ปิดฉากแล้ว! ประชุมรมต.คลัง-ผู้ว่าการแบงก์ชาติอาเซียน เดินหน้าเชื่อมโยงระบบการเงิน พรุ่งนี้เยี่ยมชมถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

เมื่อวันที่ 5 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังครั้งที่ 23 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ณ จังหวัดเชียงราย จัดโดยกระทรวงการคลังร่วม และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ณ จังหวัดเชียงราย จัดโดยกระทรวงการคลังร่วม และธปท. ได้ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการผลักดันให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและมาตรฐานกลางที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งการเชื่อมโยงระบบการเงินจะทำให้ความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนเข้มแข็งมั่นคง สนับสนุนการค้า การลงทุนและบริการต่างๆ ในภูมิภาค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 6 เมษายน คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนจะเดินทางไปเยี่ยมชมวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน
ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับปีนี้ กระทรวงการคลัง ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคการเงินได้ร่วมกันกำหนดประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญในฐานะประธานอาเซียน ใน 3 หมวดหลัก ได้แก่ 1. ความเชื่อมโยง (Connectivity) เน้นการพัฒนาความเชื่อมโยงระบบการชำระเงินและบริการทางการเงิน (Financing, Payment and Service Connectivity) รวมทั้งการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน (Trade and Investment Facilitation) เพื่อการสร้างอาเซียนที่ไร้รอยต่อ (Seamless ASEAN) เช่น การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าบริการ และการลงทุน ระหว่างกัน (Local Currency Settlement) การส่งเสริมการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ข้ามประเทศ การเร่งรัดการเชื่อมโยงข้อมูลใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอาเซียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ATIGA e-Form D) อย่างสมบูรณ์ภายใต้ระบบ ASEAN Single Window (ASW) เป็นต้น

2. ความยั่งยืน (Sustainability) ผลักดันให้การพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคการเงิน (Sustainable Finance) เป็นวาระสำคัญของอาเซียน ส่งเสริมให้ภาคการเงินมีแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) และสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ซึ่งจะช่วยยกระดับให้ภูมิภาคอาเซียนมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainable ASEAN) โดยจัดทำแนวทางการพัฒนาตลาดทุนอาเซียนที่ยั่งยืน ยกระดับความตระหนักรู้ เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินคำนึงถึงผลในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีการเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลที่ดี และจัดทำกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อย (Micro Insurance) ของอาเซียน 

Advertisement

3. การสร้างภูมิคุ้มกัน (Resilience) เป็นการสร้างกรอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Framework) และความร่วมมือด้านการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Oversight) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ดิจิทัลอาเซียน (Digital ASEAN) โดยสนับสนุนการพัฒนาความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) แก่บุคลากรด้านการเงินของประเทศสมาชิก รวมถึงผลักดันให้เกิดเครือข่ายกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน (Cyber-threat Intelligence Platform) นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนจะร่วมมือกันเผยแพร่ข้อมูล เพื่อป้องกันการหลอกลวง (Scams) รวมทั้งการให้ความรู้ด้านการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Oversight)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image