อ.ธรณ์ ยกพะยูน “มาเรียม” โพสต์ 5 ประเด็นเตือนสติ ลอยกระทง อย่างรับผิดชอบ

นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลชื่้อดัง โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คาส่วนตัว ระบุว่า อธิบายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหากคนไทยลอยกระทงอย่างไม่เข้าใจและไม่รับผิดชอบต่อพระแม่คงคา โดยใช้พะยูน “มาเรียม” เป็นผู้รับกรรม

1. กระทงครอบหัว กระทงบางชนิดแม้ใช้วัสดุจากธรรมชาติ แต่ถ้ามีจำนวนมากและไม่ได้เก็บให้หมด อาจตกค้างหลุดลอดลงทะเล และอยู่ในทะเล 2-3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นลดจำนวนกระทง เช่น 1 ครอบครัว/1 กระทง พยายามเก็บและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

2. เหรียญในปากเป็นตัวแทนของวัสดุแปลกปลอมย่อยสลายไม่ได้ เช่น โฟม เหรียญ เศษพลาสติก ฯลฯ เมื่อลงไปตกค้างอยู่ในธรรมชาติ มีโอกาสที่สัตว์ทะเลจะกินเข้าไปสูง ควรหลีกเลี่ยงการลอยกระทงทุกแบบที่มีวัสดุไม่ย่อยสลายในธรรมชาติอยู่ในนั้น เช่น กระทงโฟม และไม่ควรใส่วัสดุไม่ย่อยสลายลงไปในกระทง เลือกกระทงที่เหมาะสม เช่น กระทงน้ำแข็ง/ดอกไม้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความเย็นทำอันตรายสัตว์น้ำ เพราะปริมาตรน้ำในแม่น้ำลำคลองเยอะกว่ามาก

3. กาบ/หยวกกล้วยติดเข็มหมุดกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ บางครั้งอาจมีวัสดุเพื่อใช้กลัด/ติด ฯลฯ ซึ่งวัสดุเหล่านี้นอกจากเป็นอันตรายต่อน้องๆ สัตว์ทะเล ยังอาจเป็นอันตรายต่อน้องๆ ลูกหลานเรา ผู้จะไปเล่นน้ำริมหาดเศษวัสดุที่แหลม อาจปักตามร่างกาย ตามจมูกน้องมาเรียมผู้ไถหน้ากินหญ้าตามพื้นทะเล และติดอยู่ตรงนั้น (ดูจมูกมาเรียมสิครับ)ก่อนซื้อกระทง สังเกตให้ดี ระวังวัสดุพวกนี้

Advertisement

4. ริบบิ้นคล้องหาง แม้กระทงบางอย่างจะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น กาบกล้วย แต่วัสดุตกแต่งที่ย่อยสลายไม่ได้ เช่น ริบบิ้น แผ่นพลาสติกประดับ ฯลฯ คือขยะทะเล ส่งผลต่อระบบนิเวศและสัตว์หายาก ลอยกระทงอย่างเคารพต่อพระแม่คงคา สังเกตให้ดี หลีกเลี่ยงกระทงแฝงขยะทะเล

5. ลอยอย่างไรไม่ให้ทำร้ายแม่น้ำ/ทะเล ไปร่วมงานลอยกระทง กระจายรายได้สู่ชาวบ้าน พกถุงผ้า ถือแก้วใช้แล้วล้าง ร่วมลอยด้วยใจ ออนไลน์ หรือใช้กระทงน้ำแข็ง จัดกิจกรรมเก็บขยะ/หรือเก็บเองแม้อยู่คนเดียวในวันนั้น ฯลฯ นั่นคือความเคารพนบนอบที่แท้จริงต่อแม่น้ำและทะเลไทย

เป็นความรักความจริงใจที่เรามีให้น้องมาเรียมและเพื่อนของเธอครับ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image