สกู๊ป : ‘เสด็จเลียบพระนคร’ž โบราณราชประเพณีใน’บรมราชาภิเษก’

หลังสำนักพระราชวังเผยแพร่ประกาศเรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สร้างความปลื้มปีติแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดิน
ทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีและเสด็จออกมหาสมาคม พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล จากนั้นพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศานุวงศ์

จากนั้นเสด็จเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

เติมศรี ลดาวัลย์ ระบุไว้ใน พิธีราชาภิเษกในประเทศไทยŽ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2517 ถึงการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางบก โดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสด็จเลียบพระนคร เพื่อเสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธปฏิมากร ณ พระอารามหลวงสำคัญ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลตามสถานที่ที่กำหนดไว้

Advertisement

การเสด็จเลียบพระนคร เป็น 1 ใน 5 ขั้นตอนหลักของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งได้แก่

1.ขั้นเตรียมพิธี คือการตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทำพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษก ทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพ อีกทั้งแกะพระลัญจกรประจำรัชกาล

2.พิธีเบื้องต้น คือ เจริญพระพุทธมนต์ ตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

Advertisement

3.พิธีบรมราชาภิเษก มีพิธีสรงมุรธาภิเษก แล้วประทับพระแท่นอัฐทิศอุทมพรรับน้ำอภิเษก ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐรับการถวายสิริราชสมบัติ และเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์

4.พิธีเบื้องปลาย อาทิ เสด็จออกมหาสมาคม และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร

5.เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคนี้ในสมัยโบราณก็ปรากฏในประเทศที่รับวัฒนธรรมอินเดียอันเป็นต้นกำเนิดของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งสืบเนื่องจาก พิธีราช
สูยะŽ โดยแต่ละแห่งมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของพิธีไปตามขนบธรรมเนียมของตน เช่น เนปาล มีการเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนช้าง

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า การเสด็จเลียบพระนคร เป็นขั้นตอนสุดท้ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการบันทึกถึงการเสด็จเลียบพระนครใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมŽ

สำหรับธรรมเนียมยุคต้นรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานว่าเสด็จเลียบพระนครโดยออกทางประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวัง แล้วเลี้ยวขวาเลียบไปทางวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯหรือวัดโพธิ์ ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังเพิ่มการเสด็จเลียบพระนครทางชลมารคขึ้น ซึ่งในรัชกาลก่อนหน้านั้นไม่เคยมี

“กระบวนเสด็จทางสถลมารคในแต่ละรัชกาล ในรัชกาลต่างๆ โดยทั่วไป ประกอบด้วย เสลี่ยงเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ ตามด้วยแคร่เสนาบดี อย่างไรก็ตาม ในบางรัชกาลมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ส่วนเส้นทางกระบวนมีความใกล้เคียงกัน และเมื่อมีการบวรราชราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ในช่วงท้ายของพระราชพิธีก็มีกระบวนเสด็จเลียบพระนครเช่นกัน โดยเมื่อ
กระบวนผ่านมาถึงพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ซึ่งรัชกาลที่ 4 ประทับอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ได้เสด็จลงจากพระราชยานแล้วถวายบังคม 3 ลา โดยในขบวนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประกอบด้วยขุนนางวังหน้า ในขณะที่ขบวนของรัชกาลที่ 4 เป็นขุนนางวังหลวงŽ”

ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการทำพิธีบรมราชาภิเษกเป็น 2 งาน คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลดังกล่าว เมื่อ พ.ศ.2545 โดยในพิธีบรมราชาภิเษก มีการดำเนินตามโบราณราชประเพณี แต่งดการแห่เสด็จเลียบพระนครและงานรื่นเริง

ครั้นถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นงานรื่นเริงและให้ประเทศที่เป็นสัมพันธไมตรีมีโอกาสเข้าร่วมงาน โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชนี้ ได้มีการเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค สำหรับทางสถลมารคมีการหยุดกระบวนที่ท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นประทับพลับพลา เสนาบดีกระทรวงนครบาลกราบบังคมทูลถวายพระชัยมงคลในนามของไพร่ฟ้าประชาชน และเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราไปทรงบูชาพระพุทธปฏิมากรในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราประทักษิณพระบรมมหาราชวัง คืนเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง

แนวคิดการเสด็จเลียบพระนครนั้น ณัฏฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร ระบุไว้ใน รายงานพิเศษ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกŽ ว่าการจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราสถลมารค รวมถึงชลมารคนั้นเป็นการแสดงแสนยานุภาพในกองทัพ ทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือ ของพระมหากษัตริย์ไทยมาแต่โบราณ โดยพระราเชนทรยานหรือพระที่นั่งราชยานพุดตานทองที่พระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตประทับในกระบวนนั้น บนฐานแต่ละชั้นล้วนประดับด้วยลวดลาย เทพพนมและครุฑพนมŽ ซึ่งสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ว่า พระราชยานที่ประทับคือ โลกสวรรค์ที่เขาพระสุเมรุของพระอินทร์หรือเขาที่ไกลาสขององค์พระศิวะ รอบๆ สวรรค์มีเทวดาและครุฑ ซึ่งเป็นเทพบริวารร่วมกันมาชื่นชมพระบารมีขององค์สมมุติเทพหรือทิพยเทวาวตารซึ่งคือองค์พระมหากษัตริย์ที่ประทับบนพระราชยาน

และหากให้ความสำคัญกับรูปครุฑ ย่อมมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ คือองค์พระวิษณุซึ่งมีครุฑเป็นพาหนะมาคอยรับใช้เมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ นอกจากนี้ เครื่องสูงŽ ในกระบวนแห่ห้อมล้อมพระราชยานไม่ว่าจะเป็นบังสูริย์ บังแทรก พัดโบก จามร พุ่มดอกไม้ทอง พุ่มดอกไม้เงิน ตลอดจนเครื่องประดับโคมต่างๆ ล้วนเป็นการจำลองภาพของริ้วขบวนขององค์เทวะมาใช้กับองค์สมมุติเทพในมนุษย์โลก

นั่นคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image