เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 เขต เข้าร่วมการประชุมสภากรุงเทพมหานครสมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 2) ประจำปีพุทธศักราช 2567 โดยมี นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา หรือ ดร.จอห์น ส.ก.เขตลาดกระบัง เป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร
ในตอนหนึ่ง ดร.เมธาวี ธารดำรงค์ ส.ก.เขตปทุมวัน ยื่นญัตติเรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครเร่งสำรวจความมั่นคงแข็งแรงของต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร (เลื่อนจากการประชุมสภาฯ เมื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567)
กล่าวว่า วันนี้จะกล่าวถึง 2เรื่องด้วยกันดังนี้ 1. กทม. มีทั้ง 50 เขต ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก โดยเฉพาะเขตชั้นในเรามีต้นไม้ใหญ่ ในอดีตหากยังจำกันได้ว่า กทม. มีประชากรไม่เกิน 3 ล้านคน แต่ในขณะนี้มีจำนวน 5 ล้าน และผู้มาทำงานถึง 10 ล้านคนในปัจจุบัน
ซึ่งต้นไม้ใหญ่มีประโยชน์มากต่อมวลมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่ว่าในขณะเดียวกัน ต้นไม้ใหญ่ก็ยังมีอุปสรรค ต้นโตมีน้ำหนักเยอะ เพราะฉะนั้นการดำรงอยู่ของต้นไม้ใหญ่จะมีชีวิตที่ซับซ้อน ในความเป็นจริงต้องมี ‘รุกขกร’ หรือนักศัลยกรรมต้นไม้ใหญ่ เราต้องมองด้วยว่า ต้นไม้ใหญ่เขากลัวแมลงอะไร เขาต้องการแสงแดดขนาดไหน ในปี 2560 เราเกิดการสูญเสียต้นไม้ใหญ่ล้มไป มีผู้เสียชีวิต 1 ท่าน
เนื่องจากต้นไม้ใหญ่มีอายุเกินกว่า 50 ปี เรื่องของต้นไม่ใหญ่ต้องการคนมีความรู้จริงๆ โดยเฉพาะเขคชั้นใน กทม. จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เรื่องความปลอดภัย กทม. คนสำรวจต้นไม้ใหญ่ทั้งหมด ที่มีต้นไม้หมดอายุของมัน ควรเอาไม้อื่นมาทดแทน เราคงไม่ตัด เพราะยังมีองค์กรอนุรักษ์อื่นๆ คงไม่ให้ตัด เพราะต้นไม้ใหญ่ให้ความสวยงาม และร่มเงาต่างๆ
2. สภาพเกาะกลางถนนบริเวณใต้ทางเดินสดกายวอล์ค กทม.เป็นเมืองท่องเที่ยว ในเขตปทุมวันมีห้างสพรรสินค้าต่างๆจำนวนมาก ตั้งแต่ถนนราชประสงค์ ดิฉันเกรงว่าเกาะกลางถนนมีท่อ มีดินต่างๆ มากมาย สักวันถ้านักท่องเที่ยวเดินข้ามไม่ระวังเดินสะดุดล้มแน่ๆ เราควรจะดูแลโดยการปลูกต้นไม้ดังนี้
2.1. เราจะหาไม้ที่รับแสงแดดได้มาปลูกที่เกาะกลาง
2.2. ส่วนใต้ทางด่วน เราอาจจะหาต้นไม้ที่ไม่ต้องการแดดเข้าไป เพื่อให้เกิดความสวยงาม ช่วงใต้ทางด่วนสามย่าน มีต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น ดิฉันไม่อยากจะคิดว่า วันใดฝนตกหากรถผ่านไปตรงนั้นพอดี หวังว่าต้นไม้คงไม่ล้มลงมาใส่รถเรา
“อยากจะฝากหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาดูแลทำให้เกาะกลางของเรามีต้นไม้ประดับที่สวยงาม และดูแล้วสดชื่น อีกสิ่งหนึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว เราไม่อยากให้ชาวต่างชาติ เขามาเห็นแล้วเห็นต้นไม้แห้งแล้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ดิฉันเห็นต้นไม้มาถึง 2 ปีที่อาจจะไม่ได้การดูแล เราต้องทำเมืองให้สวยงาม ให้สอดคล้องกับปีการท่องเที่ยว ที่รัฐบาลกำลังจะโปรโมทเรื่องการท่องเที่ยวของ กทม.” ดร.เมธาวี กล่าว
