วิธีเก็บเงินอย่างไรให้ได้แสนแรก 

วิธีเก็บเงินแสน, หาเงินแสน, ออมเงิน

หลายคนมีเป้าหมายที่อยากเริ่มต้นเก็บเงินหรือออมเงินกันใช่ไหมคะ แต่ตั้งเป้าแต่ละครั้งทีไรก็ทำไม่ได้ตามเป้าหมายสักที ผ่านไปแต่ อาทิตย์สองอาทิตย์ก็ลืมเก็บเงิน อยากซื้อของใหม่ๆ อยากไปเที่ยว ก็เอาเงินเก็บมาใช้ซะงั้น แต่อย่าเพิ่งถอดใจไปค่ะ วันนี้เราได้รวบรวมวิธีเก็บเงินอย่างไรให้ได้แสนแรก มาฝากเพื่อนที่ยังมีเป้าหมายเก็บเงินให้ถึงเป้าหมายไปด้วยกันค่ะ 

ก่อนที่เราจะเริ่มเก็บเงินต้องตอบคำถามตัวเองให้ครบ 4 ข้อนี้ก่อนค่ะ ไม่งั้นเราจะไม่สามารถที่จะเริ่มต้นเก็บเงินให้สำเร็จได้ 

1. เป้าหมายของการเก็บเงิน
แน่นอนว่าถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเก็บเงินให้ได้เท่าไหร่ หรือเอาเงินไปทำอะไร เราก็จะไร้แรงปรารถนาที่จะทำมัน

2. กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน 

Advertisement

เมื่อมีตัวเลขที่เราอยากจะเก็บแล้ว เราต้องกำหนดเวลาให้กับมันด้วยเช่น เก็บเงิน 100,000 บาทให้ได้ภายใน 1 ปี ทีนี้เราก็สามารถวางแผนและคำนวณ หรือหาวิธีการต่างๆในการเก็บเงินมาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

3. ต้องเป็นไปได้จริง
เมื่อคุณตั้งเป้าหมายและกำหนดระยะเวลาแล้ว ลองมาดูว่าสิ่งที่เราตั้งนั้นจะเป็นไปได้จริงไหม ถ้าดูแล้วมันไกลเกินเอื้อมมากเกินไป อาจทำให้คุณยกเลิกเป้าหมายกลางคันได้

4. ไปถึงได้อย่างไร
พอตอบคำถามตัวเองชัดทั้ง 3 ข้อแล้ว สิ่งที่ต้องระบุให้ชัดเจนเลยก็คิด เราจะไปถึงเป้าหมายนี้ได้อย่างไร ด้วยวิธีการไหนบ้าง เขียนออกมาเป็นข้อๆได้เลย และที่สำคัญต้องไม่หนักจนเกินไป เดี๋ยวจะถอดใจในการเก็บเงินซะก่อน 

เมื่อตอบคำถามตัวเองครบหมดทั้ง 4 ข้อข้างบนนี้แล้วเราก็สามารถเริ่มทำตามวิธีต่างๆได้เลยทั้งที วันนี้เรามีวิธีการเก็บเงิน 100,000 บาทมาเป็นไอเดียให้เพื่อนๆได้ลองนำไปปรับใช้ดูถึง 10 วิธี ลองมาดูกันคะว่ามีอะไรบ้าง 

1. เก็บเงินวันละ 275 บาท
ตัวเลขนี้มาจากที่นำเงิน 100,000 ตั้ง หารด้วย 365 วัน ก็จะได้เป็นวันละ 275 บาท ซึ่งเอาจริงๆแล้ว ตัวเลขนี้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก แต่คำถามคือเราจะสามารถเก็บได้ทุกวันตามนี้หรือไม่ลองคำนวณกันดูค่ะ

2. เก็บให้ได้เดือนละ 8,300 บาท
วิธีนี้คล้ายๆกับวิธีแรก แต่เป็นการตัดไปเลยหนึ่งเดือน เพื่อบางคนไม่ถนัดกับการหักเป็นรายวัน ก็สามารถหักตัวเลขนี้แบบรายเดือนก็สามารถทำให้มีเงินเก็บแสนบาทแรกได้ค่ะ 

3. เก็บเงินตามวัน
วิธีนี้ยอดฮิตไม่แพ้กันเลยค่ะ เพราะเป็นการเก็บแบบท้าทายตัวเองและแถวยังสนุกอีกด้วย คือเก็บตามวันที่ ถ้าวันที่ 1 เราเก็บ 1 บาท วันที่ 2 เราเก็บ 2 บาท วันที่ 365  เก็บ 365 บาท รวมๆแล้วก็มีเงินเก็บอยู่ที่ราวๆ 7 หมื่นบาทเลยทีเดียว

4. แบ่งบัญชีให้ชัดเจน
แบ่งไปเลยว่าบัญชีไหนเอาไปใช้กับอะไรและเท่าไหร่ หลังจากนั้นนำไปใส่ในบัตร ATM ตามบัญชีนั้นๆ เช่น ค่าน้ำมันทั้งเดือน 4,000 บาทก็นำมาใส่ในบัตรแล้วนำมาไว้ที่รถเท่านั้น เราจะไม่นำบัตรค่าน้ำมันไปใช้กับอย่างอื่นเด็ดขาด หรือค่ารับประทานอาหาร ก็นำไปใส่อีกบัตร แล้วไปทานอาหารที่ไหนก็จะพกแค่บัตรนี้เท่านั้น ฟังดูอาจจะยุ่งยากนะคะ แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่จะฝึกให้เราจัดการเงินได้เป็นสัดส่วนได้ดีเลยค่ะ 

