‘รัชดา’ จวกโปรเจ็กอีอีซีรัฐบาลปูทางดีแต่ขาดแรงงาน 4.0 สาละวนแต่ขึ้นทะเบียนต่างด้าว

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก อดีตส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า  พูดกันแต่โปรเจ็กยักษ์ อุตสาหกรรมS-curve เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ถามจริงๆเถอะเอาคนจากไหน แม้รัฐบาลจะปูทางทุกอย่างไว้ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทั้งมาตรการภาษี เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ผังเมืองและการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก็อนุโลมให้ แต่สิ่งที่ขาดคือแรงงานทักษะที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม

บ้านเรายังไม่มีแผนแรงงานที่สอดรับยุคเศรษฐกิจ4.0ตามที่ฝัน เมื่อประมวลข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยและมุมมองของตัวเอง มีห้าประเด็นที่ขอหยิบยกชวนให้คิดไปพร้อมกัน

1. ไทยเปิดรับแรงงานต่างชาติมากที่สุดในอาเซียน 6ล้านคนแต่เป็นกลุ่มมีทักษะเพียง 1.5แสนคน สะท้อนว่าไทยยังขาดยุทธศาสตร์ในการคัดสรรแรงงานทักษะที่จะตอบโจทย์เศรษฐกิจ 4.0 ต่างจากสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีนโยบายแรงงานทั้งระยะสั้นและยาว มีทั้งการดึงดูดแรงงานทักษะสูง และสนับสนุนการใช้AIเพื่อลดปัญหาการขาดแรงงานพื้นฐาน

2.การขาดแคลนแรงานเป็นปัญหาหลักผู้ประกอบการไทย 20%ขาดคนด้านดิจิทอล เช่นเขียนโปรแกรม บริษัทใหญ่ด้านการจัดการข้อมูลและการวิจัยการลงทุนย้ายฐานไปสิงคโปร์

Advertisement
  1. 3. เรายังไม่สามารถสร้างบุคลากรได้เพียงพอกับความต้องการของธุรกิจยุคปัจจุบัน ขนาดประเทศสหรัฐสามารถสร้างdata scientist ได้เพียงปีละ5หมื่นคน ซึ่งปีที่แล้วความต้องการทั่วโลกปรับสูงขึ้น6.5เท่า

4.พื้นฐานเด็กไทยในภาพรวมตั้งแต่ประถมถึงมัธยมไม่ถนัดคณิตศาสตร์ ก็ยากที่เราจะผลิตบุคลากรทักษะขั้นสูงได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด

5 สังคมไทยยังขาดนักเรียนที่เรียนสายอาชีวะซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญของภาคอุตสาหกรรม คนที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยจำนวนมากก็เรียนวิชาไม่ตรงที่ตลาดต้องการ

เมื่อผลิตคนในประเทศได้ไม่เพียงพอ ก็ต้องหาคนจากภายนอก สิ่งที่ทั่วโลกได้เริ่มทำไปแล้วคือการผ่อนคลายกฎระเบียบนำเข้าแรงงานต่างชาติที่มีทักษะสูง ใช้มาตรการเชิงรุกทั้งจูงใจทางภาษีและให้เงินสนับสนุนเพื่อดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาอยู่ในประเทศตนเอง ส่วนบ้านเราก็ได้แค่สาละวนกับเรืองการขึ้นทะเบียนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนแรงงานทักษะสูงยังไม่มีนโยบายชัดเจน

Advertisement

การแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต้องมองให้ครบทุกด้านทั้งเรื่องของการออกกฎระเบียบ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี การสร้างค่านิยมและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนสายคณิต วิทย์ อังกฤษ เทคโนโลยีและการเรียนในสายอาชีวะ ที่สำคัญที่สุดก็คือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ต้องพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาในทุกวัยและทุกระดับให้เป็นทุนทางสังคมที่มีศักยภาพสอดรับกับความต้องการของเศรษฐกิจ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image