ด้าน นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ส.ก. เขตมีนบุรี กล่าวเสริมว่า เข้าหน้าฝนทุกครั้งทุกคนก็กลัวเรื่องต้นไม้ล่ม วันนี้ขอเอ่ยถึง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ได้เดินทางไปเมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม นายชัชชาติได้ให้สัมภาษณ์ถึงไอเดีย การปลูกต้นไม้ทั้งในส่วนของสวนสาธารณะ และฟุตบาท รวมทั้งมีไอเดียที่จะปรับปรุงทางเท้าให้กับ กทม. สนับสนุนความคิดของท่านผู้ว่า
การตัดแต่งต้นไม้กับฟุตบาท กทม. เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมองไปที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศมีพายุจำนวนมาก เขาใช้ยางแทนกระเบี้องเพื่อที่จะช่วยการระบายน้ำ ผมอยากเห็นสวนสาธารณะที่เมืองประเทศญี่ปุ่นให้เกิดขึ้นที่บ้านเราสักหนึ่งเส้นได้หรือไม่ ต้นไม้มีส่วนช่วยเรื่อง PM2.5 ฝุ่นละออง เวลาบ้านเราตัดต้นไม้ เราตัดยอดไปเลย แต่บ้านเขาจะเป็นการตัดแต่งกิ่ง ให้กิ่งไม่ให้ลมมาปะทะให้ต้นไม้ล้ม
“หากเป็นไปได้ เราไปแลกเปลี่ยนความรู้ที่ต่างประเทศ ก็อยากให้มาปรับปรุงที่บ้านเรา โดยเฉพาะจากสำนักสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่ช่วยการต้นไม้ คือการไฟฟ้า เพราะเขาห่วงสายไฟฟ้า กลัวไฟดับเหตุอันเกิดจากต้นไม้ ชาวบ้านก็จะร้องขอตลอด หา กทม. มีการหารือกับหน่วยงานที่รับผิด ผมว่าหากเรานำต้นไม้ที่มาปลูกที่ฟุตบาทก็จะทำให้ กทม. น่าอยู่มากขึ้น”
ด้านนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง กล่าวเสริมร่วมด้วยว่า การดูแลต้นไม้มีความจำเป็นจริงๆ ช่วงนี้มีพายุแรง สิ่งที่คาดไม่ถึงคือการที่ต้นไม้ทับคน ทับรถ ร่วมไปถึงการเสียชีวิตสิ่งสำคัญที่สุด ประชาชนไม่รู้ว่าต้นอะไร กทม.น่าจะสำรวจว่าต้นไม้ว่าชื่ออะไรบ้าง ต้นไม้แต่ละชนิดมีความพิเศษของตนเอง เป็นยาบ้าง บางชนิดก็กำจัด Pm.2.5 เราประชาชนก็ชอบไปวิ่งเพื่อออกกำลังกาย นี่คือสิ่งที่ปประชาชนมีความต้องการให้ต้นไม้ใหญ่ๆ แข็งเรงอยู่นานๆ
ในประเทศญี่ปุ่น เขามีเหล็กดาม เพราะเขาให้ความสนใจกับต้นไม้ ไปตัดไม่ได้ กว่าจะโตขึ้นมาแต่ละต้น บางคนเห็นตั้งแต่เกิด 50-60 ปีก็มี หากเรามีการไปดูแลก่อนก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น เวลาไปเลื่อยต้นไม้ ก็แข็งมากตัดไม่ได้ หากว่าเขายังอยู่และไม่ล้ม ต้นไม้ก็ยังอยู่ให้ความร่วมลื่น เป็นร่มเงา บางต้นน่าเสียดายเป็นต้นไม้โบราณและโค่นลงมาเป็นสิ่งที่นาเสียดายอย่างยิ่ง
“กทม. ต้องเร่งสำรวจดูแลต้นไม้ตรงไหนที่สุ่มเสี่ยง และมีการค้ำยันอย่างไร ลม เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก หากเราไม่มีวิธีป้องกัน เราจะป้องกันลมไม่อยู่ บ้างครั้งบอกเหตุไป ก็ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือเช่นกัน การสำรวจเป็นเรื่องสำคัญทำให้ทรัพย์สินพี่น้องประชาชนยังคงอยู่”นายสุทธิชัย กล่าว
ด้านนายนภาพร จีระกุล ส.ก. บางกอกน้อย กล่าวว่า แนวทางในการป้องกันต้นไม้ขนาดใหญ่
“1.เพื่อป้องกันทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ทั้งรัฐและเอกชน ในบางพื้นที่เอกชนไม่สามารถไปตัดได้ เจ้าของไม่ได้สนใจ เขตไปพูดคุยก็ไม่สนใจ หากปล่อยไว้ ก็เกิดอันตราย เราจะสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาเบี้ยงต้นได้อย่างไร พื้นที่เอกชนหากเราไปตัดโดยไม่ยินยอม เราก็จะเสียทรัพย์
