คลองไทย โปรเจ็กต์ที่ยิ่งใหญ่ เคียงคู่กับ EEC ทำให้ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน : โดย ณรงค์ ขุ้มทอง

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นต้นมา การค้าโลกเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ ที่นำหลักการค้าเสรีมาเป็นกรอบในการค้าระหว่างประเทศ แต่ปัญหาเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ ประกอบกับภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้เริ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรงมากขึ้น…?

หลายภูมิภาคของโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น สหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณติดต่อกันหลายปี และปัญหาเงินเฟ้อในลาตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา บราซิล และอุรุกวัย ประสบปัญหาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจอ่อนแอ จนต้องขอรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ส่วนในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดปัญหาธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อของประชาชนลดลง บริษัทเอกชนล้มละลายเป็นจำนวนมาก แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการต่างๆ มาแก้ไข ก็ไม่สามารถฉุดรั้งให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่า ต้นตอของการเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของเอเชีย ใน ค.ศ.1977 นั้น มีประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้น โดยเรียกวิกฤตนี้ว่า “โรคต้มยำกุ้ง” และลุกลามไปยังประเทศต่างๆ

ดังนั้น การยกประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา จึงสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากรายได้ของประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการเกษตร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง และผันแปรไปตามสภาพของฤดูกาล ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งมีรายได้หลักจากผลผลิตทางการเกษตร ไม่สามารถส่งสินค้าออกให้ได้สัดส่วนกับการนำเข้า จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีหนี้สินมากขึ้น

Advertisement

และการไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจเสรีสำหรับไทย เนื่องจากบางประเทศมีข้อจำกัดด้านความรู้ ประสบการณ์ ทุนและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งเคยเป็นประเทศสังคมนิยมมาก่อน ต้องมาปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์มาเป็นระบบเสรีสำหรับไทย

การใช้นโยบายพัฒนาประเทศโดยการกู้ยืมเงินนำมาลงทุนในการอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อน การพัฒนาเส้นทางคมนาคม และการศึกษา โดยคาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีรายได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีเงินมาจ่ายคืนหนี้สิน แต่ในความเป็นจริงเงินกู้ส่วนใหญ่ได้ถูกนำไปใช้ในโครงการที่ไม่เหมาะสม ทำให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่มากพอที่จะจ่ายคืนหนี้ และสะสมหนี้มากขึ้น

การบริหารการลงทุนที่ผิดพลาด

Advertisement

ซึ่งมีโครงการหลายโครงการที่น่าลงทุนกลับไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลเช่น มีผลงานวิจัยว่า หากรัฐบาลลงทุนในโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานภายใน 35 ปีจะได้กำไรจากการประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในด้านพลังงานจำนวนมหาศาล

ตัวอย่างการลงทุนในจีน 10 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศจีน สามารถพูดได้ว่าก้าวกระโดด โดยเฉพาะการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับไทยเรา การลงทุนดังกล่าวแทบจะไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนโครงการใหญ่ๆ ระดับโลก การลงทุนที่สร้างความหวังของคนในชาติด้านรายได้และแรงงาน

ด้วยสภาพทางสังคม วัฒนธรรม การเมืองของไทยที่เอาอะไรแน่นอนไม่ได้ มีกลุ่มคนที่คอยยุแหย่ ขัดขวาง โจมตี ทำลาย ทำให้รัฐไม่กล้าเดินหน้าผลักดันโครงการใหญ่ขึ้นมา

เมื่อย้อนกลับไปดูตัวเลขหนี้ครัวเรือนโดยรวมของประเทศไทย พบว่า ปี 2561 โต 5.7% อยู่ที่ 12.34 ล้านล้านบาท และถ้าไปดูสภาพของหนี้สาธารณะช่วงสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 7 ล้านล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ของรัฐบาล 5.5 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่รัฐกู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและบริหารหนี้สาธารณะ และกู้มาเพื่อการลงทุนขั้นพื้นฐาน เช่น กู้มาเพื่อสร้างทางรถไฟทางคู่ เป็นต้น

ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ได้กำหนดสัดส่วนทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP หนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 เม.ย.2562 สัดส่วน 42.07% จึงอยู่ในกรอบสอดคล้องกับการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับสากลและในระยะปานกลาง 5 ปี คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ คาดการณ์ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในเพดานที่ไม่เกิน 60% โดยในปีงบประมาณ 2562 อยู่ที่ 43.3% ปีงบประมาณ 2563 อยู่ที่ 44.5% ปี 2564 อยู่ที่ 46% ปี 2565 อยู่ที่ 47.9% ปี 2566 อยู่ที่ 48.5% ภายใต้สมมุติฐาน GDP ขยายตัว 4%

หนี้สาธารณะคือหนี้ที่รัฐบาลกลาง หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ที่ให้รัฐบาลค้ำประกันหนี้สิน หนี้สาธารณะส่วนใหญ่มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละกรอบปีงบประมาณ ตราบใดที่เศรษฐกิจขายตัวดี ก็สามารถรองรับหนี้สาธารณะได้

ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 70% ของ GDP ถ้าเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดี ก็ไม่น่าห่วง แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องสงครามการค้า ทั้งอเมริกา จีน และยุโรป ถ้า GDP ไม่โตตามเป้าหมาย ถึงแม้หนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ในกรอบไม่เกิน 60% ก็อาจเผชิญปัญหาได้

นอกจากนี้จะต้องพิจารณาว่าหนี้ที่ไม่ปรากฏในงบประมาณ หรือหนี้ซ่อนเร้น หนี้ที่อยู่นอกงบประมาณ ซึ่งอาจเป็นภาระผูกพันในอนาคต ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบกองทุนต่างๆ เป็นหนี้กระจุกอยู่ในจุดต่างๆ โดยไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ มีการคาดการณ์กันว่า มีประมาณ 300,000 ล้านบาท ถ้ารัฐบาลยังมี
นโยบายประชานิยมแจกเงินเพื่อหาเสียง แต่เศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดหมาย หนี้สาธารณะอาจมากกว่า 60% ของ GDP ได้

และตอนนี้รัฐบาลแต่ละกระทรวงเดินหน้าทำงานผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ให้ไว้กับประชาชนเริ่มขยับตัว แต่ส่วนใหญ่จะแจกเงิน (เงินผันเงินผลาญหรือไม่นะ) บางโครงการแค่ 6 เดือน เพื่อชะลอความเดือดร้อนของประชาชน

แต่มองอีกด้านเป็นการหาเสียง ทำไปแบบให้ผ่านพ้นไป จะได้อ้างได้ว่าได้ทำตามที่ประกาศไว้แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่ยั่งยืน คงทน ถาวร ครบ 6 เดือน วงจรนี้ก็จะกลับมาเรียกร้องรัฐบาลอีก สุดท้ายรัฐบาลก็เอาเงินภาษีของประชาชนมาแจกอีก และวิธีการเช่นนี้จะวนเวียนกลับมาไม่สิ้นสุด

อันนี้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักและควรวางแผน รายได้หลักอันดับ 2 ของไทย คือการส่งออก สร้างรายได้ในปี 2561 ประมาณ 8.09 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.7% ตลาดสำคัญคือ จีน อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม ฮ่องกง มาเลเซีย สินค้าส่งออกของไทย คือ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ อัญมณี และผลิตภัณฑ์ยาง

แต่อุปสรรคที่สำคัญที่น่าจะมีผลต่อการส่งออก คือ ความขัดแย้งทางการค้าอเมริกากับจีน เหตุการณ์ในยุโรป กรณีอังกฤษถอนตัวจาก อียู ประกอบกับราคาสินค้าด้านเกษตรที่อยู่ระดับต่ำ และอ่อนไหวง่ายและด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ประเทศต่างๆ สามารถผลิตพืชพรรณธัญญาหารเองได้ ประกอบกับพืชบางชนิด เช่น ยางและปาล์ม ซึ่งเป็นพืชเชิงพาณิชย์และการเมือง เป็นพืชที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎแรมซาร์, กฎพิธีสารโตเกียวและมอนทรีออล

