‘อ.ธรณ์’ โพสต์ภาพพะยูน-เต่า ที่คุระบุรี ขอบคุณทุกภาคส่วน ช่วยดูแลสัตว์ทะเลหายาก

‘อ.ธรณ์’ โพสต์ภาพพะยูน-เต่า ที่คุระบุรี ขอบคุณทุกภาคส่วน ช่วยดูแลสัตว์ทะเลหายาก

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thon Thamrongnawasawat”  ระบุว่า “กรมอุทยานฯ สำรวจพบพะยูนที่คุระบุรี พังงา มีภาพถ่ายชัดเจนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี เย้ ! #พะยูนพังงา

เมื่อปีที่แล้ว มีพะยูนตายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงน้องมาเรียม จนกลายเป็นกระแส เกิดแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ #มาเรียมโปรเจ็ค

แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างการเข้าครม. แต่หลายอย่างเดินหน้าไปแล้ว เช่น โรงพยาบาลสัตว์ การจัดการพื้นที่จังหวัดตรัง ศูนย์เรียนรู้พะยูน ฯลฯ

ในส่วนการสำรวจ เราพอทราบว่าพะยูนในไทยมี 250 ตัว ประมาณ 200 ตัวอยู่แถวตรัง-กระบี่ ที่เหลือกระจายไปอีก 11 แห่งทั่วประเทศ

Advertisement

จุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก อยู่แถวแหลมไม้ตาย คุระบุรี พังงา เพราะมีรายงานการพบพะยูนหลายครั้ง

ยังรวมถึงพะยูนตัวหนึ่งที่ตายในปีที่แล้วในพื้นที่แถบนี้ ?

ในคณะทำงานสัตว์ทะเลหายาก เราพูดคุยกันเรื่องการสำรวจในพื้นที่อื่นๆ เพื่อหาทางจัดการรักษาพะยูนไว้ให้เร็วที่สุด

Advertisement

ท่านรมต.กระทรวงทรัพยากรฯ ให้ความสำคัญและกำชับให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยกันดูแลสัตว์ทะเลหายากโดยเร่งด่วน

กรมอุทยานทำงานต่อเนื่อง จนเมื่อเครือข่ายคนรักทะเลในพื้นที่แจ้งการพบร่องรอยที่คุระบุรี ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานทางทะเลที่ 2 รีบตรวจสอบตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อน พบร่องรอยหากิน (ดูภาพร่องรอยหากินประกอบนะจ๊ะ)

การหากินพะยูนจะเข้ามาตอนน้ำขึ้น หายใจเฮือกแล้วดำน้ำ เอาปากไถไปตามพื้นเพื่อกินหญ้าทะเล จนเห็นเป็นรอยไถ

ปรกติจะเข้ามากินที่เดิม จากนั้นก็ย้ายไปที่อื่นเพื่อรอให้หญ้าโตขึ้นมาใหม่ แล้วกลับมากินที่เดิมอีกครั้ง

เมื่อพบร่องรอยแน่ใจ กำหนดพื้นที่ได้ ทีมงานจึงใช้โดรนสำรวจในพื้นที่ จนท้ายสุด มีเฮครับ

เราพบพะยูนกำลังหากินในแหล่งหญ้าทะเลแถวนั้น ยังมีเต่าอีก 2 ตัวด้วยนะ เย้ ! ?

การสำรวจครั้งนี้ช่วยยืนยันการพบพะยูนอย่างเป็นทางการในพื้นที่ ทำให้เราสามารถเดินหน้าการอนุรักษ์ไปได้อีกขั้น

ยังรวมถึงยืนยันความสมบูรณ์ของแหล่งหญ้าทะเลในคุระบุรี ว่ามีความสำคัญมากต่อสัตว์หายากทั้งพะยูนทั้งเต่า และต่อการทำมาหากินอย่างพอเพียงของผู้คนในชายฝั่งทะเล

การทำงานต่อจากนี้จึงจะเน้นหนักยิ่งขึ้น การร่วมมือกับพี่น้องชาวบ้านแถบนั้น การประสานกับอุทยานและเขตอนุรักษ์อื่นๆ ตลอดจนการวางแผนใช้โมเดลจากตรัง-กระบี่ มาเป็นต้นแบบในการรักษาพะยูนที่พังงา

เรื่องนี้สำคัญมาก จึงนำมาบอกเพื่อนธรณ์ว่า ทุกอย่างกำลังก้าวไป ทั้งพี่น้องชาวบ้านและหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนกำลังช่วยกัน

เมื่อมาเรียมโปรเจ็คผ่านครม. เราคงได้รุดหน้าเร็วขึ้นอีกเยอะ เพื่อช่วยรักษาเพื่อนๆ ผู้น่ารักในทะเลเหล่านั้น

ขอบคุณกรมอุทยานฯ มากครับ โดยเฉพาะ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานฯ ทางทะเล จังหวัดภูเก็ต ที่ดูแลพื้นที่ภูเก็ต/พังงา/ระนอง

นอกจากช่วยดูแลเต่ามะเฟืองเต็มที่ พี่ๆ ยังช่วยมาสำรวจ/อนุรักษ์พะยูน ได้ใจจริงๆ ครับ

ในส่วนของเพื่อนธรณ์ ช่วยกันได้เสมอ ลดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง เก็บขยะเท่าที่ทำได้ เข้าใจและให้กำลังใจคนดูแลทะเล

แค่นี้เราก็มีส่วนช่วยดูแลพะยูน/สัตว์หายากให้อยู่ทะเลไทยไปตลอดกาล

ทุกคนช่วยทะเลได้จริงๆ ครับ ?

ภาพ – กรมอุทยานฯ ขอบคุณครับ”

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

กรมอุทยานฯ สำรวจพบพะยูนที่คุระบุรี พังงา มีภาพถ่ายชัดเจนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี เย้ ! #พะยูนพังงาเมื่อปีที่แล้ว…

โพสต์โดย Thon Thamrongnawasawat เมื่อ วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2020

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image