ฟื้นบึงสีไฟ เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำใช้ฤดูแล้ง

ฟื้นบึงสีไฟ เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำใช้ฤดูแล้ง

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุมเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงสีไฟ จ.พิจิตร ซึ่งการฟื้นฟูพัฒนาบึงสีไฟ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในบึงสีไฟ ทั้งนี้ มีการพบนกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 80 ชนิด เป็นนกน้ำกว่า 35 ชนิด นกประจำถิ่นและนกอพยพ ไม่น้อยกว่า 30 ชนิด รวมทั้งพบพันธุ์ปลาอย่างน้อย 33 ชนิด และพันธุ์พืชมากถึง 49 ชนิด ถ้าฟื้นฟูเสร็จ อาจจะมีการดำเนินการพัฒนาบึงสีไฟในระยะต่อไปเพื่อทำให้บึงสีไฟเป็นสถานที่เก็บกักน้ำได้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย ทั้งนี้ บึงสีไฟ เมื่อขุดลอกแล้วเสร็จจะมีความจุประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม.

ภาดล ถาวรกฤชรัตน์

 

Advertisement

“ภาระกิจดังกล่าวนี้ ที่ได้มอบหมายจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยบึงสีไฟ ถือเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ แม่น้ำพิจิตรสายเก่า ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ที่สำคัญก็คือ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ 1 ใน 69 แห่งของประเทศไทย”อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าว

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ขณะที่การฟื้นฟู แม่น้ำพิจิตรสายเก่าŽ แม่น้ำพิจิตร มีความยาวตลอดลำน้ำ ประมาณ 127 กิโลเมตร ปัจจุบันมีวัชพืชขึ้นหนาแน่นตามลำแม่น้ำ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนมา เติมให้แม่น้ำพิจิตร ประชาชนที่อาศัยอยู่ตลอดสองฝั่งลำน้ำ เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร และไม้ผลยืนต้น จึงได้มอบนโยบายแนวทางการแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรสายเก่า ดังนี้ 1.ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ และประตูระบายน้ำ บริเวณช่วงต้นน้ำ กลางน้ำและช่วงปลายน้ำ โดยดำเนินการ 3 จุด คือ ประตูระบายอาคารบังคับน้ำดงเศรษฐี ประตูระบายอาคารบังคับน้ำตำบลวัดขวาง และ ประตูระบายอาคารบังคับน้ำวัดบางคลาน โดยให้แล้วเสร็จทันพร้อมรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ 2.กรมชลประทาน เร่งสำรวจออกแบบลำน้ำแม่น้ำพิจิตรสายเก่าทั้งระบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และ 3.สทนช.บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ ตามการสำรวจออกแบบของกรมชลประทาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image