กฎหมายดังกล่าวกลุ่มประเทศที่ซื้อยางมักจะนำมาอ้างเพื่อกดราคายางและปาล์มให้ต่ำลง

ด้วยเหตุผลและข้อมูลข้างต้น มีอีกหนึ่งช่องทางที่รัฐบาลควรเร่งรีบดำเนินการศึกษาและตัดสินใจคือ โครงการคลองไทย คลองไทยน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกนำมาขับเคลื่อนคู่ขนานไปกับ EEC โครงการ EEC นับเป็นโครงการที่รัฐบาลนำมาขับเคลื่อน ถือว่าเป็นตัวฉุดลากความก้าวหน้าของชาติ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุนได้ไม่น้อยทีเดียว จะมุ่งมาสู่ประเทศไทยและสามารถสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมหาศาลอีกด้วย แต่ถ้ารัฐบาลนำโครงการคลองไทยมาผลักดันควบคู่ไปกับ EEC ก็น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว

จากการเปิดเผยข้อมูลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ปี 2561 มีตู้สินค้าผ่านท่า รวม 9.513 ทีอียู เพิ่มขึ้น 3.7% ดังข้อมูลดังนี้

ทกท. เรือเทียบท่า 3,243 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.413% สินค้าผ่านท่า 22,077 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.891% ตู้สินค้าผ่านท่า 1,497 ล้าน ทีอียู ลดลง 0.032% (นักธุรกิจไม่ใช่ท่าเรืออื่น)

ทลฉ. เรือเทียบท่า 11,610 เที่ยว ลดลง 1.818% สินค้าผ่านท่า 56,490 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.1% ตู้สินค้าผ่านท่า 8,016 ล้าน ทีอียู เพิ่มขึ้น 4.410%

ทขส. เรือเทียบท่า 3,614 เที่ยว เพิ่มขึ้น 24.321% สินค้าผ่านท่า 254,724 ตัน เพิ่มขึ้น 28.528%

ทชช. เรือเทียบท่า 1,083 เที่ยว เพิ่มขึ้น 60.207% สินค้าผ่านท่า 71,468 ตัน ลดลง 88.95%

ทรน. เรือเทียบท่า 288 เที่ยว เพิ่มขึ้น 19.008% สินค้าผ่านท่า 89,919 ตัน เพิ่มขึ้น 34.991%

เศรษฐกิจโลกครึ่งปีแรกของปี 2561 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันในทุกภูมิภาค เกิดจากภาวะการค้าโลกที่ดีต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่งและการส่งออกในภูมิภาคต่างๆ ถือเป็นแรงสนับสนุนที่ทำให้เศรษฐกิจในหลายภูมิภาคทั่วโลกเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดีแม้เศรษฐกิจโลกโดยรวมจะเติบโตต่อเนื่องอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาดูในช่วงครึ่งปีหลังที่อาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมลดลง ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ราคาน้ำมันที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายการคลังของสหรัฐ เสถียรภาพทาง
การเมืองในเขตยูโรโซน การเริ่มชะลอตัวและภาวะหนี้ในระบบเศรษฐกิจของจีน รวมถึงความขัดแย้งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

สำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2561 ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ GDP ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น การบริโภค รวมถึงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงอัตราค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลให้การส่งออกขยายตัวมากขึ้น สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของ กทท. (ทกท.และ ทอฉ.) ที่เติบโตสูงขึ้นทั้งปริมาณสินค้าผ่านท่าและตู้สินค้า โดยในปีงบประมาณ 2561 กทท. มีตู้สินค้าผ่านท่าทั้งสิ้น 9,513 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.685 และปริมาณสินค้าผ่านท่า 108,567 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.656 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในปี 2562 และ 2563 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามการคาดการณ์ของ IMF อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐ ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ภายนอกประเทศเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวมที่จะมีอัตราการเติบโตที่ลดลง

ถ้าเราดูข้อมูลเบื้องต้น เส้นทางการหาเงินของไทย เพื่อนำมาพัฒนาประเทศนับวันจะแคบลงและเปราะบาง ตีบตัน มากขึ้น และมีไม่กี่ช่องทาง ถ้าดูตัวเลขรายได้จากการส่งออกของไทย นั่นคือรายได้หลักที่ทำเงินเข้าประเทศ

โครงการ EEC โครงการคลองไทย คือทางเลือกสำคัญที่รัฐบาลควรเร่งพิจารณาตัดสินใจ เพราะการขนส่งทางทะเลที่จะขยายตัวและสำคัญยิ่ง กำลังมีบทบาทในการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ให้กับประเทศ ดังข้อมูลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

ณรงค์ ขุ้มทอง
ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ
กรรมการที่ปรึกษา โรงเรียนดาวนายร้อย
กรรมการยุทธศาสตร์ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image