5. ลดการกินกาแฟ
ข้อนี้ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเราใช่น้อยเลยใช่ไหมคะ เพราะในแต่ละว่าคนไทยส่วนใหญ่มักกินกาแฟหรือน้ำหวานวันละ 1 แก้ว แล้วเดี๋ยวนี้กาแฟบางแก้วราคาประมาณ 120  บาท ถ้าคูณไป 31 วันก็จะตกเดือนละ 3,720 บาท ถ้านำมาคูณ 12 เดือน ก็เป็นเงิน 44,640 บาทเลยทีเดียว ถ้าเราลดในส่วนนี้ได้เราก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นด้วย 

6. ทำอาหารกินเองบ้าง
ในปัจจุบันนี้อาหารที่เราทานมื้อต่ำๆก็ราคา 40 กิน  เราทานอาหาร 3 มื้อ ก็ตีไปประมาณที่ 120 – 300 บาทต่อวันแล้ว ในหนึ่งเดือนเราก็จะจ่ายค่าอาหารอยู่ที่ 9,000 บาท ถ้าวันนี้เราเลือกทำอาหารเองในบางมื้อได้ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้เยอะเลยค่ะ 

7. ลด gadget ที่ราคาแพงเกินไป
แน่นอนว่าในแต่ละปีจะมี gedget ใหม่ๆออกมาล่อตาล่อใจเราไม่ใช่น้อย แล้วแต่ละชิ้นก็มีราคาไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทแน่นอน ฉะนั้นต้องถามตัวเองว่าของที่เราจะซื้อราคาแพงๆนี้ เราใช้มันเต็มที่หรือไม่ ถ้าเราลดสเปกมาให้เหมาะกับการใช้งานของเราก็จะลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้ค่ะ 

8. อย่าให้รางวัลตัวเองมากเกินไป
หลายๆคนชอบตกหลุมพรางในข้อนี้ เพราะคิดว่าฉันทำงานหาเงินเหนื่อยมาทั้งปี ขอให้รางวัลตัวเองหน่อย ซื้อของบางอย่างก็ราคาสูง บางคนให้รางวัลตัวเองเป็นรถยนต์ แทนที่จะมีเงินเก็บกลับมีหนี้เพิ่มซะงั้น แต่ถ้ารู้สึกว่ามันจำเป็นต้องมีจริงๆ แนะนำว่ารอช่วงเซลล์ ช่วงลดราคาในแต่ละช่วงดีกว่า ได้ของที่เราอยากได้ แถมราคาถูกลงมากกว่าเดิมอีกด้วย

9. เลิกบุหรี่และสุรา
การเลิกบุหรี่และสุรานั้นไม่ใช่แค่ลดรายจ่าย แต่ยังได้สุขภาพอีกด้วย ถ้าถามนักสังสรรตัวจริง เขาปาร์ตี้กันสัปดาห์ละ 4 ซอง ตีตัวเลขกลมก็ตกปีละ 18,000 บาท และไม่ใช่แค่เราจะเสียเงินเท่านั้น ถ้าเราป่วยหรือเป็นโรคร้ายแรงอะไรขึ้นมา เราก็ต้องเอาเงินที่เราเก็บมารักษาตัวอีก แล้วเป็นทีเราไม่ได้เป็นคนเดียว เพราะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจพวกนี้ คนรอบข้างเราก็สามารถเป็นได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเลิกได้เลิก ลดได้ลดกันเถอะนะคะ

10. หารายได้เสริม
หลายคนอาจรู้สึกว่ารายได้หลักที่เรามีไม่เพียงพอต่อรายจ่ายหรือไม่สามารถหักมาเป็นเงินเก็บได้ ก็อาจลองหารายได้เสริมดูว่ามีงานอะไรบางที่จะช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น 

หลายคนทำวิธีเดียวก็สามารถถึงแสนบาทได้ แต่บางคนอาจทำหลายวิธีถึงจะได้หนึ่งแสนดังนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างของแต่ละคน ถ้าวันนี้คุณเก็บหนึ่งแสนบาทแรกได้ ก็สามารถเก็บแสนที่สองแสนที่สามได้ ถัดไปก็สามารถเก็บเงินล้านได้เช่นกัน ยิ่งถ้ามีธุรกิจเป็นของตัวเองด้วยแล้วและถ้ารู้ วิธีวางแผนการเงินให้ธุรกิจไปรอด ในช่วงโควิด-19 ยิ่งดีขึ้นไปอีก และหากศึกษาเรื่องการลงทุนไว้ก่อนก็คงเป็นประโยชน์ไม่น้อย  ทุนน้อยแต่อยากออมให้งอกเงยด้วยกองทุน DCA เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาตั้งใจเริ่มการเก็บเงินเพื่อเป้าหมายที่คุณตั้งไว้กันดีกว่าค่ะ 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image