สปสช.รับฟังความเห็น ‘ผู้ให้บริการ’ ยกระดับบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่

สปสช.รับฟังความเห็นž ‘ผู้ให้บริการž’ ยกระดับบัตรทอง ž30 บาท รักษาทุกที่ž

เพื่อให้ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) มีความยั่งยืน และตอบโจทย์สุขภาพได้ตรงตามความเป็นจริง ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงินสนับสนุนการจัดบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง รับฟังความคิดเห็นž อย่างรอบด้าน

โดยเฉพาะในกลุ่ม ผู้ให้บริการž ซึ่งหมายถึง หน่วยบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ ที่ต่างมีมุมมอง และเห็น Pain Point สำคัญในการยกระดับระบบหลักประกันฯ

Advertisement

2 เม.ย.2567 สปสช.จึงได้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการ ประเด็น (ร่าง) ประกาศการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

ภายใต้กระบวนการรับฟังความคิดเห็น สปสช.ได้เปิดพื้นที่กลางให้ผู้ให้บริการอภิปรายในประเด็น ระดมความเห็นพัฒนาการดำเนินงานและบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เพื่อประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืนŽ โดยมี ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. รับหน้าที่ดำเนินรายการด้วยตัวเอง

อัตราการจ่ายต้องสะท้อนความเป็นจริง

Advertisement

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ในฐานะเครือข่ายสถานพยาบาลสมาพันธ์ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้แทนจากโรงเรียนแพทย์-โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระบุว่า ในระยะ 10 ปี สปสช.ได้รับการปรับเพิ่มงบจากปี 2557 จำนวน 1.54 แสนล้านบาท เป็น 2.17 แสนล้านบาท ในปี 2567 หรือเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่งบเหมาจ่ายรายหัว เพิ่มขึ้นราว 20% มีการปรับเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ต่อเนื่อง หากมองในมุมผู้ให้บริการ พบว่ายังไม่มีการพูดถึงความเป็นธรรมต่อผู้ให้บริการที่ต้องรับภาระการให้บริการเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สถาบันทางการแพทย์ หรือโรงเรียนแพทย์บางแห่งต้องแบกรับต้นทุนดูแลผู้ใช้สิทธิบัตรทองสูงถึง 500-700 ล้านบาท โดย สปสช.จ่ายเงินตามค่าบริการที่กำหนด หากโรงเรียนแพทย์ทำเกินก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเอง ตรงนี้เหมือนระเบิดเวลาที่จะมีแต่ความเสียหายตามมา ฉะนั้น อยากให้ สปสช.พิจารณาต้นทุนการบริการที่สะท้อนความเป็นจริงทุก 3-5 ปี และเพื่อให้เป็นธรรมกับผู้ให้บริการ สปสช.จะต้องสนับสนุนการให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ทั้งการลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้หน่วยบริการไม่ต้องแบกรับเอง

นอกจากนี้ สปสช.ควรเปิดเผยยอดงบ หรือกรณีมีเงินเหลือว่ามีจำนวนเท่าใด และควรให้หน่วยบริการทราบถึงการบริหารจัดการงบกรณีมีเงินเหลือหรือได้รับเงินคืนด้วย

รพศ./รพท.ยื่น 7 ข้อเสนอปฏิรูประบบ

นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี ในฐานะประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (ชมรม รพศ./รพท.) อภิปรายโดยอ้างอิงจากมติที่ประชุมชมรม รพศ./รพท. 7 ข้อเสนอ 1.ให้ สปสช.คำนึงถึงต้นทุนค่าบริการในทุกบริการ 2.สิทธิประโยชน์ใหม่ที่เพิ่มเติม ต้องมีแหล่งเงินที่ชัดเจน 3.การประกาศอัตราที่จ่ายแล้ว ไม่อยากให้มีการปรับแก้กลางปี แต่หากปรับเพิ่มก็ยินดี 4.สัดส่วนกองทุนเฉพาะโรคต้องลดให้น้อยกว่า 5% จนกว่างบที่จ่ายจะไม่ต่ำกว่าต้นทุน 5.กรณีมีการให้บริการสูงกว่าเป้าหมาย ให้ สปสช. ร่วมรับความเสี่ยงกับหน่วยบริการด้วย

เพราะปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลหลายแห่งต้องเป็นหนี้จากการแบกรับการให้บริการมากกว่าเป้าสูงถึง 2,600 ล้านบาท 6.ให้ สปสช.ตระหนักว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลซื้อบริการสุขภาพให้ประชาชน ไม่ใช่องค์กรที่ซื้อข้อมูลการให้บริการเพื่อจ่ายค่าบริการ และ 7.สปสช.ควรปฏิรูปการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โดยกระจายอำนาจจาก สปสช.ส่วนกลางไปที่ สปสช.เขต มากขึ้น เพื่อตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนที่ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

“ในเรื่องต้นทุนการบริการ จากการศึกษาต้นทุนของโรงพยาบาลแต่ละระดับ เมื่อรวมค่าแรงแล้วในระยะ 5 ปี เฉลี่ย 13,142 บาท ต่อ AdjRW แต่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ประกันการจ่ายค่าบริการ 8,350 บาท ขณะที่กองทุนประกันสังคม ประกันการจ่าย 12,000 บาท ซึ่งแตกต่างกัน จึงอยากให้ สปสช.พิจารณา”Ž นพ.อนุกูลกล่าวและว่า นอกจากนี้ ภาระของคนทำงานคีย์ข้อมูล ขอส่งผ่านช่องทางเดียว คือ ระบบ Financial Data Hub เท่านั้น ขณะที่ในส่วนการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของชุดข้อมูล จะต้องเป็นกรณีที่จำเป็นจริงเท่านั้น

