หน.ผู้ตรวจทส.แจงเหตุ ทำไมป่าไม้ รู้ช้า จน ‘รีสอร์ตหน้าผา’สร้างเกือบเสร็จ

หน.ผู้ตรวจทส.แจงเหตุ ทำไมป่าไม้รู้ช้า จน’รีสอร์ตหน้าผา’สร้างเกือบเสร็จ

กรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีทส.สั่งนายนายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ทส. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับรีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ บริเวณผาหัวสิงห์ ท้องที่ ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยพบว่า รีสอร์ตแห่งนี้ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ1เอ และพื้นที่ป่าไม้ 2484 นั้น

อ่าน

ยึด-ให้รื้อทิ้ง 3 รีสอร์ต-บ้านพักตากอากาศ รุก ลุ่มน้ำ 1เอ ผาหัวสิงห์ ภูทับเบิก

Advertisement

วันที่ 27 กรกฎาคม นายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการทส. ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า หลายคนมีคำถาม และข้อข้องใจว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ อยู่อย่างไรถึงปล่อยให้ทางผู้ประกอบการสร้างรีสอร์ตดังกล่าว จนโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จจนเกือบจะเข้าไปอยู่ได้ นั้น เรื่องนี้ทางด้านผู้บริหารก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ดำเนินการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพื้นที่ ทั้งกรมป่าไม้ และกรมอุทยานฯได้ความว่า เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ค่อนข้างลึก การเดินทางเข้าไป ต้องผ่านพื้นที่ชาวบ้านหลายแปลงถึงจะเข้าไปถึง ประกอบกับบริเวณผาหัวสิงห์ที่น่าจะมองมาแล้วมองเห็นการสร้างรีสอร์ตแห่งนี้ เจ้าหน้าที่ ได้สร้างรั้วปิดกั้นเอาไว้ ไม่ให้ใครเข้าไปได้ เจ้าหน้าที่จึงได้ได้เข้าไปดู รวมทั้งเจ้าหน้าที่ให้การว่า คาดว่า การก่อสร้างทำในเวลากลางคืน เพราะช่วงกลางวัน ไม่เห็นการขนของเข้าพื้นที่ ทั้งนี้ ได้สอบเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในพื้นที่แล้ว เบื้องต้นยังไม่พบความบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่เป็นการสอบเบื้องต้นเท่านั้น ยังต้องสอบสวนเพิ่มเติม

“สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการขยายผลเพื่อหาตัวเจ้าของรีสอร์ตดังกล่าวมารับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น ได้สืบจากการขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า ได้รายชื่อมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ปักใจว่าจะเป็นเจ้าของที่แท้จริง อาจจะเป็นตัวแทน แต่มั่นใจว่าอีกไม่นานจะได้ตัวมาแน่นอน และเนื่องจากพื้นที่รีสอร์ตที่สร้างนั้นอยู่ในเขตป่าไม้ 2484 อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1เอ พื้นที่ลาดชันเกินกว่า 45 องศา การก่อสร้างทำให้เกิดทัศนะอุจจาด การดำเนินการต้องใช้คำสั่งพิเศษ คือ คำสั่ง คสช.35/2559เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถสั่งการรื้อถอนได้ทันที โดยผู้มีอำนาจในมาตรการนี้ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และเจ้าพนักงานป่าไม้”นายชีวะภาพ กล่าว

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image