มท. จับมือ วท. ทำคู่มือ “รู้จักขยะอวกาศ”

วันที่ 28 มีนาคม นายสิทธิพร ชาญนำสินนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสต์วงโคจร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) กล่าวว่า จิสด้า ได้ติดตามสถานการณ์สถานีอวกาศเทียนกง-1 อย่างใกล้ชิดร่วมกับองค์กรอวกาศจากประเทศต่างๆ รวมถึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์เทียนกง -1 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกายภาพและการจัดการวัตถุอันตรายเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน โดยได้ดำเนินการจัดทำแผนเผชิญเหตุ และคู่มือปฏิบัติการฯ รวมถึงการจัดการชิ้นส่วนหรือวัตถุอันตราย เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ได้เข้าใจและมีแนวทางในการจัดการกับชิ้นส่วนที่อาจจะตกลงมาในประเทศไทย ถึงแม้ว่าโอกาสที่เกิดขึ้นจะน้อยมากก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสต์วงโคจร กล่าวด้วยว่า ล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย(มท.) ร่วมกับจิสด้า ได้ จัดทำคู่มือ “ชวนคุณให้รู้จักขยะอวกาศ” ขึ้นเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนเกี่ยวกับขยะอวกาศหรือเศษชิ้นส่วนอวกาศที่อาจจะตกลงมา ซึ่งเป็นการลดความตระหนก และให้ประชาชนได้รับทราบแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อประสบเหตุได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี

“เนื้อหาในคู่มือ ชวนให้รู้จักขยะอวกาศ เช่น วัตถุจากอวกาศคืออะไร วัตถุอวกาศ ถูกเรียกว่า “ขยะอวกาศ” ซึ่งปัจจุบันวัตถุอวกาศที่โคจรใกล้โลกที่สามารถตรวจพบมีมากกว่า 500,000 ชิ้น โดยความเร็วของการโคจรซึ่งสามารถโคจรได้เร็วสูงสุดถึง 17,500 ไมล์ต่อชั่วโมง” ด้วยความเร็วสูงขนาดนี้ ทำให้วัตถุอวกาศชิ้นเล็กๆ สร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมที่ปฏิบัติภารกิจ หรือรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ วัตถุอวกาศมาจากไหน โดย วัตถุอวกาศแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ – สถานีอวกาศที่หมดอายุการใช้งาน- ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งาน- จรวดนำส่งดาวเทียม 2. ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น – อุกกาบาต – เศษหิน สิ่งเหล่านี้โคจรดาวความเร็วสูง การเพิ่มขึ้นของจำนวนวัตถุอวกาศมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลอันตรายต่อดาวเทียมและยานอวกาศ โดยเฉพาะสถานีอวกาศนานาชาติและยานอวกาศที่มนุษย์เดินทางไปด้วย”นายสิทธิพร กล่าว

นายสิทธิพร กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำว่า หากมีวัตถุอวกาศหรือเศษชิ้นส่วนตกลงมาจะเกิดอันตรายอะไรได้บ้าง อาจจะเกิดการระเบิด เกิดแรงกระแทก เกิดอัคคีภัย หรือมีสารเคมี วัตถุอันตราย และกัมมันตรังสีได้ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินขนาดไม่เกิน 3 เมตร 1. บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต 2.ความเสียหายของทรัพย์สินขนาดมากกว่า 3 เมตร 1. บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต 2. ความเสียหายของทรัพย์สิน 3.เชื้อเพลิงที่หลงเหลืออันตรายต่อผู้มาสัมผัสเมื่อเราประสบเหตุ จะทำอย่างไร 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุหรือเศษชิ้นส่วนเด็ดขาด 2.ให้อยู่ห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ 3.รีบแจ้งต่อหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น สถานีตำรวจที่ใกล้เคียง หรือหน่วยงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ เพื่อเข้าตรวจสอบและเก็บกู้อย่างทันท่วงที

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image