อธิบดีทช.สั่ง หาตัวนักท่องเที่ยวว่ายน้ำเกาะแกะฉลามวาฬ มาปรับทัศนคติชี้คุกคามสัตว์!!(ชมคลิป)

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายเพชร มโนปวิตร รองหัวหน้ากลุ่มงานอนุรักษ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ไอยูซีเอ็น) เปิดเผยว่า ได้รับคลิปวิดีโอ จากกลุ่มคนหาปลา ภาพดังกล่าวถูกระบุว่า อยู่บริเวณ อ่าวพระนาง ไม่ไกลจากเกาะยาว จ.พังงา ซึ่งระยะหลังพื้นที่นี้ มีการพบเห็นฉลามวาฬค่อนข้างบ่อย รวมถึงทะเลรอบๆ คือ ที่เกาะห้อง ในอ่าวพังงาด้วย ในภาพ ฉลามวาฬกำลังว่ายน้ำอยู่ และมีเรือท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณนั้น 4 คน ได้ว่ายน้ำเข้าไปหาฉลามวาฬตัวดังกล่าว และพยายามเข้าไปแตะตัว ขึ้นขี่หลัง โดยไม่หวาดกลัวใดๆอยู่พักใหญ่

“ผมเข้าใจว่า แม้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อาจไม่ได้มีเจตนาทำร้ายฉลามวาฬ แต่การสัมผัสตัวฉลามก็นับเป็นการคุกคามอย่างหนึ่ง และอาจนำเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ฉลามวาฬ ซึ่งทำให้เกิดติดเชื้อหรือป่วยได้ฉลามวาฬเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น เพิ่งจะถูกปรับให้มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในระดับโลกตามการประเมินของ IUCN Red List of Threatened Species และในฐานะที่ฉลามวาฬเป็นสัตว์คุ้มครอง การเข้าไปพยายามติดตาม แตะเนื้อต้องตัวขนาดนี้ถือเป็นการคุกคามอย่างหนึ่ง”นายเพชร กล่าว

นายเพชร กล่าวว่า การได้พบเห็นฉลามวาฬในธรรมชาติเป็นประสบการณ์พิเศษสุด เพราะความหายาก และความที่มีขนาดใหญ่น่าอัศจรรย์ ฉลามวาฬจึงกลายเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ และสร้างรายได้มหาศาลให้กับแหล่งธรรมชาติที่มีฉลามวาฬไปเยี่ยมเยือน โดยในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานับเป็นเรื่องน่าดีใจที่ฉลามวาฬกลับมาให้พบเห็นได้บ่อยครั้งมากขึ้น หลังจากที่หายไปจากท้องทะเลไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจลืมไปว่า ฉลามวาฬเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และว่าที่สัตว์ป่าสงวนของประเทศ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองสูงสุด รวมไปถึงห้ามรบกวน หรือคุกคามในทุกๆทาง

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า ดูคลิปแล้ว รู้สึกไม่ค่อยดีนักแม้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อาจไม่ได้มีเจตนาทำร้ายฉลามวาฬ แต่การสัมผัสตัวฉลามก็นับเป็นการคุกคามอย่างหนึ่ง และอาจนำเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ฉลามวาฬ ซึ่งทำให้เกิดติดเชื้อหรือป่วยได้

Advertisement

“กรณีที่พบเห็นฉลามวาฬ หรือสัตว์ทะเลตัวอื่นๆขอแนะนำว่าให้ลดความเร็วเรือไม่เกิน 2 น็อต และไม่นำเรือเข้าใกล้ฉลามวาฬเกิน 20 เมตร ไม่สร้างความเครียดให้ฉลามวาฬ ลดเสียงให้เบา เข้าชมทีละลำ เมื่อปลาไม่เครียด หรือตกใจก็จะว่ายวนในบริเวณนั้นนานขึ้น ไม่สัมผัสตัวสัตว์อย่างเด็ดขาด เพราะปลาอาจบาดเจ็บและได้รับเชื้อแปลกปลอม ไม่คุกคาม ไม่ขวางทาง ว่ายดูช้าๆ และอย่าว่ายเข้าไปใกล้เกินไป ถ้าปลาว่ายเข้ามาใกล้ๆ ให้รักษาระยะห่างอย่างน้อย 3-4 เมตร หากมีกล้องถ่ายภาพ สามารถช่วยบันทึกภาพด้านข้างลำตัวเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยได้ เพราะลวดลายและจุดบนตัวของฉลามวาฬสามารถระบุอัตลักษณ์ และช่วยประเมินจำนวนประชากรของฉลามวาฬในประเทศไทยได้ หากพบการคุกคามฉลามวาฬ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ทช.021411331 หรือ 086-3558585″นายจตุพร กล่าว

