สผ.ร่วม UNFCCC-เยอรมนี-สิงคโปร์ ขับเคลื่อน แก้ไขปัญหาโลกร้อน

สผ.ร่วม UNFCCC-เยอรมนี-สิงคโปร์ ขับเคลื่อน แก้ไขปัญหาโลกร้อน

วันที่ 28 มิถุนายน ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ  ​สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า สผ.ได้เร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและในระดับโลก โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้หารือการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานและภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ณ เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  มีสาระสำคัญของการหารือร่วมกับภาคี ดังนี้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ในการประชุม Steering Committee Meeting ร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (BMWK) และกระทรวงสิ่งแวดล้อม (BMUV) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อหารือการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ระดับโลกจนถึงระดับพื้นที่ พร้อมกับนำเสนอนโยบายรัฐบาล เป้าหมาย มาตรการสำคัญ ทิศทาง/ความก้าวหน้าการดำเนินงานในภาพรวมและรายสาขา รวมถึงโครงการที่ไทยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมันภายใต้ International Climate Initiative (IKI) ซึ่งอยู่ในช่วงของการวางกรอบการทำงานร่วมกัน

อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งรวมถึงพลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวฯ ในภาคเมือง การสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม และประเด็น/กิจกรรมที่ไทยต้องการได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนา/เพิ่มศักยภาพของบุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Advertisement

เลขาธิการสผ. กล่าวว่า และเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2566 การหารือกับ Mr. Simon Stiell UNFCCC Executive Secretary ในการเป็นเจ้าภาพร่วมกับ UNESCAP จัดการประชุมด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ ประเทศไทย ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดสรรเงินทุนสำหรับการรับมือกับความสูญเสียและความเสียหาย การประชุมรับฟังความเห็นของคณะกรรมการด้านการเงินเรื่อง Just Transition การประชุมคณะกรรมการด้านการเงิน โดยจะมีการหารือแนวทางขับเคลื่อนการจัดตั้งงบประมาณ/กองทุนสำหรับการดำเนินการด้านความสูญเสียและความเสียหาย การติดตามความก้าวหน้าในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อดำเนินการตามความตกลงปารีสโดยเฉพาะในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจรจาของภาคีในการประชุม COP28 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ช่วงธันวาคม 2566

Advertisement

ดร. พิรุณ กล่าวว่า และล่าสุด วันที่ 14 มิถุนายน 2566 การหารือทวิภาคีร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงพานิชย์และอุตสาหกรรม สาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับ Article 6 ของความตกลงปารีส อาทิ การพัฒนาตลาดคาร์บอนและระบบทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเพื่อพัฒนาข้อตกลงการดำเนินความร่วมมือในรายละเอียดต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image