อ่าน‘ประชาธิปไตย’ 88 ปี หลากมิติแห่งชีวิต

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2563

คือข้อความบนหน้ากระดาษมุมบนด้านขวาของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้

ย้อนกลับไปในวันเดียวกันในพุทธศักราช 2475

เหตุการณ์ในช่วงเวลา ย่ำรุ่งž สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

Advertisement

88 ปีแห่ง ประชาธิปไตยž ก่อเกิดวิถีใหม่ในหลากหลายมิติของชีวิต ทั้งมุมมอง วิธีคิด การเมือง การปกครอง อีกทั้งศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม

ไม่ว่าจะเดินหน้า หยุดนิ่ง ถอยหลัง ก็ถูกจดจารไว้ในงานวรรณกรรมให้ได้ อ่านž วิเคราะห์ ขบคิด กันในวันนี้ ก่อนก้าวต่อไปในปี 89

ต่อไปนี้ คือผลงานคุณภาพเสริมประชาธิปไตยจากค่าย สำนักพิมพ์มติชน ที่ครบถ้วนทั้งแง่มุมรัฐศาสตร์ พลวัตร่วมสมัย ประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างชาติไทยในงานศิลป์ กระทั่งย้อนอดีตวีรกรรมคณะราษฎรที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์สำคัญของโลก

Advertisement

When We Vote เจาะพลวัตประชาธิปไตยใน อาเซียนž

เริ่มต้นด้วยผลงานสำรวจและศึกษาพลวัตทางการเมืองในกลุ่มประเทศอาเซียน โดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ โอปป้าแห่งวงการรัฐศาสตร์ อาจารย์รั้วแม่โดม ที่จะพาผู้อ่านดำดิ่งถึงข้อมูลลึกในกระบวนการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2010 ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ไม่เพียงเท่านั้นยังเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศเพื่อนบ้าน และย้อนกลับมาทบทวนสถานการณ์การเมืองการเลือกตั้งของไทย ครบจบในเล่ม When We Vote: พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน

เอเชียอาคเนย์เป็นกลุ่มประเทศที่ถูกละเลยŽ

คือประโยคสำคัญในคำนิยมโดย รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวนสวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอ้างอิงจากวรรณกรรมในรัฐศาสตร์อันบ่งชัดว่า สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว แม้จะมีการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันอยู่สม่ำเสมอ ประเทศส่วนใหญ่ยังคงอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมที่หยั่งรากลึก

คำอธิบายหนึ่งคือ การเลือกตั้งในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งภายใต้ระบอบอำนาจนิยมที่ยอมให้มีการแข่งขัน (competitive authoritarianism) (Levitsky, S., & Way, L. 2010)ž

อุษาคเนย์ร่ำรวยในเชิงประวัติศาสตร์ หลากหลายด้วยเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา เข้มข้นทางศิลปะ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม แตกต่างกันมากมายในระบบความเชื่อ ค่านิยมทางสังคม ระบบและระบอบการเมือง แต่ในด้านการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบทางการเมืองแล้ว กลับพบว่าเอเชียอาคเนย์เป็นกลุ่มประเทศที่ถูกละเลย โดยสองประเทศที่มักถูกหยิบยกเป็นตัวอย่างของระบอบอำนาจนิยมที่ยอมให้มีการแข่งขัน คือกัมพูชาและสิงคโปร์

ในขณะที่สองประเทศในเอเชียอาคเนย์ที่นับได้ว่าการเลือกตั้งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางประชาธิปไตย ได้แก่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

ในฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 เป็นต้นมา …ระบบการเมืองหลังยุคประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จะเป็นประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์และครอบงำด้วยตระกูลการเมือง (dynastic politics) แต่ฟิลิปปินส์ก็มีการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดี การเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และการเลือกตั้งท้องถิ่น