อธิบดีทช. กล่าวว่า กรณีนี้ ได้สั่งการทุกพื้นที่ที่ ทช.ดูแลแล้วให้ตรวจสอบว่าเหตุเกิดในพื้นที่ไหน ให้เจ้าหน้าที่พื้นที่นั้นไปลงบันทึกประจำวันเอาไว้ หาตัวคนที่อยู่ในเหตุการณ์ และนำตัวไปพูดคุยปรับทัศนะคติ เพราะหากปล่อยเอาไว้จะเป็นการเอาแบบอย่างกับนักท่องเที่ยวรายอื่นๆได้

 

Advertisement

Poor whale shark

ข้อ (ไม่) ควรปฏิบัติเมื่อพบเห็นฉลามวาฬฉลามวาฬเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น เพิ่งจะถูกปรับให้มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในระดับโลกตามการประเมินของ IUCN Red List of Threatened Species เมื่อปีที่แล้ว การได้พบเห็นฉลามวาฬในธรรมชาติเป็นประสบการณ์พิเศษสุด เพราะความหายาก และความที่มีขนาดใหญ่น่าอัศจรรย์ ฉลามวาฬจึงกลายเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ และสร้างรายได้มหาศาลให้กับแหล่งธรรมชาติที่มีฉลามวาฬไปเยี่ยมเยือนในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานับเป็นเรื่องน่าดีใจที่ฉลามวาฬกลับมาให้พบเห็นได้บ่อยครั้งมากขึ้น หลังจากที่หายไปจากท้องทะเลไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจลืมไปว่า ฉลามวาฬเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และว่าที่สัตว์ป่าสงวนของประเทศ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองสูงสุด รวมไปถึงห้ามรบกวน หรือคุกคามในทุกๆทาง วิดีโอนี้ ถูกบันทึกและเผยแพร่ลงในโซเชียลมีเดีย กลุ่มคนหาปลา โดยระบุว่าพบอยู่บริเวณ อ่าวพระนาง ไม่ไกลจากเกาะยาว จังหวัดพังงา ซึ่งระยะหลังมีการพบเห็นฉลามวาฬค่อนข้างบ่อยในบริเวณนี้ รวมถึงทะเลรอบๆ เกาะห้อง ในอ่าวพังงา แม้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อาจไม่ได้มีเจตนาทำร้ายฉลามวาฬ แต่การสัมผัสตัวฉลามก็นับเป็นการคุกคามอย่างหนึ่ง และอาจนำเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ฉลามวาฬ ซึ่งทำให้เกิดติดเชื้อหรือป่วยได้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีข้อแนะนำเมื่อพบเห็นฉลามวาฬดังนี้ >> ลดความเร็วเรือไม่เกิน 2 น็อต และไม่นำเรือเข้าใกล้ฉลามวาฬเกิน 20 เมตร >>ไม่สร้างความเครียดให้ฉลามวาฬ ลดเสียงให้เบา >>เข้าชมทีละลำ เมื่อปลาไม่เครียด หรือตกใจก็จะว่ายวนในบริเวณนั้นนานขึ้น>> ไม่สัมผัสตัวสัตว์อย่างเด็ดขาด เพราะปลาอาจบาดเจ็บและได้รับเชื้อแปลกปลอม>> ไม่คุกคาม ไม่ขวางทาง ว่ายดูช้าๆ และอย่าว่ายเข้าไปใกล้เกินไป ถ้าปลาว่ายเข้ามาใกล้ๆ ให้รักษาระยะห่างอย่างน้อย 3-4 เมตร>> หากมีกล้องถ่ายภาพ สามารถช่วยบันทึกภาพด้านข้างลำตัวเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยได้ เพราะลวดลายและจุดบนตัวของฉลามวาฬสามารถระบุอัตลักษณ์ และช่วยประเมินจำนวนประชากรของฉลามวาฬในประเทศไทยได้หากพบการคุกคามฉลามวาฬ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 021411331 หรือ 0863558585 หรือ ในช่องทางโซเชียลมีเดีย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วยกันดูแลสัตว์ทะเลหายาก เพื่อให้เขาได้อยู่กับเราไปนานๆ

โพสต์โดย Sunshine Sketcher บน 1 กุมภาพันธ์ 2018

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image