มะเร็งเต้านม ผู้ชายก็เป็นได้

มะเร็งเต้านม ผู้ชายก็เป็นได้

มะเร็งเต้านม – หลายคนคิดว่ามะเร็งเต้านม เกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน จากสถิติพบว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมา จะเป็นเพศหญิง 100 คน และจะเป็นเพศชาย 1 คน

นพ.สุชาติ กฤตสิงห์ ศัลยแพทย์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทย์ประจำโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เผยว่า มะเร็งเต้านม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนส์ เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น ประจำเดือน หรือลักษณะการใช้ชีวิต การมีบุตรช้า ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการใช้ยาต่างๆ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับฮอร์โมน ซึ่งผู้หญิงอายุ 50 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่าง การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ และไม่ออกกำลังกาย

“ส่วนใหญ่คนที่มาพบแพทย์ จะมาด้วยสาเหตุ คลำเจอก้อนที่เต้านม นอกจากนี้ ยังพบเลือดออก หรือมีน้ำผิดปกติออกจากหัวนม ที่ไม่ได้มาจากการตั้งครรภ์และให้นมบุตร บางรายเจ็บหรือปวดที่เต้านม หากพบควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มาก

หากพบระยะแรก ทำให้เสียชีวิตลดน้อยลง ตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป และตรวจด้วยตัวเองสม่ำเสมอ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน ให้นอนราบในท่าสบาย ใช้ผ้าขนหนูม้วนหรือใช้หมอนรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่ตรวจ ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ ใช้มืออีกข้างคลำให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้ ท่ายืนหน้ากระจก ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียมเต้านมทั้ง 2 ข้าง ยกแขนขึ้น 2 ข้างประสานกันเหนือศีรษะ สังเกตรอยดึงรั้ง หรือรอยบุ๋ม มื้อท้าวเอวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า”

Advertisement
นพ.สุชาติ กฤตสิงห์ ศัลยแพทย์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทย์ประจำโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ จั

ส่วนทิศทางการคลำนั้น นพ.สุชาติ เผยว่า สามารถคลำแบบก้นหอย หรือแบบตามเข็มนาฬิกา จากหัวนม วนออกตามเข็มนาฬิกา ไปจนถึงรักแร้ คลำแบบแนวนอนขึ้นลงขนาบกับลำตัว คลำโดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำสลับขึ้นลงไปมาทีละแถวให้ทั่วทั้งเต้านม คลำแบบรัศมีรอบเต้านมหรือคลำแนวคลื่น เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมเข้าหาฐานหัวนม และทำซ้ำเป็นรัศมีรอบเต้านม

สำหรับผู้ที่อายุน้อยนั้น นพ.สุชาติเผยว่า อาจใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวด์ สามารถบอกได้ว่าเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และการตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัลเมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ หาเนื้อเยื่อได้อย่างละเอียด ทำให้พบมะเร็งระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว ทั้งนี้ การผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้น ไม่ได้ส่งผลกระตุ้นต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โดยผู้ที่เสริมหน้าอก สามารถคัดกรองด้วยวิธีเมมโมแกรมได้ เพื่อตรวจให้ละเอียดเพราะมีซิลิโคนขวางอยู่

รู้ลึกเรื่องมะเร็งเต้านม

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image