GC กระจายเมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้ ‘มหัศจรรย์ปิโตรเคมี ปี 5 : Circular Living’

กลับมาอีกครั้งกับ โครงการประกวดวาดภาพระบายสี ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่ในครั้งนี้มาในหัวข้อ ‘Circular Living หมุนเวียนสู่คุณค่าไม่สิ้นสุด’ ซึ่งในมีนักเรียนระดับประถม  และมัธยมศึกษา ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 1,051 ภาพ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการประกวดวาดภาพระบายสี มหัศจรรย์ปิโตรเคมี ได้จัดประกวดมาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งในปีนี้เป็นแนวคิดพิเศษที่เน้นเรื่อง Circular Living สะท้อนถึงความยั่งยืน การนำสิ่งของต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ โดยภายในปีนี้มีผู้เข้าประกวดมากกว่า 1,000 คน ตั้งแต่ระดับประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย เป็นความท้าทายของคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน โดยในท้ายที่สุดก็ได้คัดเลือกผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 40 คน

“จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือ อยากให้น้องๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับปิโตรเคมี แต่ปีนี้ที่พิเศษก็คือ ให้มีความเข้าใจในหลักการและก็ความรู้เรื่อง Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) ซึ่งตรงกับการที่ GC ทำเรื่อง Circular Living ต้องการ  จุดประกายให้น้องๆ นอกจากได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก คือ ได้วาดรูป ได้แสดงความคิดจากทั้งคอนเซปต์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ของน้องๆ ผนวกกับความเข้าใจ เรื่องหมุนเวียน Circular Economy เอามาร้อยเรียงสร้างเป็นภาพ สร้างเป็นงานศิลปะ ฉะนั้นได้ทั้งความสวยงาม ความเก่งและมีความหมายด้วย นอกจากได้รางวัล ได้ประกวดวาดรูปแล้ว ขอให้เด็กๆ ช่วยกันนำความรู้ ความเข้าใจไปช่วยส่งต่อให้ที่บ้าน พ่อแม่ พี่น้อง เป็นแนวร่วมของสังคมกระจายจากเล็กไปหาใหญ่ แต่ทำด้วยความจริงให้เห็นผล” ดร.คงกระพันกล่าว

Advertisement

นายวรรณรัตน์ รักพรม โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เจ้าของผลงาน ‘หมุนเวียนปิโตรเคมี เพื่อชีวีของชาติไทย Circulating of Thailand’ กล่าวว่า สำหรับผลงานนี้ ได้ใช้ความถนัดด้านงานจิตรกรรมไทย มาผนวกกับหัวข้อที่ได้รับมาคือ ‘Circular Living การหมุนเวียนที่ไม่มีสิ้นสุด’ โดยคิดว่าจะเป็นอย่างไร  ถ้าใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีการไตร่ตรอง จะเกิดขยะล้นโลก จะเกิดภาวะโลกร้อน ถ้าคนในชุมชน คนหลายๆ คน เกิดการคิด  เกิดการไตร่ตรองว่าเราควรจะใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ก็จะสามารถช่วยลดโลกร้อน หรือว่าช่วยทำให้ขยะกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

Advertisement

“ผมถ่ายทอดโดยจำลองให้คนในชุมชนของตัวเอง คือ จังหวัดสงขลา มาผนวกกับประเพณีบ้านเกิด คือ เรือพระ เดิมที่ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ในงานของผมก็นำพลาสติกมาทำ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจว่าเราได้นำพลาสติกมาใช้อย่างคุ้มค่า หลอดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว นำมาประกอบตกแต่งเรือพระ นอกจากนี้ขวดพลาสติกยังสามารถนำมาใช้เป็นกระถางต้นไม้ มีการเล่าเรื่องการแยกขยะ และที่สำคัญคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ของ GC ที่สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ” นายวรรณรัตน์กล่าว  ทั้งนี้สำหรับการประกวดมหัศจรรย์ปิโตรเคมีในปีหน้ายังคงดำเนินต่อไป ส่วนโจทย์จะเป็นอย่างไร เยาวชนที่สนใจเข้าประกวด สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ที่เพจ PTTGC : มหัศจรรย์ปิโตรเคมี

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image