หลังการลงจากอำนาจของประธานาธิบดี ซูฮาร์โต และ the New Order ล่มสลาย การเลือกตั้งอินโดนีเซียในปี ค.ศ.1999 เป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญ ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศอิสลามที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ที่สามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคง ด้วยฉันทามติทางการเมือง ผลการเลือกตั้งในอินโดนีเซียผลัดเปลี่ยนบังเหียนที่คุมอำนาจทางการเมืองอย่างสงบมาแล้วถึง 5 ครั้ง ผ่านระบบหลายพรรคการเมือง

เป็นน้ำจิ้มเรียกน้ำย่อยที่ชี้ชวนให้อยากทำความเข้าใจในการเมืองร่วมสมัยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวันนี้

ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎรเข้มหมือนเดิม เพิ่มเติมข้าวของเครื่องใช้ž

กลับมาอีกครั้งสำหรับหนังสือเก่าที่ไม่เคยเอาต์จากความทรงจำ อย่าง ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎรž โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ว่าที่ศาสตราจารย์ (ดร.) ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร นับจากพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2552 แต่เสียงเรียกร้องไม่เคยแผ่ว เมื่อกลับมาพิมพ์ซ้ำในศักราชครบรอบ 88 ปีประชาธิปไตย ยังคงเข้มข้นเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือ ข้าวของเครื่องใช้ในยุคคณะราษฎร ซึ่งเจ้าตัวเคยเป็นภัณฑารักษ์ใน นิทรรศการของ (คณะ) ราษฎรž มาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน

ความสำคัญของข้าวของเหล่านี้ ไม่ใชแค่ของเก่าล้ำค่ามาอวดโชว์ หากแต่มีความหมายล้ำลึกและกว้างไกลไปกว่านั้นมาก

การศึกษาประวัติศาสตร์ 2475 และคณะราษฎรในวงวิชาการไทยปัจจุบัน ผมคิดว่าสถานภาพ ณ ตอนนี้ จะมีลักษณะดีเบตกัน ก็คือว่าจะมีการพูดว่าคณะราษฎรเป็นกลุ่มบุคคลที่ชิงสุกก่อนห่าม และการปฏิวัติเมื่อปี 2475 ก็เป็นเพียงการแย่งอำนาจของกลุ่มบุคคลเล็กๆ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ คนไทยโดยส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดไม่ได้รับรู้ และก็ไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลง 2475 เลย

ในขณะอีกที่กลุ่มหนึ่งก็พยายามจะโต้ว่าการเปลี่ยนแปลง 2475 มีลักษณะที่ก้าวไกลลงไปถึงรากหญ้ามากกว่าที่ฝ่ายแรกนำเสนอ ด้านการดีเบตแบบนี้ผมคิดว่าข้าวของเครื่องใช้ของคนธรรมดาสามัญที่ผมกล่าวไว้ในหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มันเป็นหลักฐานชิ้นใหม่และก็เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะทำให้ข้อโต้แย้งของฝ่ายหลัง ที่เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 2475 มีลักษณะซึมลึกและก้าวไกลลงไปสู่ประชาชนคนธรรมดาสามัญมากกว่าที่ใครหลายคนคิด และการเปลี่ยนแปลง 2475 ก็ไม่ใช่การชิงสุกก่อนห่าม แล้วก็ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มคนเล็กๆ ที่ไม่มีใครสนใจเลยในช่วงเวลานั้น สิ่งของเหล่านี้จะเป็นหลักฐานสำคัญและเป็นตัวยืนยันข้อเสนอตรงนี้Ž

คือคำอธิบายของ รศ.ดร.ชาตรี ที่บอกกับ สำนักพิมพ์มติชนž

ด้าน ประชา สุวีรานนท์ นักออกแบบเจ้าของรางวัลศิลปาธร ระบุไว้ในคำนำเสนอของหนังสือเล่มนี้อย่างน่าสนใจว่า

หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งยุคประวัติศาสตร์ศิลป์เสียใหม่ โดยเริ่มจากการอธิบายว่าศิลปะ-สถาปัตยกรรมของคณะราษฎรมีความแตกต่างหรือเหมือนกับยุคอื่นๆ ที่ตรงไหน และตั้งอยู่บนฐานความคิดเดียวกันคือการวิพากษ์วิจารณ์และประเมินคุณค่าในเชิงสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งบทบาทที่เกี่ยวพันกับสังคมการเมือง

คอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นเทคนิคและวัสดุแบบใหม่ได้ทำให้การออกแบบเปลี่ยนรูปไปคือมี การลดทอนŽ เกิดขึ้นกับศิลปะไทยแบบดั้งเดิม ผู้เขียนเห็นว่าการที่หน้าจั่ว ช่อฟ้า ใบระกา และลายไทยถูกทำให้ง่ายขึ้นหรือมีลวดลายที่ผิดแปลก เป็นการทำลายฐานานุศักดิ์หรือความสูง-ต่ำในทางศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบเดิมของไทยลงไป กลายเป็นสไตล์ใหม่ที่มีชื่อว่า สถาปัตยกรรมเครื่องคอนกรีตŽ เมื่อปราศจากความสูง-ต่ำและมีความสอดคล้องกับการลดทอนซึ่งเป็นสุนทรียภาพแบบใหม่ การเชิดชูสามัญชนและความเสมอภาคจึงเข้ากันได้กับความเป็นไทยแบบใหม่

หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นงานที่ผู้เขียนทำให้วัตถุสิ่งของ พูดได้Ž โดยเฉพาะในแง่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม คล้ายกับวิชาในอดีตที่เรียกว่า คิดด้วยของŽ หรือ Object Lesson ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำให้การเล่าของเขาน่าสนใจและติดตาม

และแน่นอน ผู้อ่านจะได้มองสิ่งก่อสร้าง อนุสาวรีย์ และสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นศิลปะสกุลนี้ ด้วยสายตาและความเข้าใจแบบใหม่ž

ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร เวอร์ชั่นปกแข็ง แน่นด้วยบทความจากการพิมพ์ครั้งแรก 6 เรื่อง และเพิ่มเติมจากพิมพ์ครั้งใหม่ฉบับปรับปรุงนี้อีก 4 เรื่อง อ่านแล้วมีหลง แต่ไม่มีลืม เตรียมวางแผงไม่นานเกินรอ

ตามรอยอาทิตย์อุทัยโมเดลสร้างชาติž คณะราษฎร

เขียน 6 เดือน เก็บข้อมูล 10 ปี

คือสิ่งที่ ณัฐพล ใจจริง เจ้าของผลงาน ตามรอยอาทิตย์อุทัย : การแสวงหาตัวแบบสร้างชาติ ของกลุ่มผู้นำการเมืองใหม่ ข้าราชการ และปัญญาชนไทย พ.ศ.2475-2484ž บอกกับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เจ้าพ่อ คำนำž เช่นเดียวกับเล่มนี้ที่ได้ กรุณามาโปรยถ้อยคำในตอนต้นของตัวเล่มที่ชี้ชวนให้ทำความเข้าใจบริบทสังคมไทยในห้วงก่อนและหลัง พ.ศ.2475 ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับศักราชนี้

หลังการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรดำเนินนโยบายพัฒนาชาติให้เป็นสมัยใหม่ โดยทิ้งแผน ตะวันตกโมเดลŽ ของรัฐบาลระบอบเก่าไว้เบื้องหลัง และตามรอย ญี่ปุ่นโมเดลŽ มหาอำนาจใหม่ในเอเชีย

การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำใหม่ในเอเชียของญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตื่นเต้นต่อการพัฒนาอันก้าวกระโดดของญี่ปุ่นอย่างมาก ดังเห็นได้จากความสนใจของ ปัญญาชน ข้าราชการ และนักหนังสือพิมพ์มากมายที่ต่างยกให้ญี่ปุ่นเป็นโมเดลในการสร้างชาติ และรัฐบาลคณะราษฎรก็ได้ส่งคนไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก

ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นเวลานั้นก็กำลังมองหาพันธมิตรชาติเอเชีย เพื่อต่อต้านอิทธิพลตะวันตก

