอโดย สุวัฒน์ แก้วบุตรดี สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาขั้วไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดสารพิษมัสคารีนในตัวอย่างเห็ด ด้วยเทคนิคโวลแทมเมทรี เสนอโดย ชิดกมล ทูลคำรักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณสาร THC, 11-OH-THC, THC-COOH และ CBD ในพลาสมา ด้วยวิธีการสกัดแบบ SPE วิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี เสนอโดย อรณิชา สมบัติศรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลกสาขาที่ 3 : Risk Assessment and Health Threat Warning การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
รางวัลชนะเลิศ การศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลในการจำแนกชนิดพืชกัญชา เสนอโดย ศิริยาภรณ์ ธรรมชาติ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลรองชนะเลิศ คุณภาพฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันแคปซูลที่ผลิตโดยโรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 12 ประจำปี พ.ศ.2565 เสนอโดย ทัศนีย์ ปานผดุง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา , การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลชนะเลิศ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DMT 1 ในประชากรเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียม เสนอโดย สิทธิพร ปานเม่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลรองชนะเลิศ การตรวจวิเคราะห์กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกของผลิตภัณฑ์กะหรี่ปั๊บในจังหวัดสระบุรี ปี 2563 – 2565 เสนอโดย ธนภรณ์ ศิริแสง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต รางวัลรองชนะเลิศ การศึกษาสารอาหารและแร่ธาตุในรังนกนางแอ่นของประเทศไทย ปี 2564 – 2565 เสนอโดย คอรีเยาะ เวาะเละ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาที่ 4 : Medical Sciences for Strengthening Quality and Safety การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลชนะเลิศ การสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรและยกระดับผลิตภัณฑ์สุขภาพ SME/OTOP ภายใต้แผนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565 เสนอโดย กันยารัตน์ ชลสิทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันในเขตสุขภาพที่ 7 เสนอโดย นฤมล สีพั่ว ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น , การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลชนะเลิศ ผลของการใช้โปรแกรม Nongmamong Blood Glucose Meter IQC Online ในการบริหารจัดการระบบควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เสนอโดย สุพัตรา สุวรรณศิริ โรงพยาบาลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และ รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนารูปแบบการควบคุมคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียของคลินิกมาลาเรียในพื้นที่ ภาคตะวันออกของไทย เสนอโดย จันทร์พร จินา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image