กรณีรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดขของไวรัสโควิด-19 โดยการมอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ให้แก่แรงงานนอกระบบ
อ่าน : เปิดโฉม เว็บ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ พร้อมให้ลงทะเบียนรับเงินโควิด 6 โมงเย็นวันนี้
อ่าน : คลิกเลย 6 โมงเย็นนี้ !! ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาโควิดเดือนละ 5 พันบาท
โดยจะเริ่มให้ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในเวลา 18.00 น. วันที่ 28 มีนาคม ไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาของทั้ง 3 ธนาคาร คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าว จะแจ้งรายละเอียดคุณสมบัติ หลักฐานและวิธีรับเงิน ดังนี้
คุณสมบัติ
– สัญชาติไทย และอายุ 18 ปีขึ้นไป
– แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ
– ผู้ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33
– ผู้ที่ได้รับผลกระทบ COVID-19
หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชน
– ข้อมูลส่วนบุคคล
– ข้อมูลการประกอบอาชีพ
– ข้อมูลนายจ้าง (กรณีมีนายจ้าง)
วิธีรับเงิน
โอนเข้าบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมี หรือ
พร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนกับธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมี
โดยระบบจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาได้เร็วสุด 7 วันทำการ
จากนั้นให้คลิก “ลงทะเบียนชดเชยรายได้” (จะเริ่มใช้งานได้ในเวลา 18.00 น.)
ส่วนด้านล่างของเว็บไซต์ ปรากฏว่าข้อความว่า มาตรการดูแลและเยียวยาอื่นๆ สำหรับแรงงานลูกจ้าง
ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระ รวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
อาทิ
- โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน
- โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสำนักงานธนานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมฯ
- มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยฯ
- มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กัมพูชาแถลง โต้ ณวัฒน์ แจงยาว 3 ชม.ยังไร้หลักฐาน ข้องใจหลินไห้ทำไม ยันดูแลดีมาก
- ‘อาเซียน’ ทึ่ง ‘นายกฯอิ๊งค์’ ผู้นำอายุน้อยที่สุด สภาพสตรีคนเดียว ในเวที ประชุมอาเซียน
- คนตกสีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง : ช้างตายทั้งตัว กับสองขั้วแห่งอุดมคติและทางปฏิบัติ
- โพลชี้ คะแนนนิยม ‘แฮร์ริส’ นำ ‘ทรัมป์’ ลดลง แต่เชื่อมือทรัมป์เรื่องเศรษฐกิจ