ผู้เลี้ยงไข่ไก่ โชว์วิธีแก้ปัญหาล้น-ราคาตก แนะแทรกแซงซื้อเท่าราคาทุนจากรายย่อย

นายชัยพร สีถัน กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่แห่งประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดและราคาตกต่ำ ผ่าน 3 มาตรการคือเร่งส่งออก รณรงค์บริโภคในประเทศ ที่มีเป้าหมายรวมกัน 215 ล้านฟองภายใน 6 เดือน และลดพ่อแม่พันธุ์ ว่า ส่วนตัวเชื่อว่าไม่ง่ายและได้ผลโดยเร็วในการลดปริมาณส่วนเกินและดึงราคาได้สูงขึ้น โดยในแนวทางเร่งส่งออก ไม่ง่ายแล้วในเวลานี้ เพราะผลจากรัฐห้ามส่งออกเป็นเวลานานนับเดือนในช่วงเกิดภาวะโควิด-19ระบาดไปทั่วโลกและประเทศเพื่อนบ้านหรือในเอเชียต้องการไข่ไก่จากไทย ทำให้ต้องหันไปซื้อประเทศอื่นทดแทน จนถึงวันนี้

” ซึ่งผลจากห้ามส่งออกสร้างความเสียหายแล้ว 1 หมื่นล้านบาทในช่วงเวลาสั้นๆเพียง 1 เดือน แต่ตอนนี้เราจะใช้เวลา 6 เดือนที่จะระบายไข่ไก่ 200 ล้านฟองที่ค้างสต๊อก ขณะที่ผลผลิตใหม่ออกสู่ตลาดทุกวันเฉลี่ย 6 ล้านฟอง ซึ่งเกินจากส่วนต่างปกติที่เกินอยู่ 3 ล้านฟอง และส่วนเกินที่หายไปจากการปิดโรงเรียน ปิดสถานบริการและห้าง การจะฟื้นตลาดส่งออกก็ต้องใช้เวลา ” นายชัยพร กล่าว

นายชัยพร กล่าวต่อว่า ส่วนการบริโภคในประเทศยังเชื่อว่ามีอยู่ต่อเนื่อง แต่ทางจิตวิทยาเพื่้อเห็นว่าไข่าระบาดไปต่างประเทศได้ลดลง ก็ทำให้เกิดการชะงักการซื้อในส่วนพ่อค้าคนกลางและค้าปลีก ทำให้ราคาดิ่้งลง อย่างวันนี้ มีประกาศว่ารัฐจะช่วยฟองละ 50 สตางค์/ฟอง กับมาตรการช่วยเพื่้อราคา ยิ่งทำให้ราคาไข่ไก่ลดลงทันที 20 สตางค์/ฟอง

” วิธีการที่อยากเสนอคือ รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ ตั้งโต๊ะรับซื้ออุดหนุนราคาซื้อเท่ากับต้นทุนผลิต2.69 บาท/ฟอง จากเกษตรกรรายย่อยประมาณ 2,000 ราย ที่มีผลผลิตรวมประมาณ 10-15 ล้านฟอง/วัน จากผลผลิตรวมต่อวัน 40-14 ล้านฟอง โดยนำส่วนนี้ไปบริหารจัดการว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งขายในประเทศหรือส่งออก ก็จะเป็นการกดดันตลาดให้ราคาขยับขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และทำอยู่กับการให้ผู้ผลิตที่มีพ่อพันแม่พันธุ์ลดปริมาณไก่ยืนกรง 50 % และคุมปริมาณพ่อแมพันธ์ที่ออกสู่ตลาด จนราคาเกิน 2.70 บาท/ฟอง ก็หยุดอุดหนุน เป็นการช่วยตรงและเพิ่มอำนาจตลาดให้เกษตรกรรายย่อย ดูว่าไข่ไก่ล้นตลาดก็ยังไม่เห็นการนำไข่ออกมาทิ้งเหมือนสินค้าอื่นๆ จึงเชื่อว่าตลาดไข่ไก่ยังมีอยู่ เพียงช่วยตรงจุด ” นายชัยพร กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image