อธิบดี ทช. ลงพื้นที่รับฟังความเห็นก่อนประกาศมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทะเล 3 เกาะ

อธิบดี ทช. ลงพื้นที่รับฟังความเห็นก่อนประกาศมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3 เกาะของสุราษฎร์ธานี

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเวทีเสวนาการเตรียมประกาศมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่เกาะเต่า เกาะพงัน และเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายโสภณ ทองดี รองอธิบดี ทช.พร้อมด้วยนายอภิชัย เอกวนากุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สุราษฎร์ธานี) ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประชาชนในพื้นที่ ร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม เพชรสมุย เทศบาลเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กล่าวว่า การเติบโตของการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้ง 3 เกาะ มีความเจริญเติบโตทางการท่องเที่ยวขึ้นอย่างต่อเนื่องมิได้หยุดชะงัก ซึ่งแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกต่างเดินทางหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องปีละหลายแสนคน มีรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาทหรือเกือบหนึ่งแสนล้านบาท แต่ก็ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นปัญหาขยะสะสมอยู่บนเกาะสมุยและบนเกาะเต่าก็จำนวนมากเช่นเดียวกันที่ยังรอคอยการแก้ไข นอกจากนั้นปัญหาน้ำเสียจากโรงแรม บังกะโล และบ้านเรือนของราษฎรได้ไหลลงสู่ทะเล ส่งผลสัตว์น้ำเกือบทุกชนิดต่างลดหายไป ปะการังน้ำตื้นได้รับผลกระทบเสียหายจากภัยธรรมชาติและกิจกรรมการท่องเที่ยวเช่นการเล่นเรือ การจอดเรือใกล้แนวปะการัง การขุดร่องน้ำบริเวณแนวปะการัง รวมทั้งการทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง แม้แต่การเหยียบย่ำและตีนกบของนักท่องเที่ยวก็ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรปะการังนอกจากนั้นการพัฒนาชายฝั่งก็ทำให้ตะกอนไหลลงสู่ทะเลทับถมแนวปะการัง จนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมและตายไปในที่สุด พื้นที่ป่าไม้ก็เช่นกันมีการบุกรุกครอบครองส่งผลกระทบต่อแหล่งต้นน้ำลำธารหรือป่าไม้โซนเอ ในฤดูแล้งน้ำจืดทั้ง 3 เกาะไม่เพียงพอต่อความต้องการ พื้นที่ป่าชายเลนและพื้นที่ชายหาดก็ยังคงถูกบุกรุกครอบครองอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำงานกันอย่างเต็มที่ก็ตาม

“ทช.จึงกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาหรือออกมาตรการคุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งทั้ง 3 เกาะตามนโยบายของ คณะ คสช.และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 3 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ประกอบมาตรา32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2545 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่เกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประกอบด้วย 1.ห้ามจอดเรือโดยการทิ้งสมอในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง
2.ห้ามค้นหา จับ ดัก ล่อ เก็บ ฆ่า ทำลาย สัตว์น้ำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง ซากปะการัง หินปะหารัง และหญ้าทะเล 3.ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำ ที่อาจเป็นอันตรายต่อ เต่าทะเล โลมา วาฬ ปลาฉลามวาฬ หรือสัตว์ทะเลหายาก

Advertisement

4.ห้ามกระทำการก่อสร้าง ยึดถือ ครอบครอง หรือกระทำการใดๆอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยกเว้นโครงการของรัฐ ด้านสาธารณูปโภค 5.ห้ามเท ทิ้ง ระบาย ทิ้งขยะมูลฝอย พลาสติก หรือโฟม สิ่งปฎิกูลของเสีย น้ำเสีย สารแขวนลอย คราบน้ำมัน สารปนเปื้อนจากการเดินเรือ การจอดเรือ การขนถ่าย หรือสิ่งอื่นใด ที่ก่อให้เกิดมลพิษ รวมทั้งน้ำเสียจากโรงแรม อาคารที่พักอาศัย ห้องพักรวมทั้งสถานประกอบการอื่นๆ ลงทะเล 6.บุคคลหรือผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำตื้น จะต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

7.ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำลึก ต้องได่รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขและหลักการของสถาบันการเรียนดำน้ำสากล ห้ามกระทำการใดๆ ที่มีผลต่อสภาพพื้นทะเลในบริเวณที่มีแหล่งแนวปะการัง หญ้าทะเล หินปะการัง และกองหินใต้ทะเล เช่น กิจกรรมเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล (sea walker) 8.ห้ามกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรณีสัญฐานหรือสภาพทางธรรมชาติของชายหาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือทำให้ทัศนียภาพบริเวณชายหาดเสียไป
10.ห้ามขุด ถม ตัก เป่า ดูด หรือกระทำวิธีการใดๆต่อ กรวด หิน ดิน ทราย หรือลูกรังที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

11. การดำเนินกิจกรรมเครื่องเล่นกีฬาทางน้ำ ประเภทเรือสกูตเตอร์ เจ็ทสกี ควอดสกี หรือกิจกรรมอื่นใดที่ใช้เรือลากทุกชนิด ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เว้นแต่กำหนดพื้นที่โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ การดำเนินการตามคำสั่งนี้มิให้ใช้บังคับกับการปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือเป็นการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการของรัฐ เพื่อประโยชน์ต่อสา ธารณะ หรือ การดำเนินการใดๆเกี่ยวกับความมั่นคง

Advertisement

13.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบรหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ดำเนินการภายใต้คำสั่งนี้ ตามอำนาจหหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายภายในท้องที่รับผิดชอบ 14.คำสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image