การเลือกตั้ง ปี 2562 ไม่มีอะไรผิดคาด ยกเว้นอย่างเดียว : โดย เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ

หลังเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีกระแสทางการเมืองหลายเรื่อง ผู้เขียนขอร่วมแสดงความคิดเห็น ดังต่อไปนี้

ข้อแรก การคำนวณหาจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ วิธีการของไทยมีดังนี้

(1) เริ่มจากหาคะแนนต่อหนึ่งที่นั่ง ส.ส.ซึ่งในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ม.91 (1) บัญญัติว่า

“นำคณะรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร”

Advertisement

เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

คะแนนที่ได้ 71,065 นี้ คือคะแนน ต่อ ส.ส.ที่จะได้หนึ่งที่นั่ง (ยังไม่ได้แยกว่าเป็น ส.ส.เขตหรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์)

Advertisement

หลักใน ม.91 (1) นี้เป็นหลักใหญ่ที่สุด ดังนั้น พรรคใดที่ได้คะแนนต่ำกว่า 71,065 นี้จะไม่ได้ที่นั่ง ส.ส.เลย (แต่พรรคที่นำมาคิดคะแนนหาปาร์ตี้ลิสต์นี้ต้องเป็นพรรคที่ส่งปาร์ตี้ลิสต์ด้วย)

(2) หาที่นั่ง ส.ส.ให้แต่ละพรรค รัฐธรรมนูญปี 2560 ม.91 (2)(3)(4) กำหนดให้เอาคะแนน 71,065 ไปคิดหาที่นั่ง ส.ส.ให้กับพรรคการเมือง หลักง่ายๆ คือ พรรคไหนได้คะแนนมากกว่า 71,065 ก็ได้ ส.ส.ไป ยิ่งได้คะแนนมากก็ยิ่งได้ที่นั่งมากโดยคำนวณจากสูตร

ตัวอย่าง พรรคพลังประชารัฐได้คะแนน ส.ส.เขต 8,433,137 คะแนน

 

(3) หาจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เมื่อได้จำนวน ส.ส.รวมของแต่ละพรรคแล้ว ทีนี้ก็เอาที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดตั้ง หักที่นั่ง ส.ส.เขต ก็จะเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ยกตัวอย่าง

กรณีที่ได้ ส.ส.เขตไม่ถึงจำนวนที่คำนวณ เช่น พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส.เขต 97 ที่นั่ง ก็จะได้ปาร์ตี้ลิสต์อีก 21 ที่นั่งรวม 118 ที่นั่ง

แต่ถ้า ส.ส.เขตได้เกินจำนวนที่คำนวณ เช่น เพื่อไทยได้ ส.ส.เขต 137 ที่นั่ง เกินจากที่คำนวณซึ่งได้ 111 ที่นั่งพรรคเพื่อไทยก็จะได้แค่ 137 ที่นั่ง (จำนวน ส.ส.เขต 137 ที่นั่งที่เกินมาจากการคำนวณนี้ ทางวิชาการ เรียกว่า “hangover seats” หรือ “surplus seats” ความหมายตรงตัว คือ ที่นั่งที่เกินจากการคำนวณ เอามาจากเยอรมนี)

(4) วิธีคิดเศษที่เหลือ พอคิดที่นั่งหลักๆ ของแต่ละพรรคได้แล้ว หากยังได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ครบ 150 ที่นั่ง ขั้นต่อไปเป็นการคำนวณเศษ ตามตัวอย่าง พรรคพลังประชารัฐมีเศษทศนิยมอยู่ 0.6679 พรรคเพื่อไทยมีเศษทศนิยมอยู่ 0.4651 วิธีคิดของไทยปรากฏตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ม.128 (6) คือ ให้พรรคที่ได้เศษทศนิยมเยอะที่สุดได้เพิ่มก่อน แล้วไล่ลงไปเรื่อยๆ จนครบ 150 คน วิธีนี้ เรียกว่า “Largest Remainders” ซึ่งเป็นวิธีคิดจากเศษที่มากที่สุดและน่าจะตรงกับวิธีโควต้าของ Hare (Hare quota) ส่วนกรณีที่คิดแล้วได้เกิน 150 ก็ให้เทียบบัญญัติไตรยางค์กลับมาเป็น 150 เพราะปาร์ตี้ลิสต์มีได้แค่นั้น

ข้อมูลที่ปรากฏในปัจจุบันจึงมีพรรคที่ได้ปาร์ตี้ลิสต์ 16 พรรค (จากทั้งหมดร่วม 80 พรรค) พรรคสุดท้ายที่ได้ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคพลังชาติไทยได้คะแนน ส.ส.เขต 73,871 คะแนน ซึ่งนับเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว

ส่วนที่ปรากฏว่ามีข้อมูลอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ย่อมเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไม่สามารถกระทำได้

