ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เม.ย. ลดฮวบเป็นประวัติการณ์ แนะรัฐเร่งรีสตาร์ทธุรกิจ หวังเศรษฐกิจฟื้นไตรมาส 3

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เม.ย. ลดฮวบเป็นประวัติการณ์ แนะรัฐเร่งรีสตาร์ทธุรกิจ หวังเศรษฐกิจฟื้นไตรมาส 3

 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนเมษายน 2563 ว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการหอการค้า ประธาน และรองประธานหอการค้าไทยทั่วประเทศ จำนวน 364 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22-29 เมษายน 2563 พบว่า ดัชนีฯ มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับ 32.1 จากระดับ 37.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับดัชนีที่ต่ำสุดในรอบ 28 เดือน สาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีผู้ติดดชื้ออย่างต่อเนื่อง และการใช้มาตรการล็อดาวน์ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ

 รวมถึงการประกาศพ...ฉุกเฉิน เพื่อสั่งปิดกิจการบางประเภท ความกังวลสถานการณ์ภัยแล้ง และปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิดการปิดธุรกิจไป การขาดรายได้และสภาพคล่องของภาคธุรกิจขนาดเล็กและกลาง(เอสเอ็มอี) มีมากขึ้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย ขณะนี้ที่ปัจจัยบวก อยู่ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการในภาคเอกชนของรัฐบาล การส่งออกไทยที่เพิ่มขึ้น และดัชนีหุ้นไทยที่ปรับระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงระดับราคาน้ำมันที่ใช้ทั่วไป ปรับราคาลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีฯ ในภาวะปัจจุบันปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 25.9 ซึ่งถือว่าค่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำการสำรวจในวันที่1 มกราคม 2561 หรือประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา และดัชนีฯ อนาคตลดลงมาอยู่ที่ 38.4

นายธนวรรธน์กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของจังหวัดในเดือนนี้ ปัจจุบันมองว่าในทุกประเด็นอยู่ในระดับแย่ลงทั้งหมด อาทิ เศรษฐกิจในภาพรวม การบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และบริการต่างๆ ส่วนคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า มองว่ามีแนวโน้มจะดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน แต่กลุ่มที่มองว่ามีแนวโน้มแย่ลงก็มีอยู่แม้จะเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าก็ตาม โดยดัชนีฯ ในภาพรวม มีภาคการท่องเที่ยวที่มีความเชื่อมั่นลดลงมากสุดอยู่ที่ 7.3 จุด ทำให้ดัชนีมาอยู่ที่ระดับ 26.1 จากเดิมที่ 33.4 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นดัชนีที่ปรับลดต่ำสุดในภาครวมรองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรม ลดลงมาอยู่ที่ 32.9 หรือลดลง 6.4 จุด จากเดิม 39.3 ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 34.3 ลดลง6.1 จุด จากเดิมที่ระดับ 40.4 โดยดัชนีฯ ยังคงอยู่ในแดนสีแดง ซึ่งเป็นแดนที่ต้องเตือนภัย เพราะอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติค่อนข้างสูง

 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเมื่อแยกไปตามภูมิภาคต่างๆ อาทิ กรุงเทพและปริมณฑล พบว่าดัชนียังคงปรับตัวลดลงแบบหัวชันค่อนข้างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากความกังวลการแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิต ประชาชนบางส่วนขาดรายได้จากการเลิกกิจการของธุรกิจที่ประสบปัญหาจากโควิด-19 และการประกาศ ... ฉุกเฉิน โดยปัจจัยที่อยากให้แก้ไขคือ เร่งการเปิดเมือง และให้ธุรกิจกลับมาดำเนินได้ตามปกติ ช่วยเหลือด้านการขาดสภาพคล่องของธุรกิจที่ต้องปิดชั่วคราวตาม .. ฉุกเฉิน และรัฐบาลเร่งเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุม รวมถึงภูมิภาคอื่นๆ ที่ดัชนีฯยังคงมีความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

Advertisement

ดัชนีฯที่ปรับลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุเกิดจากทุกธุรกิจที่ถูกปิดหมด ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากสุดเป็นธุรกิจในอุตสากกรรมการท่องเที่ยว ที่ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวในอนาคต เพราะเชื่อว่าภาคการท่องเที่ยวจะเป็นส่วนสุดท้ายที่จะกลับมาเริ่มต้นใหม่ (รีสตาร์ท) ตามปกติ โดยผลกระทบต่อมาเป็นเรื่องการจ้างงานที่ลดลงสูงมากทั้งการจ้างงานในแต่ละจังหวัด และการจ้างงานภาพรวม เนื่องจากการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยว การเดินทาง และการจับจ่ายใช้สอยหายไปจำนวนมาก จึงเกิดคำถามว่า แล้วเศรษฐกิจจะมีสัญญาณการฟื้นตัวได้หรือไม่ภายใน 6 เดือนนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มองว่าเศรษฐกิจหลังโควิด-19 จะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ภายใน 6-9 เดือนนี้ ซึ่งหอการค้าก็ประเมินว่าสถานการณ์น่าจะเป็นในลักษณะชะลอตัวต่อเนื่องโดยคนส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวได้ยากมากขึ้น หลังจากมีล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ต่อเนื่องจากที่เริ่มต้นล็อกดาวน์ในกรุงเทพก่อน ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความบอบช้ำมากขึ้นนายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หากรัฐบาลมีการคลายล็อกดาวน์ และอนุญาตให้กลุ่มธุรกิจประเภทอื่นกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ในเฟส 2 ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้ และอนุญาตเฟส 3 ในเดือนมิถุนายนนี้ ภายใต้การควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ให้กลับมาระบาดใหม่รอบ 2 ได้ โดยหากเริ่มต้นใหม่ได้ตามที่คาดไว้ จะทำให้การจ้างงานจากเดิมที่คาดว่าจะตกลงประมาณ 7 ล้านคนเหลือเพรยง 3 ล้านคนเท่านั้น เพราะเชื่อว่าจะเริ่มมีการตึงแรงงานให้กลับมาทำงานตามปกติ

 โดยเศรษฐกิจจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือประมาณเดือนกันยายนนี้ และดีมากขึ้นในไตรมาส 4 หากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาได้ ก็จะฟื้นแบบเด่นชัดมากขึ้น โดยภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐประสานกับธนาคาร เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมากขึ้นได้ เนื่องจากหากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ก็ต้องมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องมีเงินทุนเข้ามาช่วยสนับสนุนใหม่ ในขณะที่ตอนนี้เริ่มเห็นปริมาณฝนตกมากขึ้น จึงมองว่ารัฐบาลน่าจะสนับสนุนให้เกิดการขุดบ่อน้ำเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในปี 2564 ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ ทั้งยังจัดอยู่ในหมวดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

Advertisement

 หากสามารถอัดเงินฉีดเม็ดเงินผ่านมาตรการต่างๆ ในการฟื้นเศรษฐกิจได้ภายในไตรมาส 3 นี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจพร้อมที่จะทะยานขึ้น ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ติดลบเพียง 3.5-5% แทนที่จะติดลบถึง 8.8%

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image