“บ้านธารมะยม” อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เติบโตและเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการสร้างกลุ่มอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน (ชมคลิป)

จากชุมชนที่ประสบปัญหาการทำเกษตร ทั้งที่ดินทำกินขาดแคลนแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตไม่
เป็นไปตามที่ต้องการ บางฤดูกาลรายได้จากการทำเกษตรไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้หลายรอบครัว
ต้องดิ้นรนออกนอกพื้นที่ไปรับจาก บางครอบครัวว่างงานไม่มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว จากปัญหาคน
ในชุมชนได้ลุคขึ้นมาปรับเปลี่ยนสร้างกลุ่มอาชีพรวมกันโดยเริ่มจากศูนย์ เติบโตทีละน้อยอย่างมั่นคง
โดยแต่ละกลุ่มทำกันเองด้วยทุนที่มีอยู่ ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูกาลการการทำการเกษตร

คุณเสน่ห์ วันหลุมข้าว ผญบ. ม.10 เล่าให้ฟังว่าทางชุมชนเริ่มทำจากสิ่งที่มีในชุมชน ดึงความสามารถ
ของคนในชุมชนโดยปัจจุบันจะมีกลุ่มพรมเช้ดเท้า กลุ่มหัตถกรรมไม้ไผ่ก็เริ่มจากเห็นว่าไม้ไผ่มันมีอยู่
แล้วปลุกไว้ หลายปีแล้ว ซึ่งเวลาว่างก็มรวมกลุ่มกัน

Advertisement

“แรกๆก็เริ่มขายตามงาน otop ต่างๆ มีกลุ่มเพาะเลี้ยงหนูนา อันนี้น้องใหม่นะครับกำลังไปได้ดีเลย แล้ว
ก็กลุ่มปลูกหญ้าแฝกนะครับ กลุ่มพริกแกงกลุ่มปลาร้าก็มีนะครับ”

“จากอาชีพหลักคือการเป็นเกษตรกร ได้นำมาต่อยอดสู่อาชีพเสริม และขยายสู่รวมกลุ่ม”

คุณเสน่ห์ เล่าต่อว่า ส่วนใหญ่สมาชิกที่มารวมกันจะเป็นจิตอาสามาด้วยความเต็มใจ ไม่ได้ทำเป็นกลุ่ม
ใหญ่มาก ใครอยากทำอะไรก็มาร่วมกันในช่วงเวลว่าง ซึ่งการทำงานย่อยมีปัญหาระหว่างทางแต่ก็เป็น
เรื่องไม่ใหญ่โตอะไร ใช้วิธีการพูดคุยกันให้บ่อยและมากขึ้นโดยใช้ทุนส่วนตัวไม่ได้รองอะไรทำอยู่แล้ว
พอมีโอท็อปนวัตวิถีก็มีกลุ่มอาชีพมาเสริมในกลุ่มทำให้เราแข็งแรงขึ้นมา”

Advertisement

หนึ่งกลุ่มสำคัญ “โรงเรียนชาวนา” เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชน

คุณประสงค์ โพธิ์พระรส ประธานศูนย์เรียนรู้โรงเรียนชาวนา เล่าถึงที่มาให้ฟังว่า โรงเรียนชาวนาเริ่ม
ต้นเมื่อปี 2552 มีสมาชิกด้วยกัน 22 ราย โดยมีจุดรปะสงค์ คือ ใช้เป็นที่รวบรวมพันธุ์เพื่อการอนุรักษณ์
พันธุกรรมพืช พันธุ์ข้าวเก่าๆไว้ใช้ในชุมชน โดยจะคัดพันธุ์ข้าวจากเมล็ดข้าวกล้องมาเพาะเป็นพันธุ์ข้าว
ไว้ให้ชุมชนนำไปใช้และขยายพันธุ์ในปีต่อไป ช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตลงได้ทางหนึ่ง

“สิ่งที่สมาชิกของเราได้รับจากโรงเรียนชาวนา เขาจะไม่ต้องไปเรียนรู้ที่อื่นเราไปดูงานทีอื่นมาเราต่อให้
ชาวบ้าน มาสอนต่อมาแนะนำให้ชาวบ้านเราทำในชุมชนเรา ชาวบ้านก็ได้ประโยชน์จากที่เราแนะนำมา
เขาก็ได้ทำตามกันครับ นอกจากนี้เองเราก็มีการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ แล้วก็มีการปลูกแฝกเพื่อจะ
สร้างรายได้เสริมขึ้นมาอีกด้วย”

จากโรงเรียนชาวนาต่อยอดสู่กลุ่มปลูกหญ้าแฝกสร้างอาชีพ

การปลูกแฝกในชุมชนนับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาพื้นที่เกษตรที่ลาดชัน โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักๆ ส่งผลกระทบให้เกิดการพังทลายของหน้าดินอย่างต่อเนื่อง พื้นที่การทำการเกษตรเสียหาย คนในชุมชนจึงทดลองนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อสกัดให้หน้าดินยังคงอยู่ และสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

“แฝกจะนำรากลงในแนวดิ่ง จะทำให้พืชเจริญเติบโตดี ช่วยอนุรักษื์ดินและน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หญ้าแฝกที่เราทำไว้แล้วแจกจ่ายให้กับสมาชิก เราขายต้นหนึ่ง 10 สตางค์ กำหนึ่งมี 50 ต้น ตอนนี้เราทำกำละ 5 บาท เราทำขายชุมชนก็ได้ตังค์ สมาชิกในเครือข่ายดเราก็ทำมาส่งนะครับ”

พอเพียง พอใจ ตามรอยพ่อหลวง ร.9

บ้านธารมะยม ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงจากพ่อหลวง ร.9 เริ่มจากสิ่งที่มีในชุมชน สร้างความเข้าใจ และจับมือรวมกลุ่มกันพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“มันดีกว่าเมื่อก่อนเยอะนะครับ เมื่อก่อนที่เรายังไม่ได้ตั้งกลุ่มเรียนรู้ขึ้นมา คนข้างนอกเขาก็จะไม่รู้จักหมู่
บ้านเราทีนี้รายได้ต่างๆเราก็ต้องเข้ากรุงเทพใช่มั้ยครับ เข้าไปหากิน ไปทำงานก่อสร้าง พอเรามาตั้งกลุ่ม
เราก็ทำให้คนภายนอกไกด้รู้ว่าหมู่บ้านเรามีอะไรบ้างเขาก็จะเข้ามาท่องเที่ยวบ้าง ชมการปลูกแฝกบ้าง
การอนุรักษ์พันธธุกรรมพืช การคัดเมล็ดพันธุ์ ก็ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image