นักวิชาการ ด้านสิ่งแวดล้อม แฉเส้นทาง ขยะพลาสติก ตปท. นำเข้าไทย จำนวนมหาศาล

นักวิชาการ ด้านสิ่งแวดล้อม แฉเส้นทาง ขยะพลาสติก ตปท. นำเข้าไทย จำนวนมหาศาล

ตามที่ รัฐบาลและภาคเอกชนต่างๆ ออกมารณรงค์ในการลดขยะพลาสติก ทำให้เกิดมาตรการต่างๆ เช่น การยกเลิกแจกถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อชื่อดังต่างๆ ตลอดจนการเซ็นเซอร์ถุงพลาสติกในโทรทัศน์บางช่องนั้น

เมื่อวันที่ 4 มกราคม นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า สาเหตุที่ขยะพลาสติกถูกนำเข้าประเทศไทยได้จำนวนมาก

1.กลางปี 2560 ประเทศจีนประกาศยกเลิก การนำเข้าขยะอุตสาหกรรม หรือขยะรีไซเคิล โดยเฉพาะเศษพลาสติกและกระดาษที่ยังไม่แปรรูป ดังนั้นประเทศที่เคยส่งขยะไปยังประเทศจีน เพื่อรีไซเคิล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรปและอเมริกา เป็นต้น ไม่สามารถนำเข้าประเทศจีนได้อีกต่อไป จึงมุ่งมายังประเทศในแถบอาเซียน เนื่องจากกฎหมายไม่ได้มีความเข้มงวดมากนัก แถมยังมีบางประเทศมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศด้วย

2.ประเทศไทยมีคำสั่ง คสช .ฉบับที่ 4/2559 กำหนดให้โรงงานประเภท101 (ปรับคุณภาพของเสียอันตราย),โรงงานประเภท 105(คัดแยกกากของเสียอุตสาหกรรม) และโรงงานประเภท106 (รีไซเคิลกากอุตสาหกรรม)สามารถตั้งโรงงานได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องมีผังเมืองบังคับ โดยเฉพาะโรงงานประเภท105และ106ไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอ และเพียงนำแค่รายละเอียดโครงการไปปิดประกาศที่สถานที่ราชการ 3 แห่ง หากประชาชนไม่คัดค้านในเวลาที่กำหนดไว้ ก็สามารถออกใบอนุญาต หรือใบรง.4 ได้เลย ดังนั้นโรงงานประเภทดังกล่าวจึงตั้งได้ไม่ยากนัก เอื้อต่อการลงทุน ซึ่งรัฐบาลหวังจะให้โรงงานดังกล่าวคัดแยกและรีไซเคิลขยะในประเทศให้มากที่สุด แต่ข้อเท็จจริงกลายเป็นโรงงานของต่างชาติ ที่ซื้อขยะจากต่างประเทศมารีไซเคิล

Advertisement

3.ประเทศไทยไม่มีมาตรการ หรือกฎหมายบังคับให้ประชาชนแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำเพียงแค่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเท่านั้น จึงไม่เกิดการแยกขยะที่ครัวเรือนเท่าที่ควร ขยะพลาสติกจึงถูกทิ้งปะปนไปกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ทำให้ขยะพลาสติกดังกล่าว ไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานรีไซเคิล เนื่องจากต้องไปสร้างโรงคัดแยก บดย่อย และทำความสะอาดพลาสติกอีก ซึ่งยุ่งยากและต้นทุนสูง

4.ประเทศไทย ยังไม่ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.การส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ศ.2522 ที่ห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ดังนั้นหากเป็นเศษพลาสติกที่สะอาด ไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน 2.0 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขการนำเข้า ก็สามารถนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการลักลอบนำขยะเศษพลาสติกเข้าประเทศไทย ผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังจำนวนมากอีกด้วย

5.ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ตั้งแต่ต้นปี ทำให้โรงงานรีไซเคิลในประเทศ นำเข้าเศษพลาสติกได้มากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกในประเทศของต่างประเทศจะราคาถูกกว่า สามารถนำมาผลิตสินค้าได้เลย

Advertisement

6.ดังนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขต้องทำงานร่วมกัน หาเจ้าภาพและกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image