เมื่อความต้องการของทั้ง 2 ชาติลงรอยกัน จึงกลายเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่น อันนำไปสู่การสร้างชาติสมัยใหม่ภายใต้รัฐบาลคณะราษฎร

เริ่มต้นเนื้อหา เมื่ออาทิตย์ทอแสง บอกเล่าเรื่องราวของญี่ปุ่นในฐานะศูนย์อำนาจใหม่ของเอเชีย ตามด้วยรายละเอียดในความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นภายหลังการปฏิวัติ 2475 ญี่ปุ่นกับการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยไทย ในช่วงแรกเริ่ม จนถึงการที่คณะราษฎรเยือนญี่ปุ่น ขุนศรีศรากรดูงานกิจการตำรวจญี่ปุ่น หลวงกาจสงครามดูงานการพัฒนาประเทศ รวมถึงด้านการทหาร รวมถึงความมุ่งหวังของคณะราษฎรแห่งสยามที่จะก้าวตามแสงอาทิตย์อุทัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา จากเคนโดถึงโรงเรียนอนุบาล นานาวิทยาการจากญี่ปุ่น ผังเมือง ศุลกากร วิทยุกระจายเสียง และการแพทย์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวของนักศึกษาและปัญญาชนเยือนแดนซากุระ รวมถึง กุหลาบ สายประดิษฐ์ ปัญญาชนคนสำคัญของไทย จนถึงประเด็นสำคัญอย่าง วิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญŽ สู่ สร้างชาติŽ การก่อตัวของนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์และวิทยาการภายในสังคมไทย การสร้างความเป็นสมัยใหม่ทางเศรษฐกิจ การสร้างความเป็นสมัยใหม่ทางสังคมและวัฒนธรรม การขยายอำนาจทางการทหาร ไทยมหาอำนาจž กระทั่งถึงห้วงเวลาแห่งอาทิตย์อัสดง

ลึกซึ้ง เข้มข้น ครบถ้วน สมราคา 1 ทศวรรษแห่งการค้นคว้า

 

เปิดโกดัง‘Book Wonder’-เสวนา‘ปฏิวัติสู่ประชา-ธิปไตย’

27 มิ.ย. – 3 ก.ค. 63

เวลา 10.00 – 19.00 น.

ที่มติชนอคาเดมี ถ.เทศบาลนิมิตใต้ ซ.12 ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

มติชนจัดเทศกาลหนังสือดี ราคาพิเศษ คัดสรรคุณภาพมาให้นักอ่านเลือกช้อปในบรรยากาศที่คุ้นเคย
โดยมี เสวนาไฮไลต์ “ปฏิวัติสู่ประชา-ธิปไตย” เสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 / เวลา : 12.30-15.00 น.
ร้าน Brainwake Cafe มติชน
อคาเดมี

วิทยากร : ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ / รศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ / ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ

ชวนเสวนาโดย : ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

ขอชวนนักอ่านและผู้สนใจร่วมงานเสวนา “เพื่อตั้งคำถาม สืบค้นเรื่องราว พร้อมหาคำตอบว่า
ประชาธิปไตยของไทยถือกำเนิด ก้าวผ่าน ล้มลุกคลุกคลาน จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่แข็งแรงและยั่งยืน

ผ่านการเปิดตัวหนังสือการเมือง 3 เล่มสำคัญ ได้แก่ ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร, ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร, When We Vote: พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน

กิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

30 ที่นั่งที่แรก รับฟรี! คูปองเครื่องดื่ม-ของว่าง ท่านละ 1 ใบ และที่นั่งสุดพิเศษกว่าใครในงานเสวนาครั้งนี้

แจ้งชื่อนามสกุลได้ทาง inbox : m.me/matichonbook

รับชม Live ผ่าน Matichon Book – สำนักพิมพ์มติชน / Matichon Online – มติชนออนไลน์ และ Khaosod – ข่าวสด

 

ดุสิตา รชตวิมาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image