ป.ป.ส. นำทัพสื่อลงพื้นที่ 3 ค่ายบำบัด สร้างพลังชุมชนเข้มแข็ง คืนคนคุณภาพสู่สังคม

ป.ป.ส. นำทัพสื่อลงพื้นที่บำบัด ร่วมสร้างพลังชุมชนเข้มแข็ง คืนคนคุณภาพสู่สังคม

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)  นำโดย น.ส.อารีภักดิ์ เงินบำรุง รองเลขาธิการ ป.ป.ส. นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ, นายนิพนธ์ คนขยัน ส.ส.บึงกาฬ พรรคเพื่อไทย, นพ.ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ, นายวุฒิชัย ชัยภูวนารถ นายอำเภอปากคาด, พ.จ.อ.โสภณ สิทธิจันทร์ นายอำเภอโซ่พิสัย, นพ.ตฤณกฤต สิทธิศร นพ.ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรเจริญ, นายมนตรี จารุธำรง นายอำเภอพรเจริญ, พ.ต.อ.ศิวัช วรคุตตานนท์ ผู้กับการสถานีตำรวจภูธรปากคาด นพ.จรูญ สุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากคาด, นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ, นายภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ หมอแล็บแพนด้า, นายพงษ์พันธ์ วิจารย์ประสิทธิ์ เจ้าของเพจคุณพระ พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ส. และคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 27 -28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เพื่อเป็นการสนับสนุนงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์การสร้างการรับรู้ การดำเนินงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล และสำนักงาน ป.ป.ส. รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์สื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องอันจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงาน รวมไปถึงนโยบายต่าง ๆ ไปสู่ประชาชน โดยมีเป้าหมายให้เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดผ่านการศึกษาดูงานการบำบัด และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดมากที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ADVERTISMENT

โดยในปี 2567 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เข้ารับการบำบัดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าปี 2566 และหากเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดทั้งประเทศในปี 2567 จะมีปริมาณมากกว่าภาคอื่น ๆ เมื่อเทียบจากจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดทั้งหมดในประเทศ จึงถือว่าเป็นพื้นที่สำคัญที่ควรมีการเฝ้าระวัง ติดตามและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยมีการลงพื้นที่บำบัด และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่

  • พื้นที่อำเภอปากคาด โดยศึกษาดูงานค่ายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นค่ายฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดจำนวน 120 วัน ประกอบด้วยผู้บำบัดชายล้วน จำนวน 40 คน โดยมีกระบวนการบำบัด
      • 2 เดือนแรก จะเน้นไปที่การฟื้นฟูสมอง โดยการให้ความรู้กึ่งวิชาการ จากทำกิจกรรมฟื้นฟูสมอง เช่น กิจกรรมสันทนาการ นันทนาการ
      • 2 เดือนหลังจะเป็นการฝึกอาชีพ เช่น ซ่อมเครื่องยนต์ ทำพรมเช็ดเท้า อาหารแปรรูป เป็นต้น

โดยค่ายดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเป็นสถานที่บำบัดฟื้นฟูยาเสพติดที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาภายในชุมชนที่มีผู้เสพผู้ติดเป็นจำนวนมาก โดยเน้น การเข้ารับการบัดบัดโดยสมัครใจ และการผลักดันจากคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันสร้างปลอดภัยโดยกิจกรรมการจะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างพลังชุมชนเข้มแข็งคืนคนคุณภาพสู่สังคม

ADVERTISMENT

ป.ป.ส.