2. ตัดไม้ข้างถนนหนทาง เราต้องระวัง เราไปวิ่งเกิดดินอ่อน ต้นไม้ล้มจะเกิดปัญหา ตรงนี้เราต้องระวังต้องมีการค้ำยันจนมีรากที่สมบูรณ์ ควรประสานงานป้องกัน อยากให้พิจารณาต้นไม้เนื้อแข็ง ทรงสวยโตช้าที่จะให้เมืองของเราสวยงาม
3.สำนักงานเขต เรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัด ควรเตรียมให้เยออะๆ บางเขตมีเครื่องยนต์ 1 เครื่อง ตัดจนพังเขาต้องใช้มือเลื่อย และจะเลี่อยกี่วันเสร็จ ตนให้ฝ่ายรักษาความสะอาด ขอกรมป่าไม้ซื้อเลื่อยยนต์ ตนเอาเงินส่วนตัวซื้อให้ ตอนหลังเราได้มาเพราะซื้อรถกระเช้าแถมเลื่อยมาให้ อยากให้หน่วยงานไหนรวดเร็ว ต้องซื้ออุปกรณ์ให้เขาด้วย
4.โรคที่มากับฤดูการณ์ ไข้เลือดออก ต้องเตรียมตัวให้พร้อม” นายนภาพร กล่าว
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า เมืองกับต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่มีเมืองไหนดีได้ หากไม่มีต้นที่ไม่มีคุณภาพ
“1.กรณีไม้พุ่ม หน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรามีต้นไม้เต็มแล้วยาวไปถึงถนนพระราม 1 เรามีนโยบายถนนทุกเขตให้มีถนนต้นไม้สภาพดี อยากให้มีคุณภาพ
2.ต้นไม้ใหญ่ เรื่องต้นไม้หักโค่น กทม. ต้องชดใช้ การตัดต้นไม้มี 2 ส่วน กทม.ตัดเอง และการไฟฟ้าตัด เรามี MOU ด้วยกัน ส่วนเรื่อง รุกขกร เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อก่อนมีเพียง 1 ท่าน ตอนนี้เรามีอบรมมากขึ้นแล้ว” นายชัชชาติ กล่าว
ด้าน นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงว่า แนวทางที่ กทม ดำเนินการให้หน่วยงานสำรวจรักษาต้นไม้ สำนักสิ่งแวดล้อมได้มีหนังสือเวียน ถือปฏิบัติ 4 เรื่อง ดังนี้
1. หนังสือ ที่ กท 1106/6008 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2565 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษา การตัดแต่ง การล้อมย้าย หรือโค่นต้นไม้ กำชับให้สำนักงานเขตดูแลบำรงรักษา ตัดแต่ง ล้อมย้าย ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ และดำเนินการตามแนวกางปฏิบัติที่กำหนด เช่น แนวทางการแก้ขปัญหาเกียวกับการก่อสร้างใดๆ ที่ทำให้ต้นไม้เสียหายการขออนุญาตตัดต้นไม้ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูก ดูแล บำรุงรักษา ล้อมย้าย ตัดแต่ง หรือโค่นต้นไม้
จัดส่งเอกสารแนวกางการตัดแต่งต้นไม้ในเมืองใหญ่ ซึ่งสำนักสิ่งแวดล้อมใช้ประกอบการอบรมการตัดแต่งต้นไม้ในเมือง ให้กับสำนักงานเขต 50 เขต เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานเขตได้ทบทวนหลักวิชาการในการตัด
2. หนังสือ ที่ กท 1106/452 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตล้อมย้าย ตัดโค่นและการปลูกตัดแต่ง ดูแล บำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกันการขออนุญาตล้อมย้ายและตัดโค่นต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง จะต้องหาแนวทางป้องกันต้นไม้เดิมที่ปลูกไว้ หลีกเสี่ยงการตัดโค่น ล้อมย้าย แต่หากมีความจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน และรายงานผลการล้อมย้าย หรือตัดโค่นให้สำนักสิ่งแวดล้อมทราบ
