ฎีกาชาวบ้าน: ฟังชัดๆ รถหายที่คอนโดฯ ใครรับผิดชอบ? (คำพิพากษาศ.ฎีกาล่าสุด)

กรณี รถยนต์จอดไว้ที่คอนโดมีเนียม แล้วถูกลักไป เป็นกรณีที่ใครต้องรับผิดชอบ?

กรณีดังกล่าว ตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตามมติเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพ.ร.บ.นั้น และตามข้อบังคับ ดังนั้น นิติบุคคลอาคารชุด ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลแต่ประการใด

สรุปได้ว่า นิติบุคคลไม่ต้องรับผิดชอบ ส่วนผู้ที่จะต้องรับผิดชอบคือ พนักงานรักษาความปลอดภัย หากได้ความว่า รถยนต์ที่ถูกลักไปนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ พนักงานรักษาความปลอดภัย และผู้ที่จะต้องรับผิดร่วมในฐานะนายจ้าง คือบริษัทรักษาความปลอดภัย

Advertisement

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ล่าสุด คือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2557

“ตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตามมติเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพ.ร.บ.นั้น และตามข้อบังคับ

Advertisement

นิติบุคคลอาคารชุด ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลแต่ประการใด

สัญญาว่าจ้าง บริษัท รปภ.ก็มีข้อความชัดเจนว่า จ้างบริษัท รปภ. รักษาความปลอดภัยให้แก่บรรดาทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งยอมหมายถึงทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดเท่านั้น ไม่รวมไปถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลแต่อย่างใด

แม้หลังทำสัญญาจ้าง บริษัทรปภ.แล้ว นิติบุคคลได้แจ้งระเบียบรักษาความปลอดภัยซึ่งได้มาจากการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินจากคณะกรรมการนิติบุคคลและเจ้าของร่วม เช่น การตรวจสอบสติกเกอร์ที่ติดรถยนต์ การรับบัตรอนุญาตจอดรถ และการตรวจสอบการขนของเข้าออกอาคารตามระเบียบรักษาความปลอดภัย แต่ก็เป็นเพียงมาตรการให้เกิดความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยในอาคารชุด ทั้งเป็นการควบคุมผู้ใช้สอยอาคารจอดรถซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกนลางในอาคารชุดมิใช้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้เท่านั้น หาได้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สส่วนบุคคลของผู้ใด เพราะไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล พฤติการณ์เช่นว่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่นิติบุคคลในอันที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้เป็นเจ้าของร่วม

แม้บริษัท รปภ.จะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อเจ้าของรถยนต์เนื่องจาก รปภ.ลูกจ้างบริษัทรปภ.กระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เจ้าของรถยนต์ได้รับความเสียหาย นิติบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของร่วมในการว่าจ้างบริษัท รปภ.ก็ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2551

รถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุดติดหน้ากระจกรถยนต์ตามระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดำเนินการแลกบัตรหรือให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ของผู้ขับรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออกอาคารชุด คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณป้อมยามของทางเข้าออกอาคารชุดเห็นแล้วว่ารถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุด มิได้เรียกให้หยุดรถเพื่อแลกบัตรหรือให้ผู้ขับรถยนต์แจ้งชื่อ ที่อยู่ตามระเบียบ กลับปล่อยให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านออกไปอันเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องของจำเลยที่ 4 เป็นการประมาทเลินเล่อกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4
( จำเลยที่3 เป็นรปภ. จำเลยที่4 เป็นบริษัท รปภ.)

หมายเหตุ : รายการฎีกาชาวบ้าน เป็นรายการกฎหมายใกล้ตัว ออกอากาศทาง www.matichon.co.th
นายโอภาส เพ็งเจริญ คอลัมนิสต์สัพเพเหระคดี หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และนางสาวเสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน เป็นผู้ดำเนินรายการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image