ศวส.เรียกร้องไทยปรับฉลากคำเตือน ‘น้ำเมา’ เหตุพบเสี่ยงมะเร็ง 7 ชนิด
วันที่ 17 มกราคม รศ.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปั ญหาสุรา (ศวส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา Dr.Vivek Murthy ประธานองค์กรสาธารณสุ ขระดับสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (US Surgeon General) ได้เรียกร้องให้มีการติ ดฉลากคำเตือนบนเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์ โดยระบุว่า แอลกอฮอล์คือปัจจัยเสี่ยงสำคั ญต่อโรคมะเร็ง 7 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย และมะเร็งกล่องเสียง ซึ่งตนเห็นด้วย และสนับสนุนให้ ไทยควรปรับปรุงฉลากคำเตือนให้ ครอบคลุมความเสี่ยงโรคมะเร็ งและผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่ อสุขภาพ และช่วยเพิ่มการรับรู้ ในหมู่ประชาชนได้อย่างมาก ขณะเดียวกัน ควรสนับสนุนการวิจัยเชิ งนโยบายเกี่ยวกั บผลกระทบของแอลกอฮอล์ เพื่อให้ข้อมูลที่ชั ดเจนในการสนับสนุ นการออกกฎหมายใหม่ และจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ ประชาชนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ แท้จริงของการบริโภคแอลกอฮอล์

“ปัจจุบันฉลากคำเตือนบนผลิตภั ณฑ์แอลกอฮอล์ในไทย มีข้อจำกั ดในด้านความชัดเจน ข้อความเตือนส่วนใหญ่ยังเน้นที่ ผลกระทบต่อการขับขี่หรือการตั้ งครรภ์ แต่ไม่ระบุข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ ยวกับความเสี่ยงด้านมะเร็ง การปรับปรุงฉลากควรให้ระบุข้อมู ลเชิงลึก เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ ยงต่อมะเร็งเต้านมและลำคอ รวมถึงการใช้กราฟิกวางในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชั ดเจนบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่ วมมือกัน ทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีขึ้ น และลดผลกระทบในระยะยาวจากแอลกอฮ อล์อย่างยั่งยืน” รศ.นพ.พลเทพ กล่าว

รองผู้อำนวยการ ศวส. กล่าวต่อว่า ไอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกในยุ โรปที่บังคับใช้ฉลากคำเตือนสุ ขภาพเกี่ยวกับมะเร็งบนผลิตภัณฑ์ แอลกอฮอล์ ระบุข้อความเตือนเด่นชัดว่า การดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงต่ อโรคมะเร็ง และยังมีมาตรการควบคุมเพิ่มเติม เช่น 1.การระบุปริมาณแอลกอฮอล์เป็ นหน่วยมาตรฐาน เพื่อช่วยให้ ประชาชนสามารถประเมินความเสี่ ยงจากการบริโภคได้ง่ายขึ้น 2.การบังคับให้ฉลากมีตำแหน่งที่ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ขนาดข้อความใหญ่ขึ้นและมีการใช้ ภาพประกอบ 3.การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกั บผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ความเสี่ยงต่อโรคหั วใจและหลอดเลือด 4.การกำหนดให้ฉลากมีขนาดใหญ่ขึ้ น และวางในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชั ดเจนบนบรรจุภัณฑ์

ด้าน รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) สงขลานคริ นทร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า สนับสนุนข้อเสนอของประธานองค์ กรสาธารณสุขระดับสูงสุดของสหรั ฐ ที่ให้ติดฉลากคำเตือนบนผลิตภั ณฑ์แอลกอฮอล์อย่างชัดเจนและทั นสมัยมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึ งความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการบริ โภคแอลกอฮอล์
“มาตรการนี้จะช่วยส่งเสริมสุ ขภาพประชาชน ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้ องเกี่ยวกับโทษของแอลกอฮอล์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ ยงสำคัญต่อโรคมะเร็ง เพิ่มภาระให้กับระบบสาธารณสุข และส่งผลต่อคุณภาพชีวิ ตของประชาชน เพราะผลกระทบของการดื่มสุราไม่ เพียงแต่ทำให้เมา ขาดสติ ก่อการทะเลาะวิวาท หรืออุบัติเหตุในระยะสั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ หัวใจในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ผู้ป่ วยเข้าสู่ภาวะวิกฤตได้ง่ายขึ้น” รศ.นพ.รังสรรค์ กล่าวว่า รพ.สงขลานครินทร์ มุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความรู้ ทางการแพทย์ และส่งเสริมพฤติ กรรมสุขภาพที่ดีในสังคม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิ ดโรคร้ายแรงและสร้างชุมชนสุ ขภาพดีอย่างยั่งยืน

ขณะที่ ศ.นพ.วรวิทย์ จิตติถาวร หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.กล่าวว่า ในฐานะศัลยแพทย์ พบผู้ป่วยที่ได้รั บผลกระทบจากการดื่มสุราในหลายมิ ติ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้อง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ ฯลฯ ซึ่งมักมาพบแพทย์ในระยะลุ กลามจนยากต่อการรักษา ประชากรในภาคใต้ รวมทั้งในภาคอื่ นๆ ของประเทศไทย ยังขาดความเข้ าใจในความเสี่ยงนี้