การปฏิบัติการปลูก ดูแล บำรุงรักษา การตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกชนิดให้มีความเหมาะสม ดูแลบำรุงรักษาให้แข็งแรงอยู่เสมอ การตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ทุกครั้งต้องดำเนินการตามหลักรุกขกรรมและมีผู้ควบคุมงานตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ที่ผ่านการอบรมมาแล้ว
3. หนังสือ ที่ กท 1106/5370 ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2567 และหนังสือ ที่ กท 1106/ 5862 ลงวันที 19 มิ.ย. 2567 เรื่อง การสำรวจต้นไม้เชิงรุก และการจัดการความเสี่ยงอ้นตรายจากต้นไม้ โตยสำนักสิ่งแวดล้อมได้รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการจัดหารุกขกรมีออาชีพ ดูแลต้นไม้ประจำเขต เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2567 และปลัดกรุงเทพมหานครได้มอบหมายหน่วยงานดำเนินการ
4. การจัดทำ MOU ระหว่างกรุงเทพมหานครกับการไฟฟ้านครหลวงสำนักสิ่งแวดล้อมได้เวียนแจ้ง ‘ข้อตกลงความร่วมมือารตัตแต่งต้นไม้ตามแนวสายโฟฟ้า ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับการไฟฟ้านครหลวง’ ให้กับสำนัก และสำนักงานเขต 50 เขต ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2567
การอบรมเจ้าหน้าที่
1. การพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานครปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จัดอบรม 2 หลักสูตร รวม 210 คน
-หลักสูตรรุกขกรเบื้องต้น จัดอบรมให้กับข้าราชการ รกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน
-หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ขั้นต้น จัดอบรมให้กับลูกจ้างของกรุงเทพมหานครจำนวน 140 คน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จัดอบรม 3 หลักสูตร รวม 420 คน
-หลักสูตรรุกขกรเบื่องต้น จัดอบรมให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน
-หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ขั้นต้น จัดอบรมให้กับลูกจ้างของกรุงเทพมหานครจำนวน 140 คน
-หลักสูตรกระบวนการปฏิบัติงานด้านรุกขกรรม จัดอบรมให้กับข้าราชการ กทม. ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรรุกขกรเบื้องต้นมาแล้ว จำนวน 70 คน และลูกจ้างของ กรุงเทพมหานครที่ผ่านคารอบรมหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ขั้นต้นมาแล้ว จำนวน 140 คน รวมจำนวนผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ 210 คน
2. การจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของรุกขกรสำนักสิ่งแวดล้อม ดำเนินการจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ ให้กับสำนักงานเขต จำนวน 50 ชุด และสำนักงานสวนสาธารณะ จำนวน 5 ชุด โดย 1 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ จำนวน 19 รายการ
“เราให้ กทม. ได้สำรวจความแข็งแรงของต้นไม้ ไม่น้อยกว่า 135,000 ต้น ทาง กทม. ได้สำรวจไปแล้ว 78,000 ต้น สุดท้ายต้องมีการสำรวจให้ครบทุกต้นของ กทม. ในกรณีฝนตก มีพายุ สำนักสิ่งแวดล้อมจะมีโดยเร่งด้วย 24 ชม. เขาไปช่วยเหลือประชาชนและการให้ความรู้กับประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ในกรณีประชาชนอาจะเห็นต้นไม้ดังกล่าวมีสภาพไม่อยู่คงทน สามารถแจ้งสำนักเขตสิ่งแวดล้อมไปแก้ไขปัญหาได้” นายจักกพันธุ์ ชี้แจงทิ้งท้าย
โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับเรื่องดังกล่าว โดยจะเข้าสู้ขั้นตอนต่อไป