ย้อนอดีต!! สภากทม.เคยตีตกงบประเมินแผ่นดินไหวตึกสูง ชี้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง สก.เนอสยันเสนอใหม่ปีหน้า

ย้อนอดีต!! เผยสภากทม.เคยตีตก งบประเมินแผ่นดินไหวตึกสูง ชี้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง

ส.ก.เนอร์ส เคยเสนอสภากทม.จ้างที่ปรึกษาเฉพาะด้านแผ่นดินไหว-ซื้อเครื่องมือตรวจสอบอาคารเสี่ยง 9ล้าน แต่โดนตีตก อ้าง กรุงเทพไม่ใช่พื้นที่เสี่ยง เมื่อเทียบกับเชียงราย-เมืองกาญจน์

ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความรุนแรง 8.2 ริกเตอร์ ส่งผลมาถึงประเทศไทย มีตึกร้าวหลายที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้โครงสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ถล่มลงมาทั้งตึก มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงยังสูญหาย จำนวนมากนั้น

มติชน ออนไลน์ ได้ค้นย้อนหลัง ไปเมื่อคราวที่มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567

ADVERTISMENT

โดย น.ส.ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ พรรคประชาชน ได้อภิปราย ‘แผนงานอาคารและการก่อสร้าง ผลผลิตควบคุมอาคารและการก่อสร้าง งบรายจ่ายอื่น ค่าจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร’ มูลค่าโครงการ 9 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) อนุมัติงบประมาณ โดยระบุว่า โครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อประเมินโครงการอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งภายในโครงการจะมีการติดตั้งชุดเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดรายงานประเมินกำลังต้านทางแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงในสังกัด กทม. ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2565 ขณะเดียวกัน ยังให้มีการจัดทำรายงานการตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนของพื้นอาคารสูงในสังกัด กทม. ในรูปแบบของความเร่งและแสดงค่าระดับความเร่งของพื้นแต่ละทิศทาง รวมถึงระบบแสดงค่าความสูงสุดของพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ในรูปแบบของระบบออนไลน์ โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที

ADVERTISMENT

น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจจะคิดว่า การจ้างที่ปรึกษานั้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเป็นที่มาของการทุจริต แต่สำหรับเรื่องนี้อยากให้พิจารณาจากความเป็นจริง และความจำเป็น เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ได้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพได้รับผลกระทบ บางที่ถึงกับต้องหยุดทำงานหลายวันเพื่อรอตรวจให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยสามารถขึ้นไปทำงานได้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีประกาศของกระทรวงมหาดไทยปี 2550 และ ฉบับใหม่ปี 2564 บังคับให้ตึกที่สร้างหลังจากปี 2550 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 นั้น กรุงเทพ มีอาคารสูง ที่สร้างตามเกณฑ์บังคับเพียง 3,028 อาคารเท่านั้น ขณะที่มีอาคารเก่าที่ไม่รองรับถึง 10,386 อาคาร

น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ดำเนินการก่อน ได้แก่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง, อาคาร 72 พรรษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน, อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน, อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และอาคารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยืนยันว่า งบประมาณ 9 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่งบผูกพัน แลเครื่องมือที่นำไปใช้นั้นสามารถใช้ได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2568 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวในที่ประชุมสภาฯ กทม. โดยระบุว่ากรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงการนี้ ออกทั้งรายการ เพราะเห็นว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ เช่น เชียงราย หรือกาญจนบุรี ที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสำคัญ

โดยล่าสุด น.ส.ภัทราภรณ์ ให้สัมภาษณ์ ว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ผู้ว่ากทม.เสนอเข้ามา ซึ่งทางพรรคเห็นว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ จึงพยายามผลักดัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ คิดว่า การพิจารณา งบประมาณของกทม.ในปี 2569 ซึ่งจะประชุมในเดือนกรกฎาคม นี้ โครงการนี้จะถูกเสนอเข้ามาอีก และงบประมาณน่าจะมากกว่า 9 ล้านบาท ซึ่งจะมีการติดตั้งเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวครบทุกโรงพยาบาลที่สังกัดกทม.คือ 11 โรงพยาบาล

“ล่าสุดนี้ ทางกทม.ได้ใช้งบกลาง นำเครื่องมือดังกล่าวไปติดตั้งเพื่อวัดความสั่นสะเทือน ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ก็พบว่า อาคารมีความปลอดภัยดีแล้ว ทั้งนี้วันที่ 2 เมษายน นี้สภากทมเปิดประชุม ก็จะมีการเอาเรื่องนี้มาพูดคุยด้วย”น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าว

ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความรุนแรง 8.2 ริกเตอร์ ส่งผลมาถึงประเทศไทย มีตึกร้าวหลายที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้โครงสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ถล่มลงมาทั้งตึก มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงยังสูญหาย จำนวนมากนั้น

มติชน ออนไลน์ ได้ค้นย้อนหลัง ไปเมื่อคราวที่มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567

โดย น.ส.ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ พรรคประชาชน ได้อภิปราย ‘แผนงานอาคารและการก่อสร้าง ผลผลิตควบคุมอาคารและการก่อสร้าง งบรายจ่ายอื่น ค่าจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร’ มูลค่าโครงการ 9 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) อนุมัติงบประมาณ โดยระบุว่า โครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อประเมินโครงการอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งภายในโครงการจะมีการติดตั้งชุดเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดรายงานประเมินกำลังต้านทางแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงในสังกัด กทม. ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2565 ขณะเดียวกัน ยังให้มีการจัดทำรายงานการตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนของพื้นอาคารสูงในสังกัด กทม. ในรูปแบบของความเร่งและแสดงค่าระดับความเร่งของพื้นแต่ละทิศทาง รวมถึงระบบแสดงค่าความสูงสุดของพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ในรูปแบบของระบบออนไลน์ โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที

น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจจะคิดว่า การจ้างที่ปรึกษานั้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเป็นที่มาของการทุจริต แต่สำหรับเรื่องนี้อยากให้พิจารณาจากความเป็นจริง และความจำเป็น เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ได้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพได้รับผลกระทบ บางที่ถึงกับต้องหยุดทำงานหลายวันเพื่อรอตรวจให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยสามารถขึ้นไปทำงานได้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีประกาศของกระทรวงมหาดไทยปี 2550 และ ฉบับใหม่ปี 2564 บังคับให้ตึกที่สร้างหลังจากปี 2550 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 นั้น กรุงเทพ มีอาคารสูง ที่สร้างตามเกณฑ์บังคับเพียง 3,028 อาคารเท่านั้น ขณะที่มีอาคารเก่าที่ไม่รองรับถึง 10,386 อาคาร

น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ดำเนินการก่อน ได้แก่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง, อาคาร 72 พรรษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน, อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน, อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และอาคารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยืนยันว่า งบประมาณ 9 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่งบผูกพัน แลเครื่องมือที่นำไปใช้นั้นสามารถใช้ได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2568 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวในที่ประชุมสภาฯ กทม. โดยระบุว่ากรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงการนี้ ออกทั้งรายการ เพราะเห็นว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ เช่น เชียงราย หรือกาญจนบุรี ที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสำคัญ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image