  • พื้นที่อำเภอพรเจริญ โดยมีการศึกษาดูงานในโรงพยาบาลพรเจริญ ซึ่งเป็นการศึกษาบำบัดผู้ติดยาเสพติดขั้นรุนแรง ปัจจุบันมีจำนวน 7 คน ต้องดูแลใกล้ชิด และมีการรักษาโดยการให้ยา มีระยะเวลา 14 วัน และมีการสาธิตการทำครอบครัวบำบัด เนื่องจากเป็นผู้ป่วยขั้นรุนแรงที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่สามารอยู่ร่วมกับชุมชนได้ จึงต้องการการรักษาในโรงพยาบาล และเมื่ออาการดีขึ้นก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีครอบครัวที่คอยดูแลอย่างถูกวิธีจึงเกิดการทำครอบครัวบำบัดขึ้น เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างปลอดภัย

รวมถึงมีการศึกษาดูงานจากค่ายบ้านเจริญสุข กองร้อยอาสารักษาดินแดน เป็นจุดต่อเนื่องจากโรงพยาบาลพรเจริญ ซึ่งเป็นค่ายฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 120 วัน ประกอบด้วยผู้บำบัดชายล้วนจำนวน 41 คน ซึ่งผ่ากระบวนการบำบัดการฟื้นฟูสมอง โดยการให้ความรู้ และการทำกิจกรรมฟื้นฟูสมอง เช่น การวาดภาพ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย และภายหลังเป็นการฝึกอาชีพ เช่น ช่างปูน ซ่อมเครื่องยนต์ ปลูกพืช เลี้ยงปลา เป็นต้น เพื่อนำผู้เสพผู้ติดที่มีอาการดีขึ้นจากอาการป่วยขั้นรุนแรงที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมอง และการฝึกอาชีพเพื่อคืนคนคุณภาพสู่สังคมต่อไป

  • พื้นที่อำเภอโซ่พิสัย ผ่านการศึกษาดูงานกองร้อย อส.อำเภอโซ่พิสัย ซึ่งเป็นค่ายฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วยผู้บำบัดชาย 196 คน ผู้บำบัดหญิง 30 คน โดยมีกระบวนการบำบัด 3 ระบบ คือ การล้างพิษโดยการใช้ยาจากจิตแพทย์ การเข้าค่ายมินิธัญญารักษ์ และการเข้าค่ายฟื้นฟู 120 วัน ซึ่งมีทั้งการฟื้นฟูสมอง และการฝึกอาชีพ เพื่อลดโอกาสการกลับไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน

น.ส.อารีภักดิ์ เงินบำรุง รองเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ จะเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้นโยบาย การแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดีของทุกภาคส่วน และนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งมีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน เพื่อพัฒนากระบวนการรักษา ตลอดจนการบำบัดรักษาผุ้เสพผู้ติดยาเสพติดการฝึกอาชีพ การศึกษา และการฟื้นฟูสภาพทางสังคม ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง และผู้เข้ารับการบำบัด

รวมทั้งมีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้กลับไปสู่วงจรยาเสพติดอีกครั้ง เพราะผู้เสพ คือ ผู้ที่ก้าวพลาดที่เราทุกคนพร้อมจะหยิบยื่นโอกาสให้ร่วมกันสร้าง “พลังชุมชนเข้มแข็ง คืนคนมีคุณภาพสู่สังคม

“ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวนมาก และได้รับคำชื่นชมว่ามีผลงานการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดได้ผลมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากจังหวัดปทุมธานี”

“การลงทุนในการบำบัดรักษายาเสพติดนั้นคุ้มค่าหรือไม่ที่นี้จะเป็นที่ที่ทำให้เห็นว่ามีความคุ้มค่าอย่างไร เพราะที่นี่เป็นสถานบำบัดที่มีการจัดระบบบริการผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนแบบครบวงจร โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืนและเป็นศูนย์นาคาล้อมรักษ์โมเดล แห่งแรกของประเทศถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงานบำบัดรักษายาเสพติด ระดับประเทศ” น.ส.อารีภักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ยังคงมีเงินสนับสนุนในการประกอบอาชีพสำหรับผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดแล้ว เพื่อตัดวงจรการกลับเข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะ ผู้เสพ คือ ผู้ที่ก้าวพลาดที่เราทุกคนพร้อมจะหยิบยื่นโอกาสให้ร่วมกันสร้าง “พลังชุมชนเข้มแข็ง คืนคนมีคุณภาพสู่สังคม”

ป.ป.ส.

ป.ป.ส.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image