รพ.ชุมชนพึ่งพางบรายหัว หวั่นถูกหั่นหลังถ่ายโอน

นพ.ศุภโชค ก่อวิวัฒน์สกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ในฐานะรองประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) กล่าวว่า ในมุมของ รพช.ที่มีภารกิจเน้นส่งเสริมป้องกันโรค คัดกรอง และรักษาเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบระดับอำเภอนั้น ที่ผ่านมาพึ่งพางบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเป็นหลัก โดย รพช.ไม่ค่อยมีการรักษาผู้ป่วยใน จึงอยากให้ สปสช.พิจารณาเรื่องต้นทุนของผู้ป่วยนอก โดยให้สะท้อนผ่านงบเหมาจ่ายรายหัว เนื่องจากในอนาคตอาจมีการแบ่งค่าเหมาจ่ายรายหัวประชากรไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีการถ่ายโอน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการต้นทุนของ รพช.ได้

นอกจากนี้ ในมุมมองของ รพช.แล้ว บางเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น กองทุนการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ที่ รพช.และท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยกัน

อีกความเห็นจากตัวแทน รพช. นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย ในฐานะผู้แทนชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ให้ข้อคิดเห็นว่า ในอนาคตอยากให้ สปสช.หนุนเสริมงบ เพื่อให้เกิดการลงทุนทั้งอุปกรณ์ กำลังคน ฯลฯ เนื่องจากงบด้านการลงทุนที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีจำกัด อย่างไรก็ดี เป็นกำลังใจให้ สปสช. เพราะที่ผ่านมา ก็เข้ามาดูแลสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพให้กับประชาชนได้อย่างดี แต่อีกด้าน ก็ต้องหันมองผู้ให้บริการเพื่อให้อยู่ได้ ไม่ขาดทุน

รพ.สต.อยากเห็น สิทธิ ขรก.ž ร่วมจ่าย

นายสมศักดิ์ จึงตระกูล ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) แสดงความเห็นว่า ทุกวันนี้ทรัพยากรของ รพ.สต.มีจำกัด ซึ่งเป็นปัญหามายาวนาน รพ.สต.มีหน้าที่หลักดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิ ฉะนั้น อยากให้ สปสช.และ สธ.เสนอต่อรัฐบาลให้ตัดสินใจมีนโยบาย ร่วมจ่ายž จากประชาชนที่มีรายได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
กลุ่มข้าราชการในแต่ละพื้นที่ที่มาใช้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิ กลุ่มนี้เป็นคนที่มีศักยภาพ มีรายได้ที่มั่นคง หากมีหลักเกณฑ์ หรือมาตรการที่กระตุ้นให้สมทบเป็นรายเดือน ผมเชื่อว่ามันจะเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาเติมเต็มระบบสุขภาพ และเป็นอีกกำลังที่จะช่วยผู้ให้บริการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นŽ นายสมศักดิ์กล่าว

คลินิกเอกชนกรุงเทพฯหนุนคนมีรายได้ ร่วมจ่ายž

ว่าที่ ร.ต.หญิง รัชฎาภรณ์ ราชแผน ผู้แทนคลินิกเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ กล่าวว่า คลินิกเอกชนเห็นด้วยกับข้อเสนอให้ประชาชนที่มีรายได้ร่วมจ่ายค่าบริการ แต่อาจมาในรูปแบบการจัดสรรเงินเข้ากองทุนเฉพาะ หรือจ่ายตรงให้กับหน่วยบริการก็ได้ เชื่อว่าจะสร้างความมั่นคงในระยะยาวให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯได้

“ใน (ร่าง) ประกาศของ สปสช.มาตรา 46 ที่ระบุครอบคลุมค่าใช้จ่ายหน่วยบริการ และค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งระบุถึงหน่วยบริการของรัฐบาลอย่างเดียว แต่ไม่ได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของคลินิกเอกชนที่เสียสละมาดูแลประชาชน มาช่วยลดภาระโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ซึ่งแน่นอนว่าเราอยากได้เงินเหมือนกัน”Ž ว่าที่ ร.ต.หญิง รัชฎาภรณ์ กล่าวและว่า ในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของคลินิกเอกชน อยากให้ สปสช.จัดการ เพื่อให้คลินิกสามารถซื้อได้ในราคาเดียวกับโรงพยาบาล และให้ สปสช.สร้างเครือข่ายการบริการระหว่างโรงพยาบาล คลินิกเอกชน และหน่วยบริการสาธาณสุขวิถีใหม่ ที่เป็นนวัตกรรมการบริการรูปแบบใหม่ เช่น ร้านขายยา เป็นเส้นเลือดฝอยที่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้การบริการต่อประชาชนราบรื่น

ขณะที่ ทพ.อรรถพร ยืนยันว่า สปสช.จะรวบรวมทุกความคิดเห็นนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เพื่อให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไข ที่จะนำไปสู่การให้บริการประชาชนที่ดี มีคุณภาพ และกองทุนมีความยั่งยืน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image