ข้อสอง ส่วนที่มีกรรมาธิการออกมาพูดเรื่องเจตนารมณ์เกี่ยวกับคะแนนไม่ตกน้ำนั้น ภาษาทางวิชาการ เรียกว่า “wasted vote” คือ vote และคะแนนไม่เสียเปล่า ซึ่งคำนี้ที่จริง หมายถึง การ vote ที่มีผลต่อที่นั่ง ส.ส.แต่ประเทศไทยนำมาใช้ในความหมายว่า การ vote ที่มีผลต่อการคิดคะแนน คือ เอาทุกคะแนนที่ vote มาคิดคำนวณหาคะแนนต่อ ส.ส.หนึ่งที่นั่ง ดังนั้น ใน ม.91 (4) แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กับ ม.128 (5) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 (ซึ่งเขียนข้อความล้อกัน) มีความหมายว่า เมื่อคำนวณคะแนนต่อ ส.ส.หนึ่งที่นั่งแล้ว พรรคไหนได้ ส.ส.เขตเกินก็ให้ได้ไป เช่น กรณีพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขต 137 ที่นั่งแต่คำนวณได้ 111 ที่นั่ง ส่วนพรรคที่ได้ ส.ส.เขตน้อยกว่าที่คำนวณได้ก็ให้เติมจำนวนปาร์ตี้ลิสต์ลงไป เช่น กรณีพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส.เขต 97 ที่นั่ง แต่คำนวณได้ 118 ที่นั่ง ก็เติมปาร์ตี้ลิสต์ ลงไป 21 ที่นั่งส่วนที่เขียนว่า “และให้นำจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้พรรคที่มี ส.ส.แบบแบ่งเขตต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมี” ก็หมายความว่า พรรคที่ได้ ส.ส.เท่ากับหรือเกินจำนวนจากการคำนวณ จะไม่ได้ปาร์ตี้ลิสต์ และให้เอาคะแนนพรรคนั้นไปคำนวณให้พรรคอื่นและพรรคอื่นซึ่งเป็นผู้รับคะแนนนั้นต้องมี ส.ส.รวมแล้วไม่เกินจำนวนที่คำนวณในตอนที่จัดสรรที่นั่งให้พรรคนั้น ข้อความใน ม.91(4) กับ ม.128(5) ข้างต้น ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เพราะกฎหมายเขียนล็อกไว้แล้วว่ายังไงก็ต้องไม่เกินจำนวน ส.ส.ที่คำนวณได้ตั้งแต่ตอนแรก

เพราะฉะนั้น พรรคที่ถูกตัดออกไปแล้วตั้งแต่ตอนแรก จะมารับคะแนนที่เหลือจากพรรคที่ได้คะแนน ส.ส.เขตเกิน (hangover seats) ในก๊อกสองนี้อีกไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ข่าวที่ว่ามีพรรคได้ 3 หมื่นคะแนนจะได้ปาร์ตี้ลิสต์ด้วยนั้น จึงเป็นไปไม่ได้และผิดกฎหมายแน่นอน!!!

ข้อสาม ผู้เขียนเคยเสนอสมมุติฐานไว้ว่า พรรคใหญ่จะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มากนั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นจริง เพราะมีพรรคใหญ่ได้ปาร์ตี้ลิสต์เพียง 5-6 พรรค เหตุผลเป็นเพราะพรรคเล็กส่ง ส.ส.เขตได้ไม่ครบ 350 เขต และช่วยผู้สมัครไม่ได้มาก (โดยเฉพาะปัจจัยเงิน ช่วยเขตละแสนเดียว ก็ใช้เงิน 35 ล้านบาทแล้ว) อีกทั้งพรรคเล็กมีโอกาสชนะ ส.ส.เขตน้อย ยกเว้นกรณีพรรคเพื่อไทยที่ไม่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้เลยนั้น เป็นเหตุผลเฉพาะจากการ split พรรคไปเป็นพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคนั้นถูกยุบไป พรรคเพื่อไทยจึงส่ง ส.ส.ได้แค่ 250 เขต ยิ่งกว่านั้น พรรคที่ split ไป เช่น พรรคเพื่อชาติ ยังไม่สามารถสร้างความนิยมเท่ากับพรรคเพื่อไทยเดิมได้ คะแนน ส.ส.เขตของพรรคเพื่อไทยจึงหายไปร่วม 100 เขต ข้อที่น่าสังเกต คือ พรรคเพื่อไทยยังชนะ ส.ส.เขตมากเหมือนเดิม แต่ชนะด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งน้อยลง โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่คะแนนจี้เป็นลำดับ 2 กับลำดับ 3 ในเขตเมืองจำนวนมาก ทั้งพรรคอนาคตใหม่ได้กระแสทางการเมือง กับการเทคะแนนจากพรรคที่ถูกยุบกลับมามากกว่าพรรคอื่นด้วย ยิ่งกว่านั้น ยังน่าคิดด้วยว่าถ้าพรรคเพื่อไทยส่ง ส.ส.เขตครบ 350 เขต แล้วจะเกิด hangover seats หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะเกิด เพราะคะแนนรวมของพรรคเพื่อไทยกรณีนั้นน่าจะมากกว่าจำนวน ส.ส.เขตที่ได้

การเลือกตั้งปี 2562 วิธีการคำนวณ ส.ส.จึงไม่มีอะไรผิดปกติ และผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้ผิดความคาดหมาย มีอย่างเดียวที่หายไป คือ กกต.ไม่พูดอะไรเลยเท่านั้น!!! (ส่วนการเลือกตั้งไม่สุจริตอื่นๆ